อีเมลดา มาร์กอส
อีเมลดา โรมวลเดซ มาร์กอส (Imelda Romualdez Marcos; [4] ชื่อเมื่อเกิด อีเมลดา ตรินิแดด โรมวลเดซ; Imelda Trinidad Romualdez; เกิด 2 กรกฎาคม 1929) เป็นนักการเมืองและอาชญากรชาวฟิลิปปินส์ อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของประเทศฟิลิปปินส์เป็นเวลา 21 ปี[5] ซึ่งเธอและสามี มีทรัพย์สินที่กอบโกยมาเป็นของตนอย่างผิดกฎหมายมากกว่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐ[6][7][8][9][10]
อีเมลดา มาร์กอส | |
---|---|
เมื่อปี 2008 | |
สมาชิก สภาผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์ จาก Ilocos Norte เขต 2 | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน 2010 – 30 มิถุนายน 2019 | |
ก่อนหน้า | บองบอง มาร์กอส |
ถัดไป | Angelo M. Barba |
สมาชิก สภาผู้เทนราษฎรฟิลิปปินส์ จาก Leyte เขต 1 | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มิถุนายน 1995 – 30 มิถุนายน 1998 | |
ก่อนหน้า | Cirilo Roy Montejo |
ถัดไป | Alfred Romuáldez |
สมาชิกรัฐสภา ภูมิภาค 4 (เมโทรมะนิลา) | |
ดำรงตำแหน่ง 12 มิถุนายน 1978 – 5 มิถุนายน 1984 | |
ประธานาธิบดี | เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส |
ก่อนหน้า | ประเดิมตำแหน่ง ในฐานะสมาชิกของ National Assembly: Leon G. Guinto, Alfonso E. Mendoza |
ถัดไป | เปลี่ยนเป็น Mambabatas Pambansa ประจำ Manila: Eva Estrada-Kalaw, Carlos Fernando, Mel Lopez, Gonzalo Puyat II, and Arturo Tolentino |
ผู้ว่าการมะนิลาส่วนนคร 1st | |
ดำรงตำแหน่ง 27 กุมภาพันธ์ 1975 – 25 กุมภาพันธ์ 1986 | |
ประธานาธิบดี | เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส |
ก่อนหน้า | ประเดิมตำแหน่ง |
ถัดไป | โจอี ลีนา |
สตรีหมายเลขหนึ่งของฟิลิปปินส์ ลำดับที่ 10 | |
ในตำแหน่ง 30 ธันวาคม 1965 – 25 กุมภาพันธ์ 1986 | |
ประธานาธิบดี | เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส |
ก่อนหน้า | อีวา มาคาปากัล |
ถัดไป | Ballsy Aquino-Cruz |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | Imelda Remedios Romuáldez-López y Trinidad 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1929 มะนิลา, หมู่เกาะฟิลิปปินส์ |
เชื้อชาติ | ฟิลิปิโน |
พรรคการเมือง | Nacionalista (1965–1978; 2009–ปัจจุบัน) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น | Kilusang Bagong Lipunan (1978–2013) |
คู่สมรส | เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส (สมรส 1954; 1989) |
บุตร | อิมี มาร์กอส บองบอง มาร์กอส ไอรีน มาร์กอส ไอมี มาร์กอส |
ที่อยู่อาศัย | มากาตี |
ทรัพย์สินสุทธิ | 923.8 ล้าน₱ ข้อมูลประกาศทางการเมื่อ (ธันวาคม 2018)[1] |
สถานะทางคดี | ถูกปล่อยตัวด้วยการประกันตัว[2] |
พิพากษาลงโทษฐาน | รับสินบน[3] |
เธอสมรสกับเฟอร์ดินานด์ มาร์กอสในปี 1954 และขึ้นมาเป็นสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งในปี 1965 เมื่อเขาขึ้นเป็นประธานาธิบดีฟิลิปปินส์[11] ระหว่างเธออยู่ในตำแหน่ง เธอได้ริเริ่มโครงการสถาปัตยกรรมอันยิ่งใหญ่อลังการมากมายโดยใช้ทุนรัฐบาลที่ซึ่งปัจจุบันเรียกกันว่าเป็น หมู่อาคารคฤหาสน์ (edifice complex)[12][13]
ในเดือนกุมภาพันธ์ 1986 การปฏิวัติพลังปวงประชาได้ทำให้ตระกูลมาร์กอสพ้นจากตำแหน่ง และครอบครัวทั้งครอบครัวต้องหลบหนีออกนอกประเทศ[14] ในปี 1991 ประธานาธิบดีโคราซอน อากีโน ได้ยินยอมให้ตระกูลมาร์กอสสามารถเดินทางกลับมายังฟิลิปปินส์ได้ภายหลังการเสียชีวิตของเฟอร์ดินานด์ในปี 1989[15][16] หลังจากที่เธอกลับมาอยู่ฟิลิปปินส์ได้ไม่นาน อีเมลดาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งและได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฟิลิปปินส์ถึงสี่วาระ[17] เธอเคยลงสมัครประธานาธิบดีอยู่สองครั้งแต่ไม่ประสบความสำเร็จ
