อัคซีโยน เท4

(เปลี่ยนทางจาก อาทตัน เท4)

อัคซีโยน เท4 (เยอรมัน: Aktion T4) เป็นชื่อในช่วงหลังสงครามที่ตั้งให้แก่การสังหารหมู่ผ่านการการุณยฆาตโดยบังคับของนาซีเยอรมนี[2][a] ชื่อ เทเฟียร์ (T4) เป็นตัวย่อของ Tiergartenstraße 4 อันเป็นชื่อถนนที่ตั้งของหน่วยงานสังกัดทำเนียบนายกรัฐมนตรีไรช์ หน่วยงานนี้จัดตั้งขึ้นในฤดูใบไม้ผลิปี ค.ศ. 1940 ในเขตเทียร์กาเทินของกรุงเบอร์ลิน เป็นหน่วยงานที่สรรหาและจ่ายค่าจ้างแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับ เท4[3][4][5][b] แพทย์เยอรมันบางส่วนที่ได้รับอำนาจในการวินิจฉัยผู้ป่วยว่าพวกเขา "ป่วยเรื้อรังหมดทางรักษา หลังได้รับการตรวจที่จำเป็นอย่างถึงที่สุดแล้ว" และได้รับอำนาจให้จัดการกับพวกเขาด้วย "ความตายอันการุณ" (Gnadentod)[6] โครงการนี้มุ่งเป้าไปที่เด็กและผู้ใหญ่ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและทางจิตเรื้อรัง

อัคซีโยน เท4
คำสั่งของฮิตเลอร์เกี่ยวกับ อัคซีโยน เท4
หรือเป็นที่รู้จักมาตรการ T4
สถานที่ยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครอง
วันที่กันยายน ค.ศ. 1939 – สิงหาคม ค.ศ. 1941
รูปแบบการบังคับการุณยฆาต
ผู้ทำชุทซ์ชทัฟเฟิล-เอสเอส
ผู้ร่วมโรงพยาบาลจิตเวช
เหยือ70,273[1]

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1939 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ลงนามในกฤษฎีการุณยฆาต ย้อนหลังให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ซึ่งอนุญาตให้ไรชส์ไลเทอร์ ฟิลิป บูเลอร์ ผู้นำไรช์ฝ่ายพรรคนาซี กับ ดร.คาร์ล บรันท์ (Karl Brandt) แพทย์ส่วนตัวของฮิตเลอร์ในการดำเนินโครงการการุณยฆาตโดยบังคับ

กรุงเบอร์ลิน, 1 กันยายน 1939[7][8]
ไรชส์ไลเทอร์ บูเลอร์ และ ดร.นพ.บรันท์
ขอมอบหมายให้รับผิดชอบแผนขยายขอบเขตอำนาจของแพทย์ที่จะได้เข้าระเบียนชื่อไว้ ในกรณีว่าคนป่วยใด ๆ ก็ตาม หลังเข้ารับการวินิจฉัยที่จำเป็นอย่างถึงที่สุดแล้ว หลักปุถุชนเห็นว่าเป็นคนที่หมดทางรักษา สามารถรับการการุณยฆาตได้
(ลงชื่อ) อดอล์ฟ ฮิตเลอร์

ระหว่างกันยายน ค.ศ. 1939 จนถึงสิงหาคม ค.ศ. 1941 มีผู้คนกว่า 70,273 ชีวิตถูกฆ่าจากกฎหมายฉบับนี้ การสังหารเกิดขึ้นที่ศูนย์การสังหารหมู่ต่าง ๆ ในโรงพยาบาลจิตเวชในเยอรมนีและออสเตรีย ตลอดจนในเขตยึดครองโปแลนด์ ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ที่ตกเป็นเหยื่อเป็นผู้ที่อยู่ในสถานบำบัดทางจิตเวช

มีการอ้างเหตุผลมากมายมาสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ ทั้งเหตุผลด้านสุพันธุศาสตร์ เพื่อลดความทรมานจากโรคภัย เพื่อสุขอนามัยของสังคม เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการของประเทศ

หมายเหตุ แก้

  1. แซนด์เนอร์ระบุว่าคำว่า Aktion T4 ถูกใช้ครั้งแรกหลังสงครามในการพิจารณาคดีกับแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการสังหาร และต่อมารวมอยู่ในงานประวัติศาสตร์นิพนธ์[2]
  2. Tiergartenstraße 4 เป็นที่ตั้งของสำนักงานกลางและสำนักงานใหญ่ฝ่ายบริหารของ Gemeinnützige Stiftung für Heil- und Anstalts- pflege (มูลนิธิการกุศลเพื่อการรักษาและการสงเคราะห์)[5]

อ้างอิง แก้

  1. Proctor 1988, p. 191.
  2. 2.0 2.1 Sandner 1999, p. 385.
  3. Hojan & Munro 2015, presentation.
  4. Bialas & Fritze 2014, pp. 263, 281.
  5. 5.0 5.1 Sereny 1983, p. 48.
  6. Proctor 1988, p. 177.
  7. Miller 2006, p. 160.
  8. Lifton 1986, pp. 63–64. The "euthanasia decree" in translation.

บรรณานุกรม แก้

  • Proctor, Robert N. (1988). Racial Hygiene: Medicine under the Nazis. Cambridge, MA: Harvard College. ISBN 978-0-674-74578-0.
  • Sandner, Peter (กรกฎาคม 1999). "Die "Euthanasie"-Akten im Bundesarchiv. Zur Geschichte eines lange verschollenen Bestandes" [The 'Euthanasia' Files in the Federal Archives. On the History of a Long Lost Existence] (PDF). Vierteljahrschefte für Zeitgeschichte – Institut für Zeitgeschichte. 47 (3): 385–400. ISSN 0042-5702.
  • Hojan, Artur; Munro, Cameron (2015). Overview of Nazi 'Euthanasia' Programme. The Central Office at Tiergartenstraße 4 in Berlin. The Tiergartenstraße 4 Association. ISBN 978-1-4438-5422-1. OCLC 875635606. Further information: Kaminsky, Uwe (2014), "Mercy Killing and Economism" [in:] Bialas, Wolfgang; Fritze, Lothar (ed.), Nazi Ideology and Ethics. pp. 263–265. Cambridge Scholars Publishing "Once emptied, the Polish institutions were almost exclusively turned over to the SS"[p. 265]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2017.
  • Bialas, Wolfgang; Fritze, Lothar (2015). Nazi Ideology and Ethics. Newcastle: Cambridge Scholars. ISBN 978-1-4438-5881-6.
  • Sereny, Gitta (1983). Into that Darkness: An Examination of Conscience. New York, NY: Vintage Books. ISBN 978-0-394-71035-8.
  • Miller, Michael (2006). Leaders of the SS and German Police. Vol. I. San Jose, CA: R. James Bender. ISBN 978-93-297-0037-2.
  • Lifton, R. J. (1986). The Nazi Doctors: Medical Killing and the Psychology of Genocide. New York: Basic Books. ISBN 978-0-465-04904-2.