หุ่นยนต์ส่งของ
หุ่นยนต์ส่งของ เป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติที่มีจุดประสงค์เพื่อบริการขนส่งในระยะทางอันใกล้ โดยผู้ควบคุมสามารถติดตามและควบคุมหุ่นยนต์จากระยะไกลได้ในกรณีที่หุ่นยนต์ไม่สามารถประมวลผลได้ด้วยตนเอง เช่น เมื่อหุ่นยนต์ติดอยู่กับสิ่งกีดขวาง เป็นต้น นอกจากนี้ หุ่นยนต์ส่งของยังสามารถใช้ตั้งค่าระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานที่แตกต่างกันได้ เช่น ขนส่งอาหาร ขนส่งบรรจุภัณฑ์ ขนส่งทางการแพทย์ บริการโรงแรม และอื่น ๆ
การใช้งาน
แก้ขนส่งอาหาร
แก้ก่อนการระบาดทั่วของโควิด-19 การปรับใช้หุ่นยนต์ส่งอาหารยังมีอยู่ในระดับเล็กน้อย[1] จนเมื่อเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 มีการปรับใช้หุ่นยนต์ส่งของบางส่วนตามสถาบันการศึกษาในสหรัฐ โดยมหาวิทยาลัยจอร์จเมสันเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่กำหนดรวมการจัดส่งอาหารตามความต้องการด้วยหุ่นยนต์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดอาหารของมหาวิทยาลัย โดยการใช้งานหุ่นยนต์ 25 ตัว จากบริษัทสตาร์ชิปเทคโนโลจิส[2] เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ยังคงแพร่กระจายอยู่ทั่วไป ความต้องการในการจัดส่งอาหารจึงมีเพิ่มมากขึ้นอย่างสำคัญ ซึ่งเหตุนี้ทำให้ความต้องการต่อหุ่นยนต์ส่งอาหารตามวิทยาลัยต่าง ๆ พุ่งสูงขึ้นเช่นกัน[1] สตาร์ชิปและบริษัทรายอื่น ๆ เช่น กีวีบอต (kiwibot) ได้ปรับการใช้งานหุ่นยนต์ส่งอาหารหลายร้อยตัวไปยังสถาบันการศึกษาจำนวนมากหรือในบางถนนตามเมืองต่าง ๆ ของสหรัฐและสหราชอาณาจักร นอกจากนั้น บริษัทที่บริการจัดส่งอาหารยังเพิ่มหุ่นยนต์ส่งของลงไปในแพลตฟอร์มของบริษัทด้วย ตัวอย่างเช่น กรับฮับ (Grubhub) ได้ร่วมมือกับยานเดกซ์ในการให้บริการตามสถานศึกษา สำหรับข้อจำกัดของการใช้หุ่นยนต์ส่งอาหารนั้น คือการขาดความสามารถในการจัดส่งในกรณีได้รับคำสั่งพิเศษ เช่น วางอาหารไว้ที่หน้าประตู และไม่สามารถเดินทางไปยังพื้นที่ที่ยากลำบากได้ ซึ่งด้วยเหตุนี้ ทำให้ผู้ควบคุมอาจต้องสั่งการระยะไกลเพื่อช่วยหุ่นยนต์ให้เดินทางผ่านสิ่งกีดขวางไปได้[1]
ขนส่งของชำ
แก้ในเดือนเมษายน ค.ศ. 2018 บริษัทสตาร์ชิปเทโนโลจิสได้เปิดตัวบริการส่งของชำในมิลตันคีนส์ ประเทศอังกฤษ ร่วมกับเครือข่ายห้างสรรพสินค้าอย่างโค-โอพี (The Co-op) และเทสโก้[3] โดยในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2020 สตาร์ชิปเทคโนโลจิสได้กล่าวว่า มิลตันคีนส์มี "ฝูงหุ่นยนต์อัตโนมัติที่ใหญ่ที่สุดในโลก"[4]
ช่วงต้น ค.ศ. 2022 มีการเปิดตัวของนูริช + บลูม (Nourish + Bloom) ซึ่งเป็นร้านขายของชำอัตโนมัติที่มีเจ้าของเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกาแห่งแรกของโลก โดยร้านอัตโนมัตินี้ประมวลผลสินค้าโดยใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับการมองเห็นควบคู่ไปกับเสียงจากปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับท่าทาง นูริช + บลูม มีบริการจัดส่งสินค้าโดยใช้พาหนะจากวิทยาการหุ่นยนต์ ซึ่งดัดแปลงโดยแดกซ์บอต[5] ซึ่งเริ่มการใช้งานในเมืองฟิลอแมธ รัฐออริกอน และเพิ่มการลงทุนผ่านการระดมทุนจากหลากหลายผู้คน ทำให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของหุ่นยนต์ที่สามารถเดินทางได้ไกลถึง 10 ไมล์ (ราว 16 กิโลเมตร) ด้วยความเร็ว 4 ไมล์ต่อชั่วโมง รวมทั้งมีพื้นที่บรรทุกสินค้าที่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้อีกด้วย[6]
ขนส่งบรรจุภัณฑ์