เธอและตระกูลมาร์กอสเป็นที่รู้จักในวงกว้างสำหรับไลฟ์สไตล์ที่ฟุ่มเฟือยเกินขอบเขตในระหว่างวิกฤตเศรษฐกิจและความไม่สงบในประเทศ[18] อีเมลดาให้เวลาส่วนใหญ่ในต่างประเทศไปกับการเดินทางเยี่ยมเยียนรัฐต่าง ๆ งานปาร์ตีที่ยิ่งใหญ่อลังการ และจับจ่ายซื้อของอย่างสนุกสนาน รวมถึงใช้จ่ายเงินจำนวนมากซึ่งเป็นเงินของรัฐไปกับเครื่องเพชรและรองเท้าของตนเอง[19][20] เธอและเฟอร์ดินานด์ สามีของเธอ ได้รับตำแหน่งบนกินเนสส์ เวิลด์ เรเคิดส์ว่าเป็น รัฐบาลชุดที่ปล้นมากที่สุด (Greatest Robbery of a Government)[21][22][23]
ในปี 2019 เธอปรากฏตัวเป็นผู้เล่าเรื่องและดำเนินเรื่องในภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับชีวิตของเธอ เรื่อง The Kingmaker ซึ่งเล่าเกี่ยวกับเรื่องราวของสภาวะประเทศฟิลิปปินส์ภายใต้การปกครองของมาร์กอสผ่านมุมมองของเธอ
อ้างอิง
แก้- ↑ Cabico, Gaea Katreena (June 14, 2019). "Who's who: Richest, poorest House lawmakers in 2018". The Philippine Star. Manila. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 19, 2019. สืบค้นเมื่อ October 21, 2019.
- ↑ "Imelda Marcos posts bail for graft conviction in Philippines". NBC News (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-17. สืบค้นเมื่อ 2020-08-13.
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อCNN20181110
- ↑ Lalu, John Gabriel (November 9, 2018). "FULL TEXT: Sandigan ruling on 10 graft cases vs Imelda Marcos". Philippine Daily Inquirer. สืบค้นเมื่อ March 12, 2019.
- ↑ Macaraig, Mynardo. "5 questions on the dictator Ferdinand Marcos". ABS-CBN News. Agence France-Presse.
- ↑ Tiongson-Mayrina, Karen (September 21, 2017). "The Supreme Court's rulings on the Marcoses' ill-gotten wealth". GMA News Online.
- ↑ "FALSE: Wealth of Marcos family from 'hard work,' and 'not from public funds'". Rappler. September 30, 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-11. สืบค้นเมื่อ 2020-08-30.
- ↑ Manapat, Ricardo (1991) Some Are Smarter Than Others. Aletheia Press.
- ↑ Through the Years, PCGG at 30: Recovering Integrity –A Milestone Report. Manila: Republic of the Philippines Presidential Commission on Good Government. 2016.
- ↑ Warf, Barney (2018). Handbook on the Geographies of Corruption. Cheltenham, UK: Edward Elgar Publishing. p. 335. ISBN 9781786434746.
- ↑ "The Woman Behind the Man". Martial Law Chronicles Project (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). April 25, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-01. สืบค้นเมื่อ November 14, 2018.
- ↑ de Villa, Kathleen (September 16, 2017). "Imelda Marcos and her 'edifice complex'". Philippine Daily Inquirer.
- ↑ "The Powerful Imelda Marcos". The Washington Post. January 18, 1981.
- ↑ Duet for EDSA: Chronology of a Revolution. Manila, Philippines: Foundation for Worldwide People Power. 1995. ISBN 978-9719167006. OCLC 45376088.
- ↑ Dent, Sydney (November 23, 2012). "A dynasty on steroids". Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ September 1, 2018.
- ↑ Mydans, Seth (November 4, 1991). "Imelda Marcos Returns to Philippines". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 12, 2009. สืบค้นเมื่อ August 16, 2018.
- ↑ Casauay, Angela (May 23, 2013). "Pacquiao, Imelda Marcos wealthiest House members". Rappler.
- ↑ Tully, Shawn (January 9, 2014). "My afternoon with Imelda Marcos". Fortune.
- ↑ Ellison 1988, p. 1–10.
- ↑ Tantuco, Vernise L (September 21, 2018). "3,000 pairs: The mixed legacy of Imelda Marcos' shoes". Rappler.
- ↑ "Greatest robbery of a Government". Guinness World Records. สืบค้นเมื่อ August 20, 2020.
- ↑ Drogin, Bob (November 4, 1991). "Imelda Marcos Weeps on Return to Philippines". Los Angeles Times.
- ↑ The Guinness Book of World Records 1989. Bantam. p. 400. ISBN 978-0-553-27926-9.