อันดับหนังสือขายดีเดอะนิวยอร์กไทมส์

อันดับหนังสือขายดีเดอะนิวยอร์กไทมส์ เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายที่มีความโดดเด่นในการจัดอันดับหนังสือขายดีของสหรัฐอเมริกา[1][2] ที่ได้รับการเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์ในนิตยสาร เดอะนิวยอร์กไทมส์บุ๊ครีวิว โดยมีการเผยแพร่ในฉบับวันอาทิตย์ของ เดอะนิวยอร์กไทมส์ และได้รับการจัดพิมพ์แบบสแตนอโลน ซึ่งอันดับหนังสือขายดีนี้ได้รับการนำเสนออย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1942 เป็นต้นมา

ผลกระทบจากการจำหน่ายหนังสือ แก้

จากการวิเคราะห์ของสแตนฟอร์ทบิสิเนสสคูล[3] พบว่าผู้ซื้อหนังสือส่วนใหญ่ใช้อันดับของ 'ไทมส์ เป็นแนวทางในการซื้อ จากกรณีศึกษา สรุปได้ว่านักเขียนที่ไม่ค่อยได้รับการรู้จักต่างได้รับประโยชน์อย่างมากจากอันดับรายการ ในขณะที่นักเขียนหนังสือขายดีตลอดกาล อย่างเช่น ดาเนียล สตีล หรือ จอห์น กริสแฮม ไม่พบประโยชน์จากการเพิ่มยอดจำหน่ายนี้

รายการขายดีที่สุดอาจไม่สะท้อนถึงการขายหนังสือโดยรวม หนังสือที่ไม่เคยติดอันดับของรายการก็สามารถขายได้คล่องไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าหนังสือติดอันดับของรายการ[4] นี่เป็นเพราะอันดับหนังสือขายดีสะท้อนให้เห็นเฉพาะยอดจำหน่ายของแต่ละสัปดาห์ แต่ไม่ได้นับยอดรวมทั้งหมด ดังนั้น หนังสือเล่มหนึ่งอาจจะขายได้มากในสัปดาห์นั้นและสามารถติดอันดับรายการ ในขณะที่รายการอื่นอาจเป็นไปแบบช้าๆและไม่ติดอันดับรายการ หากแต่จำนวนครั้งที่พิมพ์กลับเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

อ้างอิง แก้

  1. John Bear, The #1 New York Times Best Seller: intriguing facts about the 484 books that have been #1 New York Times bestsellers since the first list, 50 years ago, Berkeley: Ten Speed Press, 1992.
  2. Rep. Billy Tauzin (R-LA), Chairman, Subcommittee on Telecommunications, Trade, and Consumer Protection, said "the New York Times best-seller list is widely considered to be one of the most authoritative lists of which books are selling the most in American bookstores" during his Opening Statement for Hearing on H.R. 1858 on June 15, 1999.
  3. "Readers Tap Best-Seller List for New Authors" เก็บถาวร 2006-09-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Stanford Business Magazine, February 2005. Accessed December 2006. See also Alan T. Sorensen, Bestseller Lists and Product Variety: The Case of Book Sales, May 2004.
  4. J. E. Fishman, 12 Common Misperceptions About Book Publishing เก็บถาวร 2012-01-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, The Nervous Breakdown, December 1, 2010. Retrieved July 27, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้