สมิทธิ เพียรเลิศ

สมิทธิ เพียรเลิศ เป็นนักธุรกิจสายสื่อ ผู้จัดคอนเสิร์ต ศิลปิน นักแต่งเพลง นักจัดรายการวิทยุชาวไทย ปัจจุบันเป็นผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทเดอะเวรี่คอมพานี (The Very Company) โดยก่อนหน้านั้นเคยเป็นเจ้าของและกรรมการผู้จัดการสถานีโทรทัศน์ดนตรีสองช่องคือ เอ็มทีวีไทยแลนด์และแชนแนลวีไทยแลนด์ ปัจจุบันบริหารและดูแลช่องทรู มิวสิค ช่องทรูวิชั่น 357

สมิทธิ เพียรเลิศ
การศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
ระดับมัธยมจากโรงเรียนเชอร์บอร์น
มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน
มหาวิทยาลัยแห่งอังกฤษ
อาชีพนักธุรกิจ, ศิลปิน, นักแต่งเพลง, นักจัดรายการวิทยุ
องค์การแชนแนลวีไทยแลนด์,เอ็มทีวีไทยแลนด์,วีเอชวัน, เวรี่ทีวี, เดอะเวรี่คอมพานี

ประวัติและการศึกษา แก้

สมิทธิเป็นบุตรของอิทธิวัฒน์ เพียรเลิศ และฐมพร เพียรเลิศ จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ระดับมัธยมจากโรงเรียนเชอร์บอร์น (Sherborne School) ประเทศอังกฤษ ศึกษาต่อระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (University College London) ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 และจบปริญญาโททางด้านผลิตสื่อ จากมหาวิทยาลัยแห่งอังกฤษ (University of England)[1]

การงาน แก้

หลังศึกษาจบได้เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปแชนแนลวีไทยแลนด์ ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ดนตรี มีวีเจอย่าง ณัฐฐาวีรนุช ทองมี, วิริฒิพา ภักดีประสงค์ และพอลล่า เทเลอร์[2][3] โดยในปีแรกทำให้ผลประกอบการโตขึ้นร้อยละ 20 ระหว่างนั้นยังได้ซื้อกิจการนิตยสาร ป็อปแมกกาซีน (Pop Magazine)[1] หลังจากนั้นมารับตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปสถานีโทรทัศน์ดนตรีเอ็มทีวีไทยแลนด์ เครือข่ายของเอ็มทีวีในประเทศไทย มีวีเจอย่าง การณิก ทองเปี่ยม และภูมิใจ ตั้งสง่า[4] และมีช่องลูกคือ วีเอชวันไทยแลนด์ที่เป็นช่องเพลงสากล ในระหว่างทำงานที่แชนแนลวีไทยแลนด์และเอ็มทีวีไทยแลนด์ จัดคอนเสิร์ตเพลงสากล อาทิ สลิปน็อต, อลิเชีย คีส์ และตาฮีตีเอตี เป็นต้น[5]

จากนั้นในปี พ.ศ. 2554 เปิดช่องเวรี่ทีวีเป็นของตัวเองทางทรูวิชั่นส์ และเผยแพร่เนื้อหารายการผ่านทางอินเทอร์เน็ตด้วยการทำสตรีมมิงวิดีโอ บางรายงานเผยแพร่ทางยูทูบ[6] ซึ่งมีรายการวีอาร์โซที่สมิทธิเป็นคนดูแล ก่อนวีอาร์โซจะกลายเป็นผู้ผลิตรายการออนไลน์[5] และเริ่มหันมาผลิตรายการออนไลน์เอง เผยแพร่ทางยูทูบนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554[7] อย่างรายการ เดอะบอยซ์สตรีตแมจิก (The Boyz Street Magic)[8] ภายหลังเวรี่เริ่มจัดคอนเสิร์ตแรก คือ เลียม แกลลาเกอร์ และคอนเสิร์ตอื่น ๆ อย่าง ฟอสเตอร์เดอะพีเพิล บริงมีเดอะฮอไรซัน นัททิงบัตทีฟส์ บอยพาโบล บลอสซัมส์ เลนี แดเนียล ซีซาร์[9] รวมถึงผลิตรายการออนไลน์ เดอะเวรี่โชว์ (The Very Show) และทำวิทยุออนไลน์ เวรี่เรดิโอ (Very Radio)[7] ในปี พ.ศ. 2558 เริ่มต้นมีผลงานเพลงชิ้นแรกจากการแต่งเนื้อร้องเพลง "ฉันรักเธออยู่ (เหมือนเดิมทุกอย่าง)" และในปี พ.ศ. 2563 ได้ออกผลงานเดี่ยว "บางสิ่งในใจ"

