หลังโครงสร้างนิยม

หลังโครงสร้างนิยม (อังกฤษ: Post-structuralism) เป็นรูปแบบของทฤษฎีทางปรัชญา, เชิงทฤษฎี และทางวรรณกรรม ที่ทั้งสร้างขึ้นจากและปฏิเสธแนวคิดของโครงสร้างนิยม ซี่งมีมาก่อนหน้า[1] ถึงแม้นักวิชาการหลังโครงสร้างนิยมจะเสนอการวิพากษ์โครงสร้างนิยมในรูปแบบต่าง ๆ ที่ต่างกัน ลักษณะร่วมบางประการคือการปฏิเสธว่าการใช้โครงสร้างนิยมอย่างเดียวเป็นสิ่งที่พึ่งพาได้ รวมถึงการตั้งคำถามต่อการคัดค้านแบบไบนารีที่ประกอบขึ้นเป็นโครงสร้าง ดังนั้น แนวคิดแบบหลังโครงสร้างนิยมจึงปฏิเสธแนวคิดการตีความสื่อและโลกผ่านโครงสร้างที่มีมาก่อนและถูกสร้างขึ้นโดยสังคม[2][3][4][5]

ในขณะที่ โครงสร้างนิยม เชื่อว่าบุคคลหนึ่งจะสามารถเข้าใจวัฒนธรรมของมนุษย์ได้ผ่านการเข้าใจโครงสร้างที่ปรากฏในภาษา และที่ว่าความเข้าใจนี้แตกต่างโดยสิ้นเชิงจากความเป็นจริงที่ปรากฏอย่างชัดเจน และนำไปสู่แนวคิดแบบนามธรรมผ่านการเสนอข้อคิดเห็น "ที่สาม" (third order) ที่จะเชื่อมต่อระหว่างสองสิ่ง[6] หลังโครงสร้างนิยมอาจวิพากษ์ว่าในการสร้างความหมายขึ้นใหม่จากการตีความดังกล่าว บุคคลหนึ่งย่อมต้องสรุปความ (โดยผิด ๆ) ว่าคำนิยามของสัญลักษณ์ทั้งสองล้วนตรวจสอบได้และไม่เปลี่ยนแปลง และว่าผู้ที่สรุปความคิดนั้นผ่านวิถีของโครงสร้างนิยมนั้นอยู่เหนือและแยกขาดจากโครงสร้างที่จะพยายามอธิบายนี้ได้โดยทางใดทางหนึ่ง เพื่อที่จะสามารถสังเกตการณ์สิ่งนั้นได้โดยสมบูรณ์ ความไม่ยืดหยุ่น, ความโน้มเอียงต่อการจัดแยกประเภท และการเสนอความจริงสากลที่ปรากฏในวิธีคิดแบบโครงสร้างนิยมจึงกลายเป็นเป้าหมายร่วมในการวิจารณ์จากสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม ที่ซึ่งในขณะเดียวกันก็กำลังสร้างแนวคิดขึ้นจากรากฐานของการจำกัดแนวคิดของความจริงแบบโครงสร้างนิยมซึ่งได้มาจากความสัมพันธ์ (interrelationship) ระหว่างสัญลักษณ์[7]

นักเขียนผู้ซึ่งงานเขียนได้รับการจัดประเภทว่าเป็นหลังโครงสร้างนิยม เช่น โรลันด์ บาตส์, แฌค เดริดา, มิแช็ล ฟูโกต์, กิลส์ เดอลูซ, จูดิธ บัทเลอร์, ฌอง โบดริลาร์ และ ยูเลีย คริสเตวา ในขณะเดียวกันจำนวนมากก็ปฏิเสธที่นะถูกขนานนามว่าเป็นพวกหลังโครงสร้างนิยม[8]

อ้างอิง

แก้
  1. Lewis, Philip; Descombes, Vincent; Harari, Josue V. (1982). "The Post-Structuralist Condition". Diacritics. 12 (1): 2–24. doi:10.2307/464788. JSTOR 464788.
  2. Bensmaïa, Réda. 2005. "Poststructuralism." Pp. 92–93 in The Columbia History of Twentieth-Century French Thought, edited by L. Kritzman. Columbia University Press.
  3. Poster, Mark. 1988. "Introduction: Theory and the problem of Context." pp. 5–6 in Critical theory and poststructuralism: in search of a context.
  4. Merquior, José G. 1987. Foucault, (Fontana Modern Masters series). University of California Press. ISBN 0-520-06062-8.
  5. Craig, Edward, ed. 1998. Routledge Encyclopaedia of Philosophy, vol. 7 (Nihilism to Quantum mechanics). London: Routledge. ISBN 0-415-18712-5. p. 597.
  6. Deleuze, Gilles. [2002] 2004. "How Do We Recognize Structuralism?" Pp. 170–92 in Desert Islands and Other Texts 1953–1974, translated by D. Lapoujade, edited by M. Taormina, Semiotext(e) Foreign Agents series. Los Angeles: Semiotext(e). ISBN 1-58435-018-0. pp. 171–73.
  7. Harcourt, Bernard E. (12 March 2007). "An Answer to the Question: "What Is Poststructuralism?"". Chicago Unbound - Public Law and Legal Theory. 156: 17–19.
  8. Harrison, Paul (2006). "Poststructuralist Theories" (PDF). ใน Aitken, Stuart; Valentine, Gill (บ.ก.). Approaches to Human Geography. London: SAGE Publications. pp. 122–135. doi:10.4135/9781446215432.n10. ISBN 9780761942634.

บรรณานุกรม

แก้
  • Angermuller, J. (2015): Why There Is No Poststructuralism in France. The Making of an Intellectual Generation. London: Bloomsbury.
  • Angermuller, J. (2014): Poststructuralist Discourse Analysis. Subjectivity in Enunciative Pragmatics. Houndmills, Basingstoke: Palgrave Macmillan
  • Barry, P. Beginning theory: an introduction to literary and cultural theory. Manchester University Press, Manchester, 2002.
  • Barthes, Roland. Elements of Semiology. New York: Hill and Wang, 1967.
  • Cuddon, J. A. Dictionary of Literary Terms & Literary Theory. London: Penguin, 1998.
  • Eagleton, T. Literary theory: an introduction Basil Blackwell, Oxford,1983.
  • Matthews, E. Twentieth-Century French Philosophy. Oxford University Press, Oxford, 1996.
  • Ryan, M. Literary theory: a practical introduction. Blackwell Publishers Inc, Massachusetts,1999.
  • Wolfreys, J & Baker, W (eds). Literary theories: a case study in critical performance. Macmillan Press, Hong Kong,1996.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้