อัศวเมธ

พิธีบูชายัญม้าที่ปรากฏในพระเวทของศาสนาพราหมณ์

อัศวเมธ (สันสกฤต: अश्वमेध, อักษรโรมัน: aśvamedha)[1] เป็นพิธีบูชายัญม้าที่ปรากฏในพระเวทของศาสนาพราหมณ์ เป็นพิธีที่ราชาอินเดียโบราณประกอบขึ้นเพื่อแสดงพระราชอำนาจและความยิ่งใหญ่ของพระองค์ โดยการปล่อยม้าให้วิ่งไปตามเมืองต่าง ๆ และมีกองทัพติดตามเป็นเวลาหนึ่งปี หากม้าไปยังเมืองใดแล้วราชาเมืองนั้นต้อนรับจะถือว่าราชาองค์นั้นยอมสวามิภักดิ์ แต่หากราชาเมืองใดจับม้าตัวนั้นจะถือเป็นศัตรูและต้องสู้รบกับกองทัพที่ติดตามม้า หากผ่านไปหนึ่งปีแล้วไม่มีผู้ใดทำอันตรายม้าจะมีการนำทางม้ากลับไปยังเมืองของราชาผู้ประกอบพิธีก่อนจะบูชายัญม้า จากนั้นราชาผู้ประกอบพิธีจะได้รับการประกาศเป็นราชาเหนือราชาทั้งปวง[2]

พิธีอัศวเมธของราชายุธิษฐิระ

ข้อเขียนเกี่ยวกับพิธีอัศวเมธที่เป็นที่รู้จักดีที่สุดคือ อัศวเมธิกบรรพ (สันสกฤต: अश्वमेध पर्व) หรือบรรพแห่งม้าอัศวเมธ ซึ่งเป็นบรรพที่ 14 ของมหากาพย์ มหาภารตะ ประกอบด้วย 2 บรรพย่อยและ 96 ตอน[3][4] ในบรรพนี้กล่าวถึงพระกฤษณะและฤๅษีวยาสแนะนำราชายุธิษฐิระให้ประกอบพิธีอัศวเมธเพื่อประกาศอำนาจของกรุงหัสตินาปุระหลังเสร็จสิ้นสงครามทุ่งกุรุเกษตร มีบันทึกว่าราชาอินเดียโบราณหลายพระองค์ประกอบพิธีนี้ โดยราชาองค์แรกที่ประกอบพิธีอัศวเมธคือปุรุกุตสะในสมัยพระเวทช่วงต้น[5][6] ในสหัสวรรษที่ผ่านมามีพิธีอัศวเมธเพียงแค่ 2 ครั้ง ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1741 โดยมหาราชาชัยสิงห์ที่ 2 แห่งชัยปุระ[7][8]

อ้างอิง แก้

  1. Monier-Williams, Monier; Leumann, E.; Cappeller, C. (2005). A Sanskrit-English Dictionary: Etymologically and Philologically Arranged with Special Reference to Cognate Indo-European Languages. Asian Educational Services. p. 115.
  2. "Ashvamedha". Encyclopedia Britannica. สืบค้นเมื่อ November 15, 2022.
  3. Ganguli, K.M. (1883-1896) "Aswamedha Parva" in The Mahabharata of Krishna-Dwaipayana Vyasa (12 Volumes). Calcutta
  4. Dutt, M.N. (1905) The Mahabharata (Volume 14): Ashwamedha Parva. Calcutta: Elysium Press
  5. Jamison, Stephanie; Brereton, Joel (2014). The Rigveda: The Earliest Religious Poetry of India. Oxford University Press. pp. 619–626, 699. ISBN 9780199370184.
  6. Erdosy, George; Witzel, Michael (1995). Language, Material Culture and Ethnicity. The Indo-Aryans of Ancient South Asia: Rgvedic history: poets, chieftains and politics. De Gruyter. pp. 237–242.
  7. P. K. Gode (1953). "Some contemporary Evidence regarding the aśvamedha Sacrifice performed by Sevai Jayasing of Amber (1699-1744 A. D.)". Studies in Indian Literary History. Vol. 2. Singhi Jain Shastra Sikshapith. pp. 288–291. OCLC 2499291.
  8. Catherine B Asher (2008). "Rethinking a Millennium: Perspectives on Indian History from the Eighth to the Eighteenth Century : Essays for Harbans Mukhia". ใน Rajat Datta (บ.ก.). Excavating Communalism: Kachhwaha Rajadharma and Mughal Sovereignty. Aakar Books. p. 232. ISBN 978-81-89833-36-7.