สระพังทอง เป็นสระน้ำขนาดใหญ่ อยู่ด้านทิศตะวันออกของตัวเมืองสกลนคร สร้างขึ้นตามคติของขอมในสมัยก่อน เพื่อใช้ในการชลประทานหน้าแล้ง การขุดบ่อน้ำที่อยู่ไม่ลึกจากผิวดิน ย่อมเหนื่อยน้อยกว่าการขุดบ่อที่มีระดับน้ำใต้ดินลึกบริเวณดังกล่าวซึ่งใกล้หนองหานมากจึงเหมาะแก่การสร้างเขื่อน ย่อยๆไว้ใช้หน้าแล้ง

ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ สกลนครเป็นสวนสาธารณะที่ชาวสกลนคร ใช้พักผ่อนในยามว่าง และใช้จัดงานลอยกระทง แข่งขันเรือยาว และงานรื่นเริงต่างๆ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คึือ บาราย (สระน้ำในอารยธรรมขอม) เพราะขอมได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในระบบชลประทานมากในอดีต (คำว่าสระพังทอง มาจากคำว่า ตระพัง มีรากศัพท์มาจากภาษาเขมรว่า “ตรฺพำง” (อ่านว่า ตรอเปียง) แปลว่า บ่อหรือสระน้ำที่ขุดขึ้น)

จากประวัติที่เคยเล่ากันมาแต่ในอดีตนั้น จะมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกกันว่า "ภูน้ำรอด" ที่วัดพระธาตุเชิงชุมนั้น ข้อสันนิษฐานก็คือ เดิมนั้นวัดพระธาตุเชิงชุมก็คือ อโรคยาศาลา(ของขอมที่สร้างในยุคนสมัยพระเจ้าชัยวรมัน)นั่นเองเพราะแดนดินถิ่นนี้ (สกลนคร)คาดว่าอารยธรรมขอมรวมทั้งอิทธพลขอมเรืองอำนาจมาก ดังจะปรากฏจากสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น พระธาตุนารายณ์เจงเวง พระธาตุภูเพ็ก พระธาตุดุม สะพานขอม ปราสาทขอมบ้านพันนา(สว่างแดนดิน) ล้วนแล้วแต่เป็นอารยธรรมขอมทั้งสิ้น "ภูน้ำรอด" ก็คือบ่อน้ำที่มีอุโมงค์น้ำส่งน้ำมาจาก "สระพังทอง" นั่นเอง มีเรื่องเล่ากันว่า เมื่อประชาชนมาตักน้ำที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์นี้หากว่า คุถังตกลงไปแล้วให้ไปเก็บที่ "สระพังทอง" นั่นน่าจะมีส่วนจริง เพราะระหว่างบ่อน้ำภูน้ำรอดนี้มีอุโมงค์ส่งน้ำมาจาก บาราย "สระพังทอง"

ระบบส่งน้ำแบบนี้มีทั่วไปที่อิสานใต้ บริเวณรอบๆ ปราสาทเมืองต่ำ (จังหวัดบุรีรัมย์) จะมีสระน้ำ(บาราย)ขนาดใกล้เคียงกันมากกับ "สระพังทอง" แห่งนี้ คลองส่งน้ำหรืออุโมงค์ส่งน้ำนี้ เขมรเรียกว่า "ละลม" ความจริงตัวปราสาทขอมในจังหวัดสกลนครนั้นมีมากมาย แต่ในอดีตไม่มีใครทราบว่าคืออะไร จึงมีการทำลายและรื้อไป เช่นที่ คุ้มกลางพระศรีธงชัย มีหลักฐานชัดเจนว่าเคยเป็น อโรคยาศาลา หรือ ธรรมศาลามาก่อน โดยสังเกตจากก้อนหินศิลาแลง ที่ยังวางทิ้งระเกะระกะพอมีให้เห็นอยู่บ้าง แต่สันนิษฐานว่าใช่อย่างแน่นอน รวมทั้งในวัดพระธาตุเชิงชุมเอง ในอดีตจะมีหินศิลาแลง วางรอบๆตัวองค์พระธาตุ ปัจจุบันได้ถูกรื้อไปวางและเก็บไว้หน้ากุฏิ พระอาจารย์สมศักดิ์ฯ ในวัดพระธาตุเชิงชุมนั่นเอง