แก้ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2019 แอมะซอนเปิดตัวบริการทดลองส่งบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กสำหรับลูกค้าแอมะซอน ไพร์ม (Amazon Prime) โดยใช้หุ่นยนต์ส่งของที่เรียกว่าแอมะซอนสเกาต์ (Amazon Scout) การทดสอบเสร็จสมบูรณ์ในภูมิภาคซีแอตเทิลและเริ่มขยายสู่เออร์ไวน์ในรัฐแคลิฟอร์เนีย แอตแลนตาในรัฐจอร์เจีย และแฟรงคลินในรัฐเทนเนสซี[7] ใน ค.ศ. 2021 ภายหลังการทดสอบหุ่นยนต์จัดส่งบรรจุภัณฑ์เสร็จสิ้นใน 4 เมืองของสหรัฐ แอมะซอนจึงสร้างศูนย์พัฒนาแห่งใหม่ในประเทศฟินแลนด์เพื่อสร้างความก้าวหน้าเพิ่มเติมในเทคโนโลยีหุ่นยนต์ของบริษัท เพื่อจัดการกับการเดินทางในชีวิตจริงได้ดียิ่งขึ้น[8]
ขนส่งทางการแพทย์
แก้หุ่นยนต์ส่งของถูกตั้งค่าให้สามารถดำเนินการภารกิจในโรงพยาบาลได้เป็นจำนวนมากเพื่อลดต้นทุนการดำเนินงาน การปฏิบัติภารกิจแรกคือการจัดส่งอาหาร สิ่งส่งตรวจทางการแพทย์ และยา โดยหุ่นยนต์ส่งของมีการติดตั้งตัวรับรู้เป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถเดินทางภายในเส้นทางที่กำหนดไว้ได้ นอกจากนี้ ยังมีการติดตั้งสัญญาอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถร้องขอขึ้นลิฟต์เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในอาคารหลายชั้นได้ สำหรับหุ่นยนต์ส่งของบางตัวอาจมีการใส่รหัสและระบบสแกนลายนิ้วมือเพื่อป้องกันการเข้าถึงเนื้อหาภายในหุ่นยนต์โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งเป็นผลมาจากข้อกังวลด้านความปลอดภัย ข้อมูลเมื่อ ค.ศ. 2019 มีโรงพยาบาลมากกว่า 150 แห่งในสหรัฐ และในแห่งอื่น ๆ ที่ได้ปรับใช้หุ่นยนต์ส่งของ การปฏิบัติภารกิจที่สองคือการลากบรรทุกผ้าลินินปนเปื้อนและสิ่งปฏิกูลทางการแพทย์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องใช้หุ่นยนต์ส่งของที่เหมาะสมประสิทธิภาพ เนื่องจากน้ําหนักที่ต้องบรรทุกอาจเป็นปริมาณหลายร้อยปอนด์ (หลายร้อยกิโลกรัม)[9][10]
ในประเทศอิสราเอล ศูนย์การแพทย์เชบา (Sheba Medical Center) ใช้หุ่นยนต์ส่งของเพื่อรับส่งยาเคมีบำบัดที่จัดเตรียมโดยแผนกเวชภัณฑ์ส่งให้ถึงพยาบาลโดยตรงเพื่อหย่นระยะเวลา[11]
บริการโรงแรม
แก้ช่วงปลาย ค.ศ. 2014 ซาวีโอเก (Savioke) บริษัทหุ่นยนต์วิสาหกิจเริ่มต้น เปิดตัวหุ่นยนต์บริการโรงแรมชื่อว่า "เรเลย์" (Relay) เมื่อพนักงานโรงแรมได้รับคำสั่งจากแขก พนักงานจะใส่ของไว้ในตัวเรเลย์ แล้วให้หุ่นยนต์ไปส่งของให้กับห้องพักแขก โดยใน ค.ศ. 2016 ฝูงหุ่นยนต์เรเลย์ได้มีการปรับใช้ในเครือโรงแรมห้าดาวหลายแห่ง[12] จนในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2017 โรงแรมเอ็ม โซเชียลในประเทศสิงคโปร์เปิดตัวหุ่นยนต์บริการโรงแรมที่ชื่อว่า "ออรา" (AURA) เพื่อช่วยเหลือพนักงาน เช่น ส่งขวดน้ำดื่มและผ้าเช็ดตัวสำหรับห้องพักแขก ซึ่งนับเป็นบริการครั้งแรกที่อยู่นอกสหรัฐ[13]
บริษัท
แก้หุ่นยนต์ทางเท้า
แก้บริษัทหลายรายได้นำหุ่นยนต์ขนาดเล็กมาใช้งานอย่างจริงจัง โดยจุดประสงค์สำหรับจัดส่งบรรจุภัณฑ์ขนาดเล็กในระยะทางใกล้ ๆ เช่น อาหารหรือของชำ ซึ่งเพียงแค่ใช้พื้นที่ทางเท้าของถนนและเดินทางด้วยความเร็วที่เทียบได้กับความเร็วในการเดินเร็วเท่านั้น สำหรับบริษัทส่งของที่ใช้งานหุ่นยนต์อย่างจริงจัง มีดังนี้
- สตาร์ชิปเทคโนโลจิส - โดยในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2023 บริษัทใช้งานหุ่นยนต์อัตโนมัติ 2,000 ฝูง ในการจัดส่งเชิงพาณิชย์โดยอัตโนมัติมากกว่า 5 ล้านครั้ง[14]
- แอมะซอนสเกาต์ - ข้อมูลเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 2022 แอมะซอนไม่ได้ทดสอบหุ่นยนต์ของตนอีกต่อไป เนื่องจากโครงการกําลังปรับเปลี่ยนทิศทางใหม่[15]
โดรน
แก้- ซิปไลน์ - โดรนส่งเวชภัณฑ์และถุงเลือดผ่านร่มชูชีพ โดยในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2022 โดรนได้ทําการส่งของไปแล้วทั้งสิ้น 325,000 ครั้ง
ปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์
