สมาคมการแพทย์อเมริกัน

สมาคมการแพทย์อเมริกัน (อังกฤษ: American Medical Association; AMA) เป็นสมาคมซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 1847 และขึ้นทะเบียนตามกฎหมายเมื่อปี 1897[3] โดยเป็นสมาคมและล็อบบีกรุ๊ปของแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัญอเมริกา ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นนักศึกษาแพทย์, แพทย์ทั้งผู้ได้รับวุฒิแพทยศาสตร์บัณฑิต (MD) และ วุฒิบัตรแพทย์ออสทีโอพาธิก (DO) ในสหรัฐ[4]

สมาคมการแพทย์อเมริกัน
ก่อตั้ง7 พฤษภาคม 1847; 177 ปีก่อน (1847-05-07)
ประเภทสมาคมวิชาชีพ
วัตถุประสงค์"สนับสนุนศาสตร์และศิลป์แห่งการแพทย์และการพัฒนาสาธารณสุข"
สํานักงานใหญ่330 North Wabash, ชิคาโก, รัฐอิลลินอย, สหรัฐอเมริกา
ที่ตั้ง
  • สหรัฐ
สมาชิก
240,359 (ปี 2016)[1]
ภาษาทางการ
ภาษาอังกฤษ
ประธาน
พญ. ซูซาน อาร์. ไบเลย์[2]
เว็บไซต์https://www.ama-assn.org/

เอเอ็มเอมีเป้าหมายเพื่อ "สนับสนุนศาสตร์และศิลป์แห่งการแพทย์และการพัฒนาของสาธารณสุข"[5] และเป็นผู้ตีพิมพ์วารสาร JAMA[6] รวมถึงรายการประมวลหลักเกณฑ์แพทย์เฉพาะทางซึ่งเป็นหลักมาตรฐานของสหรัฐในการระบุสาขาเฉพาะทางเวชปฏิบัติของแพทย์

เอเอ็มเออยู่ภายใต้การปกครองของสภาผู้แทนรัฐ (House of Delegates)[7] as well as a board of trustees in addition to executive management.[8] และมีหน้าที่ดูแลหลักจริยธรรมแพทย์เอเอ็มเอ (AMA Code of Medical Ethics) ซึ่งเป็นหลักมาตรฐานของการปฏิบัติของแพทย์ และ มาสเตอร์ไฟล์แพทย์เอเอ็มเอ ซึ่งเป็นที่เก็บข้อมูลแพทย์ในสหรัฐ[9]

ประธานสมาคมคนปัจจุบันนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2020 คือ พญ. ซูซาน อาร์. ไบเลย์ (Susan R. Bailey) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอาการแพ้และอิมมูนโนวิทยา จากรัฐเท็กซัส เธอเป็นแพทย์หญิงคนที่สามติดต่อกันเป็นครั้งแรกที่ดำรงตำแหน่งประธานสมาคมเอเอ็มเอ[10]

อ้างอิง

แก้
  1. "AMA Annual Report". American Medical Association. สืบค้นเมื่อ 20 May 2019.
  2. "Susan R. Bailey, M.D., inaugurated as 175th president of the AMA". American Medical Association. สืบค้นเมื่อ 9 June 2020.
  3. "AMA (AMA History) 1847 to 1899". American Medical Association. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 February 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16.
  4. Pollack, Andrew (2013-06-18). "AMA Recognizes Obesity as a Disease". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2013-07-21.
  5. "About the American Medical Association - AMA". Ama-assn.org. สืบค้นเมื่อ 19 April 2018.
  6. "About JAMA: JAMA website". Jama.ama-assn.org. สืบค้นเมื่อ 19 April 2018.
  7. "House of Delegates". American Medical Association.
  8. Barr, Donald A. (March 12, 2010). Questioning the Premedical Paradigm: Enhancing Diversity in the Medical Profession a Century after the Flexner Report. Baltimore: Johns Hopkins University Press. ISBN 9780801898402.
  9. E. Pamuk (1999). Health United States 1998: With Socioeconomic Status and Health Chart Book.
  10. "PHOTO: Historic first, AMA to have three consecutive female presidents". American Medical Association (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-06-21.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้