อู๋ อฺวี่เซียง

(เปลี่ยนทางจาก อู่ อวี่เซียง)

อู๋ อฺวี่เซียง (จีน: 武禹襄; พินอิน: Wǔ Yǔxiāng; ค.ศ. 1812-1880) ชื่อเดิม อู่ เหอชิง (จีน: 武河清; พินอิน: Wǔ Héqīng) เป็นข้าราชการราชวงศ์ชิง และเป็นครูสอนไท่เก๊ก

พื้นเพ

แก้

เป็นชาวตำบลกว๋างฝู่ อำเภอหย่งเหนียน มณฑลเหอเป่ย อู๋ อฺวี่เซียงเกิดในตระกูลบัณฑิต มีพี่ชาย 2 คน คือ อู่ เฉิงชิง (จีน: 武澄清; พินอิน: Wǔ Chéngqīng) กับ อู๋ หยู่ชิง (จีน: 武汝清; พินอิน: Wǔ Rǔqīng) ไปเป็นขุนนาง อู๋ อฺวี่เซียงเป็นบัณฑิต ในเหล่าพี่น้องมีเพียงเขาคนเดียวที่อยู่บ้านเกิด มีอาชีพเป็นครูสอนหนังสือ, วิเคราะห์วิจัยทางมวยไท่เก๊ก อู๋ อฺวี่เซียงกับพี่ชายรวม 3 คน ชอบศึกษาทางด้านศิลปศาสตร์ และวิชาการต่อสู้ตั้งแต่เยาว์วัย มีชาติตระกูลที่มั่งคั่ง มีกิจการห้างขายใบชาอยู่ในเมือง ทั้งถนนด้านทิศตะวันออกและถนนด้านทิศตะวันตก ถนนละ 1 ห้าง ภายหลังได้รวมร้านทั้งสองแห่งเข้ารวมเป็นร้านเดียว โดยร้านทางถนนทิศตะวันตก ได้ปล่อยเช่าให้กับเฉิน เต๋อหู คนของเฉินเจียโกว (หมู่บ้านสกุลเฉิน) ตำบลเวิน มณฑลเหอหนาน เปิดเป็นร้านขายยาชื่อว่า "ไท้เหอถัง"

ประวัติการศึกษามวยไท่เก๊ก

แก้

ใน ช่วงปีรัชกาลเต้ากวงฮ่องเต้ หยาง ลู่ช่าน (จีน: 杨禄禅; พินอิน: Yáng Lùshàn) (ค.ศ. 1799-1872) ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทในหมู่บ้านเดียวกัน ได้กลับมาที่หมู่บ้าน หลังจากที่ได้ร่ำเรียนยุทธจากหมู่บ้านสกุลเฉิน อู๋ อฺวี่เซียงมักจะลองวิชากับหยาง ลู่ช่านเป็นประจำ พบว่ายากที่จะรู้ซึ้งถึงความพิสดารและความลึกซึ้งได้

ในปีที่ 2 ของรัชกาลเสียนเฟิงฮ่องเต้ (ค.ศ. 1852) อู๋ เฉิงชิง (ค.ศ. 1800-1884) ซึ่งเป็นพี่ชายของอู๋ อฺวี่เซียง สอบได้จิ้นซื่อ และได้รับการบรรจุเข้ารับราชการ เป็นนายอำเภอที่อำเภออู่หยาง มณฑลเหอหนาน อู๋ อฺวี่เซียงได้รับคำสั่งจากแม่ ให้ไปเยี่ยมเยียนพี่ชายที่อำเภออู่หยาง มณฑลเหอหนาน ระหว่างทางซึ่งต้องผ่านหมู่บ้านสกุลเฉิน จึงคิดที่จะไปเยี่ยมเฉินฉางซิง (จีน: 陈长兴; พินอิน: Chén zhǎngxìng; ค.ศ. 1771-1853) ซึ่งเป็นอาจารย์ของหยาง ลู่ช่าน เพื่อขอคำชี้แนะ ตอนที่ผ่านหมู่บ้านจ้าวเป่าติ้ง อำเภอเวิน มณฑลเหอหนาน ได้ทราบว่าเฉิน ฉางซิง กำลังป่วยด้วยโรคชรา (ปีนั้นฉางซิงมีอายุได้ 82 ปี และได้ถึงแก่กรรมในปีนั้นเอง) ภายหลังได้รับคำแนะนำจากร้านขายยา "ไท้เหอถัง" ที่หย่งเหนียนว่าที่หมู่บ้านจ้าวเป่าติ้ง มีครูมวยอยู่ท่านหนึ่งคือ เฉิน ชิงผิง (จีน: 陈清平; พินอิน: Chén Qīngpíng) มีวิชาหมัดมวยลึกล้ำ มีฝีมือเป็นเลิศ ยากที่จะหาใครทัดเทียมได้ ดังนั้น ระหว่างทางที่อู๋ อฺวี่เซียงเดินทางไปเยี่ยมอู่ เฉิงชิง ผู้พี่ที่อำเภออู่หยาง ได้วกเข้าหมู่บ้านจ้าวเป่า กราบอาจารย์เพื่อเรียนวิชา หลังจากที่ได้ร่ำเรียนวิชาจากเฉิน ชิงผิง (ค.ศ. 1795-1868) เป็นเวลาเดือนเศษ ได้เรียนรู้หลักเกณฑ์จนครบถ้วน รู้ลึกถึงความพิสดาร

