สาขาวิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ภาควิชาจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นหนึ่งในสาขาวิชาของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสังกัดภาควิชาจิตวิทยา บรรณารักษศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ทำการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี ณ ศูนย์รังสิต และ สูงกว่าปริญญา ณ ท่าพระจันทร์ เป็นสถาบันแรกที่ทำการสอนจิตวิทยาระดับปริญญาตรีในประเทศไทยและเป็นเพียงสถาบันเดียวที่ประสาทปริญญาในรูปแบบศิลปศาสตร์บัณฑิต (โดยตัวหลักสูตรเป็นจิตวิทยาบริสุทธิ์ตามรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์แบบตะวันตกมิได้เป็นกึ่งศิลปศาสตร์แต่อย่างใด) แต่ในปัจจุบัน สาขาวิชาจิตวิทยาได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิทยาศาสตร์บัณฑิตตั้งแต่ในหลักสูตรปี พ.ศ. 2561[1]
ประวัติโดยสังเขป
แก้ภาควิชาจิตวิทยาเป็นส่วนราชการไทยระดับภาควิชา (department) สังกัดคณะศิลปศาสตร์ (Faculty of Liberal Arts) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ โดยนับเป็นสาขาวิชาที่เปิดดำเนินการสอนขึ้นเป็นลำดับที่ 6 ของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเป็นสถาบันการเรียนการสอนทางด้านจิตวิทยาที่ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นอันดับแรกของประเทศไทย เมื่อปีพุทธศักราช 2507 โดยแต่เดิม ก่อนปีพุทธศักราช 2507 ที่มีโครงสร้างหลักสูตรจิตวิทยานั้น พบว่ายังไม่ได้มีการก่อตั้งภาควิชาจิตวิทยาขึ้นอย่างเป็นทางการ และยังไม่ได้รับสังกัดในคณะใดๆ หากแต่มีการเรียนการสอนวิชาจิตวิทยาอยู่ก่อนแล้ว โดยที่เป็นลักษณะของการไปบรรยายส่งเสริมเข้าในเนื้อหาของคณะต่างๆ ตามที่จำเป็นต้องใช้ประกอบในเนื้อหาวิชานั้นๆ เช่น นิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี วิชาผู้บริโภค การตลาด เป็นต้น จนกระทั่งคณาจารย์ได้ร่วมกันวางแผนหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาจิตวิทยาระดับบัณฑิตศึกษา (ปริญญาตรี) 4 ปี ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรด้านจิตวิทยา เพื่อนำความรู้ที่ได้รับนี้ไปใช้สนับสนุนในเนื้องานและการประกอบวิชาชีพที่ต้องใช้ความรู้ทางจิตวิทยา
เมื่อครั้งแรกเริ่มก่อตั้ง ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับการสนับสนุนในแง่มุมของหลักวิชาการเป็นอย่างดีจากสมาคมฟุลไบรท์ (องค์กรนักจิตวิทยาซึ่งประกอบด้วยชาวต่างชาติผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแก้ปัญหาครอบครัว) จิตวิทยามุ่งศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์ มีการทดลองด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ต้นแบบจากสมาคมจิตวิทยาอเมริกัน หรือ APA อนึ่ง ในสมัยแรกนั้นภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดการเรียนการสอนทุกชั้นปีการศึกษาที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ตั้งแต่ปีที่ได้รับการสถาปนา แต่ต่อมาทางภาควิชาได้ขยายส่วนมาจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ครบทั้ง 4 ชั้นปี อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในครั้งนั้นที่ต้องการขยายพื้นที่การศึกษาระดับปริญญาตรีทุกคณะ ดังนั้นจึงส่งผลให้ปัจจุบันนี้ นักศึกษาระดับปริญญาตรีได้เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้าสาขาวิชา
แก้อาจารย์เกียรติศักดิ์ จังเจริญจิตต์กุล อาจารย์ปุญชรัศมิ์ เตชะวชิรกุล
รายนามอาจารย์ประจำภาควิชาจิตวิทยา มธ.
แก้- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัชวาล เทียมถนอม
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัชสรัญ เต็งพงศธร
- อาจารย์ ดร.จารุวรรณ สกุลคู
- อาจารย์ ดร.รัชนีวรรณ วนิชย์ถนอม
- อาจารย์ ดร.รุจนะ เทียนศรี
- อาจารย์ เกียรติศักดิ์ จังเจริญจิตต์กุล
- อาจารย์ ชลาลัย แต้ศิลปสาธิต
- อาจารย์ ทระวิณ ชาลีรักษ์ตระกูล
- อาจารย์ บุรชัย อัศวทวีบุญ
- อาจารย์ ปุญชรัศมิ์ เตชะวชิรกุล
- อาจารย์ พัฒนกิจ ชอบทำกิจ
- อาจารย์ วรวัชร์ ตั้งจิตรเจิญ
- อาจารย์ ภุมรัตน์ ฤทธิเกิด
- อาจารย์ อธิชาติ โรจนะหัสดิน
กิจกรรมของภาควิชาจิตวิทยา มธ.
แก้- กิจกรรมสานสัมพันธ์เก้าส้อม (กิจกรรมระหว่างนักศึกษาที่เรียนจิตวิทยาตามสถาบันต่าง ๆ ทั่วประเทศทั้ง 9 แห่ง)
- ค่ายจับจิต
ศิษย์เก่า
แก้- บัว สโรชา ตันจรารักษ์
ดูเพิ่ม
แก้- เว็บไซต์ ๕๐ ปี จิตวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- หน้าสำหรับแฟนภาควิชาเอกจิตวิทยา คณะศิลปศาสตร์ มธ. ในเฟซบุ๊ก
- Website ค่ายจับจิต (ค่ายแนะแนวจิตวิทยาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย) เก็บถาวร 2013-07-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- แฟนเพจค่ายจับจิต
- โครงการปริญญาโทสาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ เก็บถาวร 2012-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- เว็บบล็อกจิตวิทยา ธรรมศาสตร์