สมเด็จพระราชินีนาถทามาร์แห่งจอร์เจีย

สมเด็จพระราชินีนาถทามาร์มหาราชินีแห่งจอร์เจีย (จอร์เจีย: თამარ მეფე, อักษรโรมัน: tamar mepe, tamar mepe "กษัตริย์ทามาร์") (ราว ค.ศ. 1160 - 18 มกราคม ค.ศ. 1213) ทรงเป็นสมเด็จพระราชินีนาถผู้ครองราชย์ในฐานะพระมหากษัตริย์แห่งจอร์เจียตั้งแต่ค.ศ. 1184 ถึง ค.ศ. 1213 พระนางครองราชย์ในช่วงที่จุดรุ่งเรืองสูงสุดของยุคทองจอร์เจีย[2] พระนางทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์บากราตีออนี พระอิสริยยศของพระนางเป็นสตรีคนแรกที่ได้ปกครองจอร์เจียด้วยสิทธิของพระนางเองทำให้ทรงได้รับการเน้นในฐานะ "เมเป" (mepe; "กษัตริย์") ซึ่งปรากฏตามหลักฐานในยุคกลางที่กล่าวถึง "พระนางทามาร์"[3]

สมเด็จพระราชินีนาถทามาร์มหาราชินี
ภาพเฟรสโกของสมเด็จพระราชินีนาถทามาร์ ณ โบสถ์ดอร์มิชัน ในวาร์ดเซีย
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งจอร์เจีย
ครองราชย์27 มีนาคม ค.ศ. 1184 – 18 มกราคม ค.ศ. 1213[1]
(28 ปี 297 วัน)
ก่อนหน้ากีออร์กีที่ 3
ถัดไปกีออร์กีที่ 4
ประสูติราวค.ศ. 1160
สวรรคต18 มกราคม ค.ศ. 1213(1213-01-18) (53 ปี)
ปราสาทอาการานี
คู่อภิเษกเจ้าชายยูรี โบกอลยูปสกี
(แต่ง 1185; หย่า 1187)
เจ้าชายดาวิท ซอสลาน
(แต่ง 1191; ตาย 1207)
พระราชบุตรพระเจ้ากีออร์กีที่ 4 แห่งจอร์เจีย
สมเด็จพระราชินีนาถรูซูดานแห่งจอร์เจีย
ราชวงศ์บากราตีออนี
พระราชบิดาพระเจ้ากีออร์กีที่ 3 แห่งจอร์เจีย
พระราชมารดาเจ้าหญิงบูร์ดุกคานแห่งอลาเนีย
ศาสนาศาสนาคริสต์ออร์ทอดอกซ์จอร์เจีย
ลายพระอภิไธย

เจ้าหญิงทามาร์ได้รับการประกาศเป็นรัชทายาทและเป็นผู้สำเร็จราชการร่วมในรัชกาลของพระเจ้ากีออร์กีที่ 3 แห่งจอร์เจีย พระราชบิดา ในค.ศ. 1178 แต่พระนางต้องเผชิญกับแรงต่อต้านจากขุนนางที่คัดค้านการขึ้นครองอำนาจเต็มรูปแบบของพระนางหลังการสวรรคตของพระราชบิดา สมเด็จพระราชินีนาถทามาร์ประสบความสำเร็จในการลบล้างความขัดแย้งนี้และทรงเริ่มต้นนโยบายต่างประเทศที่ทรงพลังโดยได้รับความช่วยเหลือจากความเสื่อมโทรมของจักรวรรดิเซลจุค พระนางทรงต่อยอดความสำเร็จจากพระมหากษัตริย์พระองค์ก่อนหน้าคือ การพึ่งพาชนชั้นนำทางทหารที่ทรงอำนาจในการกระชับอำนาจจักรวรรดิให้ครอบงำเทือกเขาคอเคซัส จนกระทั่งล่มสลายในสองทศวรรษให้หลัง หลังการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถทามาร์ ซึ่งถูกโจมตีโดยจักรวรรดิมองโกล[4]

สมเด็จพระราชินีนาถทามาร์อภิเษกสมรสสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงค.ศ. 1185 ถึง 1187 เสกสมรสกับเจ้าชายจากรัส คือ เจ้าชายยูรี โบกอลยูปสกี ซึ่งต่อมาได้เป็นกษัตริย์พระราชสวามี เวลาถัดมา พระนางทรงหย่าร้างและเนรเทศเจ้าชายออกจากอาณาจักร เนื่องจากพระองค์ทรงพยายามก่อการรัฐประหารพระนาง พระราชสวามีพระองค์ที่สองเป็นบุคคลที่ทรงเลือกเองในค.ศ. 1191 คือ เจ้าชายจากอลาเนีย ชื่อ ดาวิท ซอสลาน ทั้งสองพระองค์มีพระโอรสธิดา 2 พระองค์ ได้แก่ เจ้าชายกีออร์กีและเจ้าหญิงรูซูดาน ซึ่งทั้งสองได้ครองราชบัลลังก์จอร์เจียสืบต่อมา[5][4]

รัชกาลของสมเด็จพระราชินีนาถทามาร์เป็นช่วงเวลาของความสำเร็จทางการเมือง การทหารและวัฒนธรรม ประกอบกับบทบาทของพระนางในฐานะประมุขสตรี ทำให้ทรงมีสถานะเป็นบุคคลในอุดมคติและถูกทำให้เป็นเรื่องยวนใจในศิลปะจอร์เจียและความทรงจำทางประวัติศาสตร์ พระนางยังคงเป็นสัญลักษณ์สำคัญในวัฒนธรรมประชานิยมจอร์เจีย

อ้างอิง แก้

เชิงอรรถ แก้

  1. Pennington, Reina; Higham, Robin D.S. (2003). Amazons to Fighter Pilots: A Biographical Dictionary of Military Women. Vol. 2. Greenwood Press. p. 428. ISBN 0-313-32708-4. สืบค้นเมื่อ 17 January 2018.
  2. Rapp 2003, p. 338.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Eastmond-109
  4. 4.0 4.1 Allen 1971, p. 104.
  5. Toumanoff 1966, "Armenia and Georgia", p. 623.

แหล่งที่มา แก้

เว็บไซต์อ้างอิง แก้

ก่อนหน้า สมเด็จพระราชินีนาถทามาร์แห่งจอร์เจีย ถัดไป
พระเจ้ากีออร์กีที่ 3    
สมเด็จพระราชินีนาถแห่งจอร์เจีย
ร่วมกับ
กษัตริย์กีออร์กีที่ 3
(1178-1184)
กษัตริย์กีออร์กีที่ 4
(1207-1213)

(ค.ศ. 1178 - ค.ศ. 1213)
  พระเจ้ากีออร์กีที่ 4