สภาชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐรัสเซีย

สภาชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐรัสเซีย (รัสเซีย: Временный совет Российской республики) หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า รัฐสภาก่อนกาล (รัสเซีย: Предпарламент) เป็นสภานิติบัญญัติที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1917 ในสาธารณรัฐรัสเซียหลังจากความพยายามรัฐประหารของนายพลคอร์นีลอฟ โดยมีจุดประสงค์ในการบรรเทาความล่าช้าของการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญรัสเซีย[1] ด้วยการอาศัยประโยชน์จากฝ่ายอนุรักษนิยมกับนักสังคมนิยมสายกลางเพื่อบ่อนทำลายอำนาจของสภาโซเวียต พร้อมทั้งดึงการสนับสนุนให้กับอะเลคซันดร์ เคเรนสกี ผู้เป็นนายกรัฐมนตรี สภาชั่วคราวถูกยุบลงในช่วงการปฏิวัติเดือนตุลาคม

สภาชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐรัสเซีย

Временный совет Российской республики  (รัสเซีย)
สภานิติบัญญัติในสาธารณรัฐรัสเซีย
ประเภท
ประเภท
สภาเดี่ยว
ประวัติ
สถาปนาค.ศ. 1917
ยุบค.ศ. 1917
ก่อนหน้าสภาดูมา
ถัดมาสภาร่างรัฐธรรมนูญรัสเซีย
สมาชิก313 คน
ที่ประชุม
พระราชวังตัฟรีเชสกี เปโตรกราด

รัฐสภาก่อนกาลจัดตั้งขึ้นจากความปรารถนาของนักสังคมนิยมสายกลางซึ่งประชาชนให้การสนับสนุนน้อยลงเรื่อย ๆ การจัดตั้งสภาชั่วคราวนี้มีเป้าหมายในการแย่งชิงอำนาจไปจากสภาโซเวียตที่อยู่ในการควบคุมของนักสังคมนิยมหัวรุนแรง ตลอดจนทำหน้าที่กำกับดูแลและสนับสนุนรัฐบาลชุดใหม่ที่จัดตั้งขึ้นภายหลังรัฐประหารล้มเหลวของคอร์นีลอฟ ในขณะที่เคเรนสกีมีอำนาจเต็มในรัฐบาลชุดใหม่

ในช่วงเวลาสั้น ๆ ของคณะรัฐมนตรีผสมสุดท้ายก่อนการปฏิวัติเดือนตุลาคม รัฐสภาก่อนกาลไม่สามารถให้การสนับสนุนรัฐบาลชั่วคราวหรืออนุมัติมาตรการเพื่อหยุดการยึดอํานาจที่ใกล้เข้ามาของพรรคบอลเชวิคได้ ในที่สุดจึงมีการยุบสภาโดยนายทหารและทหารเรือที่สนับสนุนบอลเชวิคในระหว่างการจลาจล หลังจากพยายามอย่างไร้ผลที่จะกําหนดการปฏิรูปฉุกเฉินให้กับเคเรนสกีในช่วงแรกของการปฏิวัติบอลเชวิค

อ้างอิง

แก้
  1. Figes 1998, p. 467.

บรรณานุกรม

แก้