อากาศยานไร้คนขับในกองทัพสหรัฐ

เมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2014 กองทัพสหรัฐได้ดำเนินการอากาศยานไร้คนขับ (UAV) เป็นจำนวนมาก ได้แก่: อาร์คิว-11 เรฟเวน 7,362 ลำ; แอโรไวรอนเมนต์ วอสพ์ III 990 ลำ; แอโรไวรอนเมนต์ อาร์คิว-20 พูมา 1,137 ลำ และอาร์คิว-16 ที-ฮอว์กระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก 306 ลำ รวมถึงพรีเดเตอร์ และเอ็มคิว-1ซี เกรย์อีเกิล 246 ลำ; เอ็มคิว-9 รีปเปอร์ 126 ลำ; อาร์คิว-7 ชาโดว์ 491 ลำ และอาร์คิว-4 โกลบอลฮอว์ก ระบบขนาดใหญ่ 33 ลำ[1]

บทบาททางทหารของระบบอากาศยานไร้คนขับกำลังเติบโตในอัตราที่ไม่เคยมีมาก่อน ในปี ค.ศ. 2005 เครื่องบินไร้คนขับแบบใช้ยุทธวิธีได้บินมากกว่า 100,000 ชั่วโมงบินเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืนและปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก ที่พวกเขาจัดตั้งภายใต้กองกำลังเฉพาะกิจเสรีภาพในอัฟกานิสถาน และกองกำลังเฉพาะกิจโอดินในอิรัก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วทำให้เพิ่มความสามารถที่จะบรรจุให้กับตัวเครื่องบินขนาดเล็กได้มากขึ้น ส่งผลให้จำนวนอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก (SUAS) เพิ่มขึ้นอย่างมากในสนามรบ การใช้อากาศยานไร้คนขับขนาดเล็กในการต่อสู้จึงเป็นเรื่องใหม่ที่ไม่มีขั้นตอนการรายงานอย่างเป็นทางการของกระทรวงกลาโหมสหรัฐถึงกระบวนการจัดตั้งเพื่อติดตามชั่วโมงการบิน ในฐานะที่ความสามารถของระบบอากาศยานไร้คนขับทุกประเภทเติบโตขึ้น ประเทศต่าง ๆ ยังคงให้การช่วยเหลือการวิจัยและพัฒนาของพวกเขาต่อไป ซึ่งนำไปสู่ความก้าวหน้าเพิ่มเติมและทำให้พวกเขาสามารถปฏิบัติภารกิจได้มากขึ้น ระบบอากาศยานไร้คนขับไม่เพียงแต่สืบราชการลับ, ตรวจตรา และลาดตระเวนเท่านั้น อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นลักษณะที่โดดเด่น บทบาทของระบบอากาศยานไร้คนขับได้ขยายไปยังขอบเขตต่าง ๆ รวมถึงอิเล็กทรอนิกส์โจมตี, โดรนโจมตี, การปราบปรามหรือทำลายการป้องกันทางอากาศของข้าศึก, โหนดเครือข่ายหรือถ่ายทอดการสื่อสาร, การค้นหาและกู้ภัยในการรบ และการสืบทอดของรูปแบบเหล่านี้ ระบบอากาศยานไร้คนขับเหล่านี้มีราคาตั้งแต่สองสามพันดอลลาร์ไปจนถึงหลายสิบล้านดอลลาร์ ด้วยน้ำหนักอากาศยานตั้งแต่น้อยกว่าหนึ่งปอนด์ไปจนถึง 40,000 ปอนด์[ต้องการอ้างอิง]

การจำแนกประเภทโดยการทหารสหรัฐ แก้

 
การแสดงอากาศยานไร้คนขับของสหรัฐเมื่อปี ค.ศ. 2005

แนวคิดสมัยใหม่ของอากาศยานไร้คนขับทางทหารของสหรัฐคือการให้ระบบอากาศยานต่าง ๆ ทำงานร่วมกันเพื่อสนับสนุนบุคลากรภาคพื้นดิน รูปแบบบูรณาการได้รับการอธิบายในแง่ของระบบ "ชั้น" และได้รับการใช้โดยนักวางแผนทางทหารเพื่อกำหนดองค์ประกอบของอากาศยานเฉพาะรายต่าง ๆ ในแผนการใช้งานโดยรวมสำหรับการดำเนินงานแบบบูรณาการ ระดับชั้นไม่ได้อ้างถึงอากาศยานเฉพาะรุ่น แต่ค่อนข้างจะมีบทบาทสำหรับโมเดลต่าง ๆ และผู้ผลิตที่แข่งขันกันมากกว่า กองทัพอากาศสหรัฐและเหล่านาวิกโยธินสหรัฐต่างมีระบบชั้นของตนเอง และทั้งสองระบบไม่ได้บูรณาการเข้าด้วยกัน

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Pentagon Plans for Cuts to Drone Budgets". DoD Buzz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-08. สืบค้นเมื่อ 8 January 2015.