หม่อมบงกชปริยา ยุคล ณ อยุธยา
หม่อมบงกชปริยา ยุคล ณ อยุธยา นามเดิม เบตตี คอลค์สตีน (อังกฤษ: Betty Kalkstein) เป็นหม่อมชาวอเมริกันในหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล และเป็นอดีตครูโรงเรียนนานาชาติกรุงเทพ
หม่อม บงกชปริยา ยุคล ณ อยุธยา | |
---|---|
เกิด | เบตตี คอลค์สตีน นิวยอร์ก สหรัฐ |
สัญชาติ | ไทย |
การศึกษา | มหาวิทยาลัยบอสตัน |
อาชีพ | ครู |
คู่สมรส | หม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล |
บุตร | หม่อมราชวงศ์ศรีเฉลิม กาญจนภู หม่อมราชวงศ์อุรรัตนา ยุคล พระเทพวชิราภินันท์ (หม่อมราชวงศ์นันทวัฒน์ ชยวฑฺฒโน) |
ประวัติ
แก้หม่อมบงกชปริยามีนามเดิมว่า เบตตี คอลค์สตีน[1] พื้นเพเป็นชาวนิวยอร์ก สหรัฐ[2] เกิดในครอบครัวเชื้อสายยิวแต่ไม่นับถือศาสนา[3] หม่อมบงกชปริยาเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยบอสตันและพบกับหม่อมเจ้ามงคลเฉลิม ยุคล ซึ่งเป็นเจ้านายชั้นอนุวงศ์ของไทย ทั้งสองเสกสมรสกันหลังสำเร็จการศึกษา และย้ายตามสามีมายังประเทศไทย[3] โดยพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้พระราชทานชื่อแก่ท่านว่า "บงกชปริยา" แปลว่า "ดอกบัวอันเป็นที่รัก"[3]
หม่อมบงกชปริยาทำงานเป็นครูประจำวิชาสังคมศึกษา (สังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์) ของโรงเรียนนานาชาติกรุงเทพ จนถึง พ.ศ. 2542[2][3] หลังเกษียณ หม่อมบงกชปริยาเข้าเป็นสมาชิกสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์และอาสาสมัครพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โดยมากท่านรับเป็นวิทยากรหรือถูกรับเชิญในเรื่องราชวงศ์ไทยและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง[2]
หม่อมบงกชปริยากล่าวว่าตนเปิดรับทุกศาสนา เพราะไม่เคยนับถือศาสนามาก่อน จึงตามเสด็จหม่อมเจ้ามงคลเฉลิมไปเรียนวิชาพระพุทธศาสนาที่วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และเปลี่ยนไปนับถือศาสนาพุทธด้วยตนเองใน พ.ศ. 2542[3]
อ้างอิง
แก้- ↑ "ม.ร.ว.ศรีเฉลิม กาญจนภู เบื้องหลังความสำเร็จ 'อัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์' 'สิ่งที่เรียนรู้จากชุมชนคือ ไม่มีอะไรดีกว่าบ้าน'". มติชนออนไลน์. 10 กันยายน 2560. สืบค้นเมื่อ 8 สิงหาคม 2564.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 2.0 2.1 2.2 "AWC's Annual General Meeting (AGM) & Election". AWC Thailand (ภาษาอังกฤษ). November 18, 2014. สืบค้นเมื่อ August 8, 2021.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Privileged perspective Mom Bongkojpriya Yugala talks about her unique experience in Thailand". Bangkok Post (ภาษาอังกฤษ). June 14, 2012. สืบค้นเมื่อ August 8, 2021.