วิกิพีเดีย:ปัญหายูอาร์แอลภาษาไทย
การพิมพ์ URL ที่มีชื่อบทความเป็นภาษาไทยแก้ไข
หากคุณมีปัญหาจากการคลิกที่ลิงก์ภาษาไทยจากเว็บอื่น แล้วไม่เจอบทความ หรือมีปัญหาในการพิมพ์ URL ที่มีชื่อบทความเป็นภาษาไทยนั้น อาจเป็นเพราะว่าเว็บเบราว์เซอร์ที่คุณใช้อยู่ไม่รองรับ URL ในรูปแบบยูนิโคด โดยจะแปลเป็นภาษาละตินแทน จึงทำให้มีปัญหาในการพิมพ์เว็บไซต์และใส่ชื่อบทความเป็นภาษาไทย เช่นหากพิมพ์ http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาไทย นั้นจะไม่ไปหน้าภาษาไทยอย่างที่ควรจะเป็น.
วิธีแก้สำหรับไฟร์ฟอกซ์แก้ไข
- พิมพ์
about:config
ในช่อง URL - ในช่อง Filter: ให้พิมพ์
network.standard-url
- ตั้งค่า network.standard-url.encode-utf8 เป็น true โดยคลิกขวาแล้วเลือก Toggle หรือดับเบิลคลิกที่รายการดังกล่าว
- ทดสอบด้วยการคัดลอก URL ดังนี้ไปเปิดในไฟร์ฟอกซ์: http://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาไทย
- หากไฟร์ฟอกซ์สามารถเปิดหน้าบทความภาษาไทย แสดงว่าได้รับการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว
หมายเหตุแก้ไข
ถึงแม้ว่าการแก้ไขที่กล่าวมาด้านบน จะทำให้สามารถเรียกดูเว็บด้วย URL ภาษาไทยได้ แต่เมื่อเข้าไปที่หน้าเว็บสำเร็จแล้ว URL ในช่อง URL ก็จะกลับเป็น URL ที่ถูกเข้ารหัสอยู่ดี (ไม่ได้เป็นภาษาไทยเหมือนที่พิมพ์เข้าไป) เช่น
จะถูกแปลงเป็น
ดูเพิ่มแก้ไข
แหล่งข้อมูลอื่นแก้ไข
การคัดลอก URL ที่มีชื่อบทความเป็นภาษาไทยแก้ไข
วิธีคัดลอก URL ที่มีชื่อบทความเป็นภาษาไทย จาก location bar ของ Mozilla Firefox หรือ Google Chrome โดยไม่ให้มีการ encode เป็น %XX%XX ยาวๆ ให้ทำดังนี้, ในช่อง location bar ของ web browser ให้เคาะ space ท้าย URL หนึ่งครั้งก่อนคัดลอกออกมา. จากเดิมที่ URL ที่คัดลอกมาจะมีการ encode ยาวๆ เช่น,
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2
ก็จะกลายเป็นภาษาไทยแบบสั้นๆ ดังนี้,
https://th.wikipedia.org/wiki/ภาษาไทย
หมายเหตุ:
- สาเหตุที่สามารถใช้วิธีข้างต้นได้ เนื่องจาก Firefox จะไม่ encode URL ใน location bar ถ้าหาก URL ใน location bar นั้นถูกแก้ไขและยังไม่ได้มีการเคาะ enter.
- สำหรับ Firefox version 53 ขึ้นไป นอกเหนือจากวิธีข้างต้นแล้ว ยังสามารถแก้ไขด้วยการตั้งค่า browser.urlbar.decodeURLsOnCopy เป็น true ใน about:config[1]
- Internet Explorer หรือ Microsoft Edge ไม่จำเป็นต้องทำสิ่งใดเพิ่มเติม เนื่องจากไม่มีการ encode อยู่แล้ว.