แก้จากการที่หุ่นยนต์เป็นระบบอัตโนมัติ ทำให้หุ่นยนต์ส่งของมักมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ทั่วไปได้โดยไร้ความช่วยเหลือจากผู้สั่งการที่เป็นมนุษย์ ทั้งในการเผชิญหน้าทั้งด้านบวกและด้านลบ[16] ผู้ผลิตหุ่นยนต์ส่งของอย่างสตาร์ชิปเทคโนโลจิสรายงานว่ามีผู้คนเตะหุ่นยนต์ของพวกเขา[16] อย่างไรก็ตาม ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นไปในเชิงบวก และมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่มองหุ่นยนต์ในฐานะมนุษย์ด้วยกัน เนื่องจากรูปลักษณ์ภายนอกที่คล้ายคลึงกัน[17] ซึ่งทำให้ผู้คนรู้สึกห่วงใยหุ่นยนต์ ช่วยเหลือหุ่นยนต์เมื่อเกิดการขัดข้อง กังวลเรื่องการเดินทางของหุ่นยนต์ หรือกล่าวชื่นชมและขอบคุณหุ่นยนต์สําหรับบริการจัดส่ง[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 Durbin, Dee-Ann (2 November 2021). "Robots hit the streets as demand for food delivery grows". The Associated Press. สืบค้นเมื่อ 15 November 2021.
- ↑ Holley, Peter (22 January 2019). "George Mason students have a new dining option: Food delivered by robots". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 15 November 2021.
- ↑ Farrell, Steve (2019-04-01). "Co-op expands robot deliveries to second store". The Grocer. สืบค้นเมื่อ 2020-06-14.
- ↑ "Milton Keynes now has 'world's largest autonomous robot fleet' as Starship expand further". MKFM (Press release). Starship Technologies. May 30, 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-11-06.
- ↑ "Inside the first Black-owned autonomous grocery store". NBC News (ภาษาอังกฤษ). February 16, 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-02-23.
- ↑ Silverstein, Sam (February 3, 2022). "Retail startup opens first frictionless grocery store, eyes 500 more". Grocery Dive (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-02-23.
- ↑ Brown, Dalvin (22 July 2020). "Meet Scout: Amazon is taking its Prime Delivery Robots to the South". USA Today. สืบค้นเมื่อ 15 November 2021.
- ↑ Shead, Sam (1 July 2021). "Amazon plans to build delivery robot tech in Finland 放屁". CNBC. สืบค้นเมื่อ 15 November 2021.
- ↑ Chang, Althea (30 April 2015). "Pricy robots 'Tug' hospital supplies". CNBC. สืบค้นเมื่อ 15 November 2021.
- ↑ Weiner, Stacy (12 July 2019). "Robots make the rounds". Association of American Medical Colleges. สืบค้นเมื่อ 15 November 2021.
- ↑ Jeffay, Nathan (9 July 2012). "Drug-delivery robots deployed at Israel's largest hospital to cut chemo wait". The Times of Israel. สืบค้นเมื่อ 15 November 2021.
- ↑ Nichols, Greg (14 January 2016). "This room service robot is gaining ground in the world's posh hotels". ZDNet. สืบค้นเมื่อ 15 November 2021.
- ↑ Street, Francesca (15 August 2017). "Introducing AURA, the room service robot". CNN. สืบค้นเมื่อ 15 November 2021.
- ↑ Mukherjee, Supantha (June 21, 2023). "Estonia's Bolt, Starship in food delivery robot deal". Reuters (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-14.
- ↑ Vincent, James (2022-10-07). "Amazon stops field tests of its delivery robot Scout". The Verge (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-07-14.
- ↑ 16.0 16.1 Hamilton, Isobel Asher. "People kicking these food delivery robots is an early insight into how cruel humans could be to robots". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-11-22.
- ↑ 17.0 17.1 "Why You Want to Pet the Food Delivery Robot". Bon Appétit (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2022-10-14. สืบค้นเมื่อ 2022-11-22.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ หุ่นยนต์ส่งของ