สถาปนามวยไท่เก๊กตระกูลอู๋

แก้

ในสมัยเฉียนหลงฮ่องเต้ อู๋ อฺวี่เซียงยังได้รับ "บันทึกมวยไท่เก๊ก (จีน: 太极拳谱; พินอิน: Tàijí quán pǔ)" ซึ่งแต่งโดยชันโย่วหวังจงเยฺว่ (จีน: 山右王宗岳; พินอิน: Shān yòu wángzōngyuè) จากอู๋ เฉิงชิงผู้พี่ ซึ่งได้บันทึกเล่มนี้จากร้านขายเกลือในอำเภออู่หยางอีกทอดนึง หลังจากกลับถึงกว๋างฝู่แล้ว อู๋ อฺวี่เซียงตั้งอกตั้งใจ วิเคราะห์และฝึกฝนสิ่งที่ได้จากบันทึกเล่มนั้น พินิจพิเคราะห์อย่างละเอียดลออ ร่างกายก็แข็งแกร่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้ประลองฝีมือกับเหล่ายอดฝีมือ และไม่เคยแพ้ใครเลย ซึ่งยืนยันได้ถึงพลังฝีมือของมวยไท่เก๊กที่ได้ฝึกฝน มาสองปีให้หลังฝีมือรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ได้ค้นพบหลักเกณฑ์อย่างมากมาย ซึ่งได้รับจาการฝึกฝนด้วยตนเอง เข้าใจถึงแก่นวิชาในบันทึกมวยไท่เก๊ก และได้หล่อหลอมเอาสิ่งที่เข้าใจอย่างทะลุปรุโปร่งเข้ารวมกับหลักพิชัย สงคราม, แนวทางของเต็มว่างเท็จจริง, อรรถาธิบายเกี่ยวกับเส้นลมปราณภายในร่างกายของวิชาแพทย์, วิชาเต้าอิ่นถู่น่าของวิธีการบำรุงสุขภาพ, การเก็บปล่อยพลังของวิธีการต่อสู้, ความคล่องแคล่วของการยกปล่อย โดยได้ใช้สติปัญญาวิเคราะห์อย่างเต็มความสามารถเป็นเวลาหลายปี ก็สมปรารถนาอันสุดยอด อู๋ อฺวี่เซียงยังได้อาศัยกฎเกณฑ์และหลักเกณฑ์ของวิชามวยบัญญัติมวยขึ้นมาชุด หนึ่ง ซึ่งท่ามวยได้หลอมรวมเอาวิชาต่อสู้กับการบำรุงสุขภาพร่างกายเป็นหนึ่งเดียว อีกทั้งยังได้บัญญัติท่ากระบี่ไท่เก๊กตระกูลอู๋, 13 ดาบไท่เก๊กตระกูลอู๋, 13 ทวนไท่เก๊กตระกูลอู๋, การฝึกโต้ตอบทวน, ทวนเกาะติด ชุดฝึกเหล่านี้ เป็นต้น ทั้งยังนำเอาการผลักมือมาเปลี่ยนแปลงเป็นการก้าวหน้าถอยหลัง 3 ก้าวครึ่งซึ่งเป็นการผลักมือแบบก้าวย่าง

อู๋ อฺวี่เซียงอาศัยความรู้ในหลักวิชามวยที่ละเอียดจนลึกล้ำอย่างยิ่ง รวมทั้งสิ่งที่ค้นพบด้วยตนเองจำนวนไม่น้อย สถาปนามวยไท่เก๊กขึ้นสำนักหนึ่ง คือมวยไท่เก๊กตระกูลอู๋ ที่ยึดถือและปฏิบัติตามหลักวิชาของมวยไท่เก๊กอย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังได้รวบรวมเอาสิ่งที่ได้ปฏิบัติจริงและเข้าใจมาประพันธ์ออกมาเป็น เพลงเคล็ดการเดินพลัง 13 ท่า", "ไขความกระจ่างในการผลักมือ", "อรรถาธิบายมวยไท่เก๊ก", "อรรถาธิบายวิพากษ์มวยไท่เก๊ก", "วิพากษ์ 13 ท่าโดยย่อ", "เคล็ดลับ 4 คำ", "แปดหลักร่างกายที่สำคัญ", "สิ่งสำคัญในการผลักมือ" เป็นต้น ซึ่งเป็นวิพากษ์มวยอันเลื่องชื่อ กลายเป็นระบบการศึกษา การวิพากษ์หลักเกณฑ์ของมวยไท่เก๊กที่สมบูรณ์ขึ้นมาชุดหนึ่ง บทประพันธ์เหล่านี้ เป็นผลงานซึ่งได้อุทิศเพื่อการพัฒนาทฤษฎีของมวยไท่เก๊ก ซึ่งจวบปัจจุบันกาล ก็ยังไม่มีผู้ใดสามารถเปรียบเทียบได้

กู้ หลิวซิน (จีน: 顾留馨; พินอิน: Gùliúxīn) นักวิทยายุทธ์ที่มีชื่อเสียง กล่าวถึงบทประพันธ์ของตระกูลอู๋ว่า "ข้อความสั้นกะทัดรัดไม่มีข้อความไร้สาระแม้แต่น้อย"

อู๋ อฺวี่เซียงรับศิษย์น้อยมาก รับหลานซึ่งเป็นลูกของน้องสาวคือ หลี่ อวี้อวี๋ (จีน: 李亦畲; พินอิน: Liyìyú) เพียงคนเดียวเท่านั้น

ดูเพิ่ม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้