อนุสาวรีย์ปากีสถาน

อนุสาวรีย์ปากีสถาน (อังกฤษ: Pakistan Monument; อูรดู: یادبود پاکستان) เป็นอนุสาวรีย์แห่งชาติ และพิพิธภัณฑ์มรดกที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของ Shakarparian Hills ใน อิสลามาบาด, ประเทศปากีสถาน อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงความสามัคคีของชาวปากีสถาน เพื่อเชิดชูวีรกรรมของวีรุบุรุษชาวปากีสถานผู้พลีชีพ "วันนี้" ของพวกเขาเพื่อ "พรุ่งนี้" ที่ดีกว่า ด้วยระดับความสูงที่ตั้งของอนุสาวรีย์นี้ทำให้สามารถมองเห็นอนุสาวรีย์ได้จากทั่วทั้ง Islamabad-Rawalpindi metropolitan area และเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของอิสลามาบาด[1]

อนุสาวรีย์ปากีสถาน
Pakistan Monument
یادبود پاکستان
อนุสาวรีย์ปากีสถาน
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทอนุสาวรีย์สาธารณะ
สถาปัตยกรรมสถาปัตยกรรมโมกุล
ที่ตั้งอิสลามาบาด, ประเทศปากีสถาน
พิกัด33°41′36″N 73°04′06″E / 33.69345°N 73.068309°E / 33.69345; 73.068309
เริ่มสร้าง25 พฤษภาคม 2004
แล้วเสร็จ23 มีนาคม 2007
เจ้าของกระทรวงวัฒนธรรม
การออกแบบและการก่อสร้าง
สถาปนิกArif Masoud
(งานศิลปะ โดย Guchrung)
วิศวกรSyed Mahmud Khalid
วิศวกรโครงสร้างMushtaq & Bilal
ผู้ออกแบบผู้อื่นKhizar Hayat Asghar
ผู้รับเหมาก่อสร้างยูนิเวอร์ซัล คอร์ปอเรชั่น (Universal Corporation)
(ผู้ควบคุม: Brig Maqbul Ahmad khan SI(M))

แนวคิดการออกแบบ แก้

อนุสาวรีย์ปากีสถานครอบคุลมพื้นที่กว่า 2.8 เฮกตาร์ (6.9 เอเคอร์) การออกแบบนี้มีรากมาจากสถาปัตยกรรมโมกุลอันรุ่มรวยของอนุทวีปนี้ รูปทรงคล้ายกลีบดอกไม้นั้นมาจากองค์ประกอบดั้งเดิมในสถาปัตยกรรมโมกุลที่เรียกว่า muqarna สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์ปากีสถานได้กล่าวไว้ว่า "เราควรเรียนรู้จากอดีต ไม่ใช่จมปลักอยู่ในนั้น" ("We should learn from history but not remain in it.") โครงสร้างต่าง ๆ นี้เป็นสัญลักษณ์ถึงความสามัคคีและความกลมเกลียวกันของประชาชนปากีสถาน โครงสร้างทรงกลีบดอกไม้สี่กลีบนั้นมักถูกเข้าใจผิดว่าเป็นสัญลักษณ์ถึงแคว้นทั้งสี่ของประเทศปากีสถาน แต่ในความเป็นจริงนั้นสื่อถึงวัฒนธรรมสี่กลุ่มที่ต่างกันชาวปากีสถาน คือ ปัญจาบ, บาโลจ, สินธ์ และ Pakhtun ส่วนกลีบดอกไม้ขนาดเล็กกว่าภายในจำนวนสามกลีบสื่อถึง Azad Kashmir, Gilgit Baltistan และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ทั้งเจ็ดกลีบดอกไม้นี้ ถึงจะตั้งอยู่เป็นอิสระต่อกัน แต่ก็ล้วนรวมกันเพื่อสร้างประเทศปากีสถานหนึ่งเดียว ดวงดาวในธงชาติปากีสถานในอนุสาวรีย์สร้างด้วยหินแกรนิตดำเงาพร้อมด้วยดวงดาวสีทอง เป็นสัญลักษณ์ถึงผู้ที่สละชีพเพื่อประเทศปากีสถาน ส่วนจันทร์เสี้ยวนั้นสร้างด้วยโลหะสเตนเลส ประกอบด้วยงานเขียนบันดาลใจของ Quaid-e-Azam Mohammed Ali Jinnah และ Allama Iqbal ผนังด้านในของกลีบดอกไม้ทั้งเจ็ดแกะสลักเป็นภาพนูนต่ำของสถานที่สำคัญในประเทศปากีสถาน ป้อมลาฮอร์, มัสยิดบาดชาฮี, Khyber Pass และ มีนาร์-อี-ปากีสถาน นอกจากนี้ยังมีส่วนของพิพิภัณฑ์ซึ่งบอกเล่าประวัติความเป็นมาของการก่อตั้งชาติปากีสถาน[2][3]

อ้างอิง แก้

  1. "National Monument: Structure reflects history of Pakistan - The Express Tribune". The Express Tribune (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2013-08-29. สืบค้นเมื่อ 2016-06-13.
  2. InpaperMagazine, From (2011-02-26). "Pakistan National Monument: Reliving history". www.dawn.com. สืบค้นเมื่อ 2016-06-13.
  3. Planet, Lonely. "Attractions in Islamabad & Rawalpindi". Lonely Planet (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-20. สืบค้นเมื่อ 2019-08-20.

ดูเพิ่ม แก้