บริษัท อิโยเต็ตสึ จำกัด (ญี่ปุ่น: 伊予鉄株式会社โรมาจิIyotetsu kabushiki gaisha) เป็นบริษัทให้บริการขนส่งหลักในเมืองมัตสึยามะ จังหวัดเอฮิเมะ ประเทศญี่ปุ่น ดำเนินธุรกิจขนส่งทางรางทั้งรถไฟรางหนัก รถราง และรถประจำทาง ทั้งยังมีบริษัทในเครืออีกหลายแห่ง เช่น ธนาคาร ห้างสรรพสินค้า บริษัทตัวแทนท่องเที่ยว และธุรกิจอื่น ๆ

บริษัท อิโยเต็ตสึ จำกัด
ชื่อทางการค้า
อิโยเต็ตสึ (ญี่ปุ่น: 伊予鉄โรมาจิIyotetsu)
ชื่อท้องถิ่น
伊予鉄道株式会社
อุตสาหกรรมการขนส่ง
ก่อตั้ง14 กันยายน ค.ศ. 1887 (1887-09-14)
ทากาฮามะ ชิโกกุ ประเทศญี่ปุ่น
ผู้ก่อตั้งKobayashi Nobuchika Edit this on Wikidata
สำนักงานใหญ่4-4-1 มินาโตมาจิ, ,
ญี่ปุ่น
เว็บไซต์www.iyotetsu.co.jp

ประวัติ

แก้

บริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1887 เริ่มเปิดเดินรถไฟสายทากาฮามะเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1888 นับเป็นรถไฟสายแรกบนเกาะชิโกกุ และเป็นบริษัทรถไฟเอกชนแห่งที่สามของประเทศญี่ปุ่น[1] ชื่อบริษัทตั้งตามชื่ออดีตจังหวัดอิโยะ ซึ่งเป็นอดีตหน่วยการปกครองในภูมิภาคดังกล่าว มีการเปิดเดินรถรางไฟฟ้าครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1911 เดิมรางมีขนาด 1,435 มิลลิเมตร และถูกเปลี่ยนเป็นรางขนาด 1,067 มิลลิเมตรทั้งหมดใน ค.ศ. 1923 เป็นต้นมา[2]

การบริการ

แก้

รถไฟ

แก้
 
แผนที่เส้นทางรถไฟทั้งสามสาย

บริษัทอิโยเต็ตสึมีเส้นทางรถไฟเปิดให้บริการทั้งหมด 3 สาย ได้แก่

นอกจากนี้ยังมีทางรถไฟสายอิโยะทาจิบานะ (ทางแยกของสายทากาฮามะ) — โมริมัตสึ ความยาว 4.4 กิโลเมตร เดินรถครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1896 แต่ยกเลิกการให้บริการใน ค.ศ. 1965[3]

รถราง

แก้
 
แผนที่เส้นทางรถรางทั้งห้าเส้นทาง

บริษัทอิโยเต็ตสึมีเส้นทางรถรางเปิดให้บริการทั้งหมด 5 สาย ได้แก่

มีรถรางให้บริการอยู่ 5 เส้นทาง ได้แก่

  • เส้นทาง 1 - วนตามเข็มนาฬิกา: สถานีเมืองมัตสึยามะ → สถานีเจอาร์มัตสึยามะ → คิยาโจ → เท็ปโปโจ → โอไกโด → สถานีเมืองมัตสึยามะ
  • เส้นทาง 2 - วนทวนเข็มนาฬิกา: สถานีเมืองมัตสึยามะ → โอไกโด → เท็ปโปโจ → คิยาโจ → สถานีเจอาร์มัตสึยามะ → สถานีเมืองมัตสึยามะ
  • เส้นทาง 3: บ่อน้ำพุร้อนโดโงะ — โอไกโด — สถานีเมืองมัตสึยามะ
  • เส้นทาง 5: บ่อน้ำพุร้อนโดโงะ — โอไกโด — สถานีเจอาร์มัตสึยามะ
  • เส้นทาง 6: บ่อน้ำพุร้อนโดโงะ — โอไกโด — ฮมมาจิ 6

รถประจำทาง

แก้

บริษัทอิโยเต็ตสึให้บริการรถประจำทาง เชื่อมการเดินทางระหว่างเมืองมัตสึยามะกับหัวเมืองต่าง ๆ ได้แก่ โตเกียว โอซากะ ฟูกูยามะ ทากามัตสึ โทกูชิมะ และโคจิ นอกจากนี้ยังมีการให้บริการรถประจำทางทั้งในเขตเมืองและรอบเมืองมัตสึยามะ

ขบวนรถ

แก้

รถไฟรางหนัก

แก้
ลำดับ รูป รุ่น ปี ชุด หมายเหตุ
1.
 
อิโยเต็ตสึ 700 ซีรีส์ ค.ศ. 1987 2–3 คัน เดิมคือเคโอ 5000 ซีรีส์
2.
 
อิโยเต็ตสึ 610 ซีรีส์ ค.ศ. 1995 2 คัน
3.
 
อิโยเต็ตสึ 3000 ซีรีส์ ค.ศ. 2009 3 คัน เดิมคือเคโอ 3000 ซีรีส์

รถราง

แก้
ลำดับ รูป รุ่น ปี หมายเหตุ
1.
 
โมฮะ 50 ค.ศ. 1951
2.
 
โมฮะ 2000 ค.ศ. 1964
3.
 
บตจังเรชชะ ค.ศ. 2001
4.
 
โมฮะ 2100 ค.ศ. 2002
5.
 
โมฮะ 5000 ค.ศ. 2017 เดินรถเมื่อวันที่ 21 กันยายน ค.ศ. 2017[4]

อ้างอิง

แก้
  1. "Yuichiro Kishi, "Railway Operators in Japan 13: Shikoku Region", Japan Railway & Transport Review 39 (2004): 44". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-22. สืบค้นเมื่อ 2011-05-19.
  2. Brown, Colin (2007). "Tramway Opening and Closure Dates". Bullet-In Issue 61, p.25
  3. Imao, Keisuke (2009). 日本鉄道旅行地図帳 11号 中国四国―全線・全駅・全廃線 (11) [Japan Rail Travel Atlas No. 11 Chugoku Shikoku - all lines, all stations and disused lines] (ภาษาญี่ปุ่น). Mook. p. 55. ISBN 9784107900296.
  4. 伊予鉄道5000形が古町車両工場に搬入される [Iyo Railway 5000 series delivered to Komachi Depot]. Japan Railfan Magazine Online (ภาษาญี่ปุ่น). Japan: Koyusha Co., Ltd. 1 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2017. สืบค้นเมื่อ 4 September 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้