ผลงาน แก้

ผลิตรายการโทรทัศน์ แก้

สมิทธิเป็นผู้ผลิตรายการทางสถานีแชนแนลวีไทยแลนด์ เอ็มทีวีไทยแลนด์ และเวรี่ทีวี รวมถึง

  • เดอะบอยซ์สตรีตแมจิก (The Boyz Street Magic)
  • เดอะเวรี่โชว์ (The Very Show)

เพลง แก้

  • "ฉันรักเธออยู่ (เหมือนเดิมทุกอย่าง)" (พ.ศ. 2558) โดย ฝ้าย อาภาภัทร (ประพันธ์เพลงและผลิตเพลง)
  • "บางสิ่งในใจ" (พ.ศ. 2563) โดย สมิทธิ (ประพันธ์เพลงและผลิตเพลง)

จัดคอนเสิร์ต แก้

  • Slipknot Live in Bangkok (พ.ศ. 2547)
  • Alicia Keys Live in Bangkok (พ.ศ. 2547)
  • Liam Gallagher Live in Bangkok (พ.ศ. 2561)
  • Foster the people Live in Bangkok (พ.ศ. 2561)
  • Lany Live in Bangkok (พ.ศ. 2561)
  • Nothing But Thieves Live In Bangkok (พ.ศ. 2561)
  • VERY LIVE Boy Pablo&Phum Viphurit (พ.ศ. 2561)
  • Blossoms Live in Bangkok (พ.ศ. 2561)
  • Sticky Fingers Live in Bangkok (พ.ศ. 2562)
  • Last Dinosaurs Live in Bangkok (พ.ศ. 2562)
  • Daniel Caesar Live in Bangkok (พ.ศ. 2562)
  • Snow Patrol Live in Bangkok (พ.ศ. 2562)
  • Bring Me the horizon Live in Bangkok (พ.ศ. 2562)
  • Pale Waves Live in Bangkok (พ.ศ. 2562)
  • The Maria Live in Bangkok (พ.ศ. 2562)
  • Boy Pablo Live in Bangkok (พ.ศ. 2562)
  • Parcels DJ Set (พ.ศ. 2562)
  • Noel Gallagher Live in Bangkok (พ.ศ. 2562)
  • Jeff Bernat Live in Bangkok (พ.ศ. 2563)

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "สมิทธิ เพียรเลิศ Success is all around". โพซิชันนิงแมก. 25 สิงหาคม 2547. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "สมิทธิ เพียรเลิศ : When product consume producer". ไฮคลาสโซไซตี. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "BNT ฝ่าคลื่น". โพซิชันนิงแมก. 11 มกราคม 2561.
  4. "สมิทธิ เพียรเลิศ จาก ชาแนลวี สู่ เอ็มทีวี". โพซิชันนิงแมก. 5 พฤษภาคม 2549. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 ณัฐนันท์ เฉลิมพนัส (11 มกราคม 2561). "อุ่นเครื่องให้ร้อนกับสมิทธิ เพียรเลิศ คนที่พา Liam Gallagher และ Foster The People มาระเบิดความมันที่เมืองไทย". เดอะสแตนดาร์ด.
  6. กนกพล สุธีธร. "การบริหารงานการผลิตรายการโทรทัศน์ พฤติกรรมการรับชม การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจของช่องรายการเพลง กรณีศึกษา เวรี่ ทีวี (Very TV)" (PDF). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
  7. 7.0 7.1 "พูดคุยกับ อู สมิทธิ เพียรเลิศ ผู้บริหาร Very Company กับการเป็นผู้จัดงานคอนเสิร์ต". กีตาร์แม็ก. 9 ตุลาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-31. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. ""บอย"สตรีท เมจิกคนดูทะลัก". ไทยรัฐออนไลน์. 12 กันยายน 2556. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. ณัฐวุฒิ แสงชูวงษ์ (16 กุมภาพันธ์ 2561). "สมิทธิ เพียรเลิศ ผู้จัดสามคอนเสิร์ตแรกให้บัตร Sold Out ได้". จีคิวไทยแลนด์. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2563. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)