อนุสรณ์ผู้ปลดปล่อยลัตเวียและรีกาโซเวียตจากผู้รุกรานฟาสซิสต์เยอรมัน
อนุสรณ์ผู้ปลดปล่อยลัตเวียและรีกาโซเวียตจากผู้รุกรานฟาสซิสต์เยอรมัน[a] หรือเรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า อนุสรณ์ชัยชนะ[b] เป็นอนุสรณ์สถานในสวนชัยชนะ ในย่านปาร์เดากาวา กรุงรีกา ประเทศลัตเวีย ตั้งขึ้นในปี 1985 เพื่อระลึกถึงทหารจากกองทัพแดงที่ร่วมรบในการยึดเมืองรีกาและส่วนอื่นของลัตเวียคืนมาจากนาซีเยอรมนี ในช่วงปีท้าย ๆ ของสงครามโลกครั้งที่สอง (1944–1945) อนุสรณ์สถานประกอบด้วยเสาสูง 79 เมตร และงานประติมากรรมสองชุด คือ มารดามาตุภูมิและประติมากรรมรูปทหารสามนาย[1]
Piemineklis Padomju Latvijas un Rīgas atbrīvotājiem no vācu fašistiskajiem iebrucējiem | |
พิกัด | 56°56′12″N 24°05′09″E / 56.936803°N 24.085808°E |
---|---|
ที่ตั้ง | สวนชัยชนะ รีกา ประเทศลัตเวีย |
ผู้ออกแบบ | Alexandr Bugaev |
วัสดุ | สัมฤทธิ์, แกรนิต, คอนกรีต |
ความสูง | ส่วนเสา: 79 เมตร (259 ฟุต 2 นิ้ว) |
เริ่มก่อสร้าง | 8 พฤษภาคม 1978 |
สร้างเสร็จ | 1985 |
การเปิด | 1985 |
อุทิศแด่ | ทหารกองทัพแดงที่ร่วมรบในการยึดรีกาและลัตเวียกลับคืนมา |
วันที่รื้อ | 25 สิงหาคม 2022 |
อนุสรณ์นี้เป็นประเด็นถกเถียงมาอย่างยาวนานในสังคมลัตเวียสมัยใหม่ เนื่องมาจากความเกี่ยวเนื่องกับสงครามโลกครั้งที่สองและมรดกจากสมัยที่ลัตเวียอยู่ภายใต้ปกครองของสหภาพโซเวียต ชาวลัตเวียจำนวนมากมองว่าอนุสรณ์นี้ไม่ใช่สัญลักษณ์ของการปลดปล่อย หากแต่เป็นสัญลักษณ์ของการยึดครองอีกครั้งของสหภาพโซเวียต[2][3] เสาสูงของอนุสรณ์สถานนี้บางครั้งถูกเรียกว่าเป็น "นิ้วมอสโก" (Maskavas pirksts)[1] และถูกนำไปเปรียบว่าเป็นคู่ตรงข้ามกันของอนุสรณ์เสรีภาพ[4]
ภายหลังการรุกรานยูเครนโดยรัสเซียในปี 2022 ได้มีการตัดสินใจรื้อถอนอนุสรณ์สถานนี้อย่างเป็นทางการ การรื้อถอนเริ่มขึ้นในวันที่ 22 สิงหาคม และเสร็จสิ้นในวันที่ 25 สิงหาคม 2022[5][6][7] คณะกรรมการสืบสวนสอบสวนรัสเซียกล่าวหาว่าการรื้อถอนอนุสรณ์นี้เป็นอาชญากรรม[8] และในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2022 กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียได้เรียกมาริส เรียกสติญช์ เอกอัครราชทูตลัตเวีย เข้าพบเพื่อประท้วงการรื้อถอนอนุสรณ์นี้และอนุสรณ์อื่น ๆ จากยุคโซเวียตในลัตเวีย พร้อมทั้งขู่ว่ารัสเซีย "มีสิทธิ์ที่จะตอบโต้ ซึ่งรวมถึงการใช้มาตรการที่ไม่สมมาตร"[9][10] เรียกสติญช์แสดงความเห็นโดยกล่าวว่า "มาตรการใด ๆ ก็ตามที่รัสเซียใช้ จะตามมาด้วยการตอบโต้ที่เหมาะสม เด็ดขาด และหนักแน่น"[11]
หมายเหตุ
แก้- ↑ ลัตเวีย: Piemineklis Padomju Latvijas un Rīgas atbrīvotājiem no vācu fašistiskajiem iebrucējiem; รัสเซีย: Памятник освободителям Советской Латвии и Риги от немецко-фашистских захватчиков, อักษรโรมัน: Pamyatnik osvobodityelyam Sovetskoy Latvii i Rigi ot nemetsko-fashistskikh zakhvatchikov
- ↑ ลัตเวีย: Uzvaras piemineklis; รัสเซีย: Памятник победы, อักษรโรมัน: Pamyatnik pobedy
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Hoffmann, Thomas; Makarychev, Andrey, บ.ก. (2018). "Russia's monuments policy in the Baltic States". Russia and the EU: Spaces of Interaction. Abingdon: Routledge. p. 99. ISBN 978-1-138-30379-9.
- ↑ Ochser, Tim (16 May 2002). "Monument divides society on Victory Day". The Baltic Times. สืบค้นเมื่อ 14 May 2013.
- ↑ "WWII Victory Day still stirs controversy in Latvia". Expatica. 9 May 2012. สืบค้นเมื่อ 14 May 2013.
- ↑ Berglund, Sten; Ekman, Joakim; Deegan-Krause, Kevin; Knutsen, Terje, บ.ก. (2013). The Handbook of Political Change in Eastern Europe (3rd ed.). Abingdon: Edward Elgar Publishing. p. 99. ISBN 978-0-857-93537-3.
- ↑ "Demolition of Soviet Victory monument in Rīga". Public Broadcasting of Latvia. 25 August 2022. สืบค้นเมื่อ 25 August 2022.
- ↑ "79 m tall obelisk of Soviet Victory Monument toppled in Pārdaugava". Baltic News Network. 26 August 2022. สืบค้นเมื่อ 26 August 2022.
- ↑ "Largest Soviet monument in Baltics dismantled in Riga". The Baltic Times. 26 August 2022. สืบค้นเมื่อ 26 August 2022.
- ↑ "Russia launches criminal case over demolition of Soviet monument in Latvia". Baltic News Network. LETA. 24 August 2022. สืบค้นเมื่อ 24 August 2022.
- ↑ Collier, Mike (10 November 2022). "Russia rants asymmetrically about barbarism and beachside real estate". Public Broadcasting of Latvia. สืบค้นเมื่อ 10 November 2022.
- ↑ "Russian Foreign Ministry lodges protest with Latvian ambassador over Soviet monuments' demolition in Latvia". The Baltic Times. 10 November 2022. สืบค้นเมื่อ 10 November 2022.
- ↑ "Latvia's reaction to Russia's 'asymmetrical steps' will be stern: Rinkēvičs". Public Broadcasting of Latvia. 11 November 2022. สืบค้นเมื่อ 15 November 2022.