อิมกังจัวยี่
อิมกังจัวยี่ หรือที่คนไทยเรียกว่า ธนบัตรกงเต็ก เป็นกระดาษเงินกระดาษทองรูปแบบหนึ่ง ที่ถูกพิมพ์รูปและทำให้มีลักษณะคล้ายธนบัตร หรือสกุลเงินที่มีอยู่จริง อิมกังจัวยี่ถูกนำมาใช้ในการเผากระดาษให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับตามความเชื่อของชาวจีนว่าเป็นสกุลเงินที่สามารถนำไปใช้จ่ายได้ในอีกภพภูมิหนึ่ง
สันนิษฐานว่าอิมกังจัวยี่ถูกคิดค้นโดยชาวจีนสมัยใหม่ในราวคริสตศตวรรศที่ 19 - 20 รูปแบบของลายบนธนบัตรนั้นมีหลากหลาย ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นหรือประเทศที่ผู้ผลิตอยู่ เช่น ในประเทศจีนมักพบธนบัตรอิมกังจัวยี่ที่ทำเลียนแบบธนบัตรหยวน แต่ที่พบทั่วไปคือรูปแบบที่ทำเลียนแบบธนบัตรดอลล่าร์สหรัฐ[1] โดยทั่วไปมักแทนที่หน้าบุคคลบนธนบัตร เช่น ท่านประธานเหมาบนธนบัตรหยวน หรือ เบนจามิน แฟรงคลิน บนธนบัตรดอลล่าร์สหรัฐ ด้วยพระรูปของพระยม เทพแห่งยมบาล ตามความเชื่อของพุทธมหายาน, ขงจื้อ หรือ เง็กเซียนฮ่องเต้ ค่าเงินของธนบัตรมีตั้งแต่รูปแบบที่ใกล้เคัยงชีวิตจริง เช่น 5 หยวน ไปจนถึง 100,000,000 ดอลล่าร์สหรัฐ[2] ในปัจจุบัน นอกจากการพิมพ์ภาพเทพเจ้าบนธนบัตรแล้ว ยังมีการนำภาพทิวทัศน์ วัด หรือศาลเจ้าต่าง ๆ มาประดับเพื่อความสวยงามตามความเหมาะสม
อ้างอิง
แก้- ↑ Yogerst, Joseph R. (2005). Singapore: State of the Art. R Ian Lioyd Productions Ltd. p. 38. ISBN 978-9810465896.
- ↑ Smith, Ward & Matravers, Brian (1970). Chinese Banknotes, p.144-145. Shirjieh Publishers, Menlo Park, California