สนามกีฬาสรทาร วัลลภภาอี ปเฏล (อะห์มดาบาด)

สนามกีฬาสรทาร วัลลภภาอี ปเฏล (อังกฤษ: Sardar Vallabhbhai Patel Stadium) เป็นสนามกีฬาในย่านนวรงคปุระ ในนครอะห์มดาบาด รัฐคุชราต ประเทศอินเดีย เป็นที่จัดการแบ่งขันวันเดย์อินเทอร์เนชั่นนาลครั้งแรกในอินเดีย สนามกีฬาเป็นขององค์การเทศบาลอะห์มดาบาด และใช้งานสำหรับการแข่งกีฬาคริกเก็ตเป็นหลัก

สนามกีฬาสรทาร วัลลภภาอี ปเฏล
สนามกีฬานวรงคปุระ
แผนที่
ที่อยู่ประเทศอินเดีย
ที่ตั้งนวรงคปุระ อะห์มดาบาด
เจ้าขององค์การเทศบาลอะห์มดาบาด
ผู้ดำเนินการองค์การคริกเก็ตคุชราต
ความจุ50,000
การก่อสร้าง
สถาปนิกชาลส์ คอรเรีย
การใช้งาน
ทีมคริกเก็ตคุชราต
รัฐบาลรัฐคุชราต

ประวัติศาสตร์ แก้

ในต้นทศวรรษ 1950s แคว้นบอมเบย์ได้มอบที่ดินมูลค่า 67,000 ตารางเมตร (80,000 ตารางหลา) ให้กับสโมสรคริกเก็ตอะห์มดาบาด เพื่อใช้สร้างบ้านสโมสรและสนามแข่ง สโมสรคริกเก็ตได้ส่งมอบงานนี้ต่อยังองค์การเทศบาลอะห์มดาบาด (AMC)[1] เศฐ จินุภาอี จุมันภาอี (Sheth Chinubhai Chimanbhai) ผู้นำอุตสาหกรรมและนายกเทศบาลอะห์มดาบาดในเวลานั้น ได้ว่าจ้างชาลส์ คอเรีย เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบสนามกีฬาและอาคารสโมสร โดยมีวิศวกรโครงสร้าง มเหนทร ราช (Mahendra Raj) เป็นวิศวกรที่ปรึกษาโครงการ[2]

การก่อสร้างเริ่มต้นในปี 1959 แต่เนื่องด้วยปัญหาทางการเงิน สนามกีฬาก่อสร้างเสร็จเพียงบางส่วนในปี 1966 โดยมีหลังคาคลุมแค่ศาลาฝั่งใต้ ต่อมาสแตนด์โดยรอบสนามกีฬาจึงสร้างแล้วเสร็จภายในทศวรรษ 1980s[2][3]

สนามกีฬานี้จัดวันเดย์อินเทอร์เนชั่นนาล (ODI) ครั้งแรกที่แข่งในประเทศอินเดียในปี 1981[3] ซึ่งอินเดีย แข่งกับ อังกฤษ[4][2]

กระทั่งสนามกีฬาโมเตราเริ่มสร้างที่โมเตราในปี 1982 สนามกีฬาสรทาร วัลลภาอี ปเฏล ก็ไม่ได้ถูกใช้งานสำหรับการแข่งขันกีฬาคริกเก็ตนานาชาติอีก การแข่ง ODI ทั้งหมดและการแข่งเทสต์ของเมืองถูกย้ายไปตัดที่โมเตราทั้งหมด สนามกีฬาโมเตราสร้างขึ้นใหม่ในปี 2020 และเปลี่ยนชื่อเป็นสนามกีฬานเรนทร โมที[5]

สถาปัตยกรรม แก้

สนามกีฬานี้มีขนาดพื้นที่ 67,000 ตารางเมตร และใช้รูปแบบโครงสร้างพับอย่างซับซ้อน (complex folded plate structural system) ถือเป็นอาคารแรกในอินเดียที่ใช้ระบบนี้ในการก่อสร้าง คานรับน้ำหนักหลังคารูปเพลตพับ (folded plate cantilever roof) เหนือศาลามีความกว้าง 20 เมตร ยาว 326 ฟุต ทำมาจากคอนกรีตเสริมเหล็กและถือว่ามีความยาวคานมากที่สุดในโลกในตอนปี 1963 ภายนอกเป็นโครงคอนกรีตรูปเรขาคณิต ซึ่งช่วยให้มีพื้นที่เปิดภายใต้ที่นั่งของผู้ชมในสนาม[2][6]

สนามกีฬานี้มีความจุที่นั่งอยู่ที่ 40,000 ถึง 50,000 คน[2][7] รวมถึงมีไฟส่องสว่างทั้งกลางวันและกลางคืน

อ้างอิง แก้

  1. "GlORIOUS PAST – Sports Club" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-10-16.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 Sharma, Ritu (2023-10-08). "Know Your City: Built by Charles Correa, Ahmedabad's iconic Sardar Vallabhbhai Patel Stadium boasts of many firsts". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-10-16.
  3. 3.0 3.1 Trivedi, Tushar (2023-09-23). "Though Many Matches Were Played In The City, It Lacked A Good Stadium; As A Result The AMC In 1960-61 Planned To Built Its Own Stadium In Navrangpura". Ahmedabad Mirror (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-10-16.
  4. "Scorecard". Cricinfo.
  5. "Modern Marvel: World's largest stadium". YouTube. History TV18. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 October 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-08-28.
  6. "Ahmedabad: To revamp or raze, that's the only question for SVP stadium". The Times of India. 2023-08-25. ISSN 0971-8257. สืบค้นเมื่อ 2023-10-16.
  7. sportsclub[ลิงก์เสีย]