อินเตฟอิเกอร์ (ỉnỉ-ỉt.f ỉqr) เป็นขุนนางแห่งอียิปต์โบราณและยังเป็นผู้ดูแลนคร (overseer of the city) และราชมนตรีภายใต้รัชสมัยของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 และฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 ในช่วงต้นของราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์ (ระหว่าง 1991–1802 ปีก่อนคริสตกาล) เขาเป็นที่ทราบจากจารึกหินหลายชิ้นในบริเวณนิวเบียล่าง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า เขาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินการทางทหารในภูมิภาคนี้ เขาปรากฏในบันทึกที่มีว่าปาปิรุสไรส์เนอร์ที่พบที่ชายฝั่งทะเลแดง และจารึกหินสองชิ้นในนิวเบียล่างได้กล่าวถึงเขา ซึ่งดูเหมือนว่าจะชี้ให้เห็นว่า เขามีส่วนร่วมในการดำเนินการทางทหารในภูมิภาคนี้[2] แต่จารึกทั้งสองไม่ลงช่วงเวลาไว้ ส่วนจารึกอื่น ๆ ในบริเวณแถบดังกล่าวดูเหมือนจะบันทึกถึงการดำเนินการทางทหารในปีที่ 29 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเมนเอมฮัตที่ 1 ซึ่งสอดคล้องกับปีที่ 9 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์เซนุสเรตที่ 1 และอินเตฟอิเกอร์ ยังเป็นที่ทราบจากภาพสลักที่พบในวาดิ เอล-ฮูดิ โดยลงช่วงเวลาปีที่ 20 ซึ่งรายงานเกี่ยวกับการนำมาซึ่งแร่อเมทิสต์[3]

รูปสลักหินส่วนล่างของราชมนตรี ซึ่งน่าจะเป็นอินเตฟอิเกอร์ ในพิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน ณ มหานครนิวยอร์ก (09.180.12)
ini&n t
f
iq
r
Y1V
อินเตฟอิเกอร์[1]
ในไฮเออโรกลีฟอียิปต์
สมัย: ราชอาณาจักรกลาง
(2055–1650 BC)

หลุมฝังศพของนางเซเนต ซึ่งเป็นมารดาของเขาในเมืองธีบส์ อยู่ในซิค อับด์ เอล-กุรนา ในหมู่สุสานแห่งธีบส์ ที่ตั้งอยู่ตรงข้ามกับเมืองลักซอร์[4] และอินเตฟอิเกอร์ถูกฝังอยู่ในสุสานมาสตาบาที่ลิษต์ โดยสุสานของเขาอยู่ถัดจากพีระมิดแห่งอเมนเอมฮัตที่ 1[5]

อ้างอิง

แก้
  1. Hermann Ranke: Die ägyptische Persönennamen. Verlag von J. J. Augustin in Glückstadt, 1935. p.34
  2. Z.Zaba: The Rock Inscriptions of Lower Nubia, Prague 1974, p. 39 (no. 10), 99, (no. 73)
  3. Ashraf I. Sadek: The Amethyst Mining Inscriptions I, Text, Warminster 1980, p. 22-24 (no. 8)
  4. Baikie, James (1932). Egyptian Antiquities in the Nile Valley. Methuen. pp. 575.
  5. D. Arnold: Middle Kingdom Tomb Architecture at Lisht, New York 2008, S. 69-71, pls. 62-92, pl. 129-133 ISBN 978-1-58839-194-0