อาทิตย์ทมิฬ (ค.ศ. 1939)

อาทิตย์ทมิฬ (เยอรมัน: Bromberger Blutsonntag; โปแลนด์: Krwawa niedziela) เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในบึดก็อชตช์ (เยอรมัน: Bromberg) เมืองของประเทศโปแลนด์ที่มีชนกลุ่มน้อยชาวเยอรมัน ระหว่างวันที่ 3 และ 4 กันยายน ค.ศ. 1939 ภายหลังจากเยอรมันบุกยึดครองโปแลนด์ได้ไม่นาน

ทหารเยอรมันแห่งกองทัพเวรมัคท์และผู้สื่อข่าวกับศพชาวเยอรมันในเหตุการณ์อาทิตย์ทมิฬ.[1] ภาพดังกล่าวได้ถูกนำไปใช้โดยสื่อของนาซีและมีเครื่องหมายครอบตัดของบรรณาธิการ,แสดงส่วนของภาพที่ตั้งใจในการใช้ในการแถลงข่าว[2]

ลำดับเหตุการณ์เริ่มต้นด้วยการโจมตีของเยอรมันโดยพลซุ่มยิงของหน่วย Selbstschutz ในการล่าถอยของกองกำลังทหารโปแลนด์และดำเนินปฏิบัติการตอบโต้ขั้นสุดท้ายในการสังหารเชลยชาวโปลแลนด์โดยกองทัพเวรมัคท์และหน่วย Selbstschutz หลังจากเมืองถูกยึดครอง.ในเหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลทำให้พลเมืองทั้งชาวเยอรมันและชาวโปแลนด์เสียชีวิต สถาบันแห่งชาติรำลึกของโปลแลนด์ได้ค้นพบและยืนยันว่า มีเหยื่อเป็นชาวคริสเตียนนิกายลูเทอแรนจำนวน 254 คน มีข้อสันนิษฐานว่า มีเหยื่อเป็นชาวเยอรมัน และชาวคริสต์นับถือคาทอลิกจำนวน 86 คน มีข้อสันนิษฐานว่า มีพลเรือนชาวโปลแลนด์และทหารชาวชาวโปลแลนด์จำนวน 20 คน เชลยชาวโปลแลนด์จำนวนประมาณ 600-800 คนถูกสังหารหมู่ด้วยการยิงทิ้งในภายหลังจากเมืองถูกยึดครอง

หลังจากที่เยอรมันได้เข้าสู่เมือง,พวกเขาได้สังหารพลเรือนชาวโปลแลนด์จำนวน 1,200-3,000 คน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการทันเนนแบร์ก,เหตุการณ์และสถานที่ของปฏิบัติการได้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ หุบเขาแห่งความตาย (Valley of Death) ผู้ที่ถูกสังหารได้รวมถึงนายกเทศมนตรีของเมืองบึดก็อชตช์ นายเลออน บาร์ชีแชฟสกี เชลยศึกชาวโปแลนด์ 50 คนจาก บึดก็อชตช์ ซึ่งต่อมาได้ถูกกล่าวหาโดยศาลสรุป Sondergericht Bromberg ของนาซีสำหรับมีส่วนร่วมในอาทิตย์ทมิฬและถูกยิงเป้าทิ้ง.

คำว่า "อาทิตย์ทมิฬ" ถูกสร้างขึ้นและได้รับการสนับสนุนโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายโฆษณาชวนเชื่อของนาซี คำแนะนำที่จะออกสื่อมวลชนให้กล่าวว่า "...ต้องแสดงข่าวต่อความป่าเถื่อนของชาวโปแลนด์ในเมือง Bromberg การแสดงออกของ "อาทิตย์ทมิฬ" ต้องกลายเป็นคำศัพท์แบบถาวรในพจนานุกรมและรอบๆของลูกโลก ด้วยเหตุนี้ คำศัพท์นี้ต้องเน้นย้ำอย่างต่อเนื่อง"

อ้างอิง แก้

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ internationale
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ propagandistic