วิกิพีเดีย:เสนอบทความคุณภาพ/โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่

โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ แก้

  1. ปิดการเสนอว่าผ่านได้เมื่อผ่านเกณฑ์ทุกข้อ (อาจรอข้อเสนอแนะเพิ่มอีกเล็กน้อย)
  2. ระยะเวลาการปรับปรุงแล้วแต่ผู้เขียนกับผู้ทบทวนหลักตกลงกัน
  3. หากไม่มีการตอบสนองเพียงพอโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใน 7 วันให้ปิดอภิปรายเป็นไม่ผ่าน
  4. ผู้ใช้มีบัญชีทุกคนร่วมเสนอแนะและทบทวนได้ ผู้ทบทวนหลักขอให้ทำความเข้าใจเกณฑ์ให้ดี
  5. ผู้เขียนหลักไม่ควรทบทวนงานของตนเอง ผู้เสนอแนะอาจช่วยแก้ไขได้แต่ไม่ควรมากเกินไป
เสนอชื่อโดย Pakorn Wongaroon (คุย)

รายการตรวจ แก้

เกณฑ์บทความคุณภาพ ผลการประเมิน
1ก) เนื้อหาเป็นสารานุกรม   ไม่สำเร็จ
1ข) ภาษาและโครงสร้าง   ไม่สำเร็จ
1ค) ลำดับ   ไม่สำเร็จ
1ง) ศัพท์เฉพาะวงการ   ไม่สำเร็จ
1จ) คู่มือการเขียน   ไม่สำเร็จ
1ฉ) เนื้อหาสมบูรณ์   ไม่สำเร็จ
2ก) แหล่งอ้างอิงครบ   ไม่สำเร็จ
2ข) ไม่เป็นงานต้นฉบับ   ไม่สำเร็จ
3ก) เล่าแง่มุมหลัก   ไม่สำเร็จ
3ข) ไม่นอกประเด็น   ไม่สำเร็จ
4) เป็นกลาง   ไม่สำเร็จ
5) เสถียรภาพ   ไม่สำเร็จ
6) ภาพ (ถ้ามี)   ไม่สำเร็จ

ผู้ทบทวนหลัก: (ลงชื่อผู้ทบทวนหลักที่นี่)

เสนอแนะการปรับปรุง แก้

  1. ไม่ควรมีลิงก์จากเฟสบุ๊ก 180.183.177.32 16:32, 19 เมษายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
    หากข่าวสาร หรือหลักฐานต่าง ๆ มาจากเฟสบุ๊กของโรงเรียน ต้องทำอย่างไรครับ Pakorn Wongaroon (คุย) 13:21, 20 เมษายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
  2. ความเห็นของ 2001:FB1:C8:5655:80BD:4A22:A0F:3830 13:50, 20 เมษายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
    1. ภาพมีปัญหาลิขสิทธิ์ เชื่อว่าผู้อัปโหลดซึ่งเป็นบุคคลเดียวกับผู้ปรับปรุงบทความหลักไม่มีลิขสิทธิ์ในภาพและไม่มีอำนาจที่จะให้ลิขสิทธิ์ในภาพได้ เป็นต้นว่าภาพโลโก้ ภาพ MOU และภาพกิจกรรม (ซึ่งระบุชัดเจนว่าบุคคลอื่นเป็นผู้ถ่าย)
    2. เข้าใจว่าหลักสูตรเป็นหลักสูตรที่ทางส่วนกลางกำหนด ดังนั้นถ้าไม่ระบุว่าโรงเรียนนี้มีลักษณะการจัดหลักสูตรที่ไม่เหมือนกับโรงเรียนอื่นอย่างไร (เช่น จัดแผนการเรียนแยกตามกลุ่มอาชีพของผู้เรียน หรือมีการเน้นหลักสูตรพิเศษ) ไม่มีความจำเป็นต้องเขียนระบุรายละเอียดหลักสูตรว่าต้องเรียนอย่างน้อยเท่าใดและมีเกณฑ์อย่างไร (ในหัวข้อถัดมาก็ระบุเองว่าโรงเรียนจัดหลักสูตรตามแกนกลาง)
    3. ไม่ควรมีลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ นอกจากเฟซบุ๊กของโรงเรียนที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา เช่น Google Drive หรือ Instagram อนึ่งแม้ว่าจะใช้ Google Drive เป็นที่เก็บข้อมูลเอกสารก็ตาม แต่หากเอกสารมีความสำคัญ ควรต้องมีการลิงก์ไปยังหน้าเว็บของโรงเรียนที่ลิงก์ไปยังเอกสารดังกล่าว มิใช่ลิงก์จากเอกสารดังกล่าวโดยตรง เพื่อให้สามารถตรวจสอบกับแหล่งข้อมูลของโรงเรียนได้
    4. กิจกรรมที่ระบุควรมีความโดดเด่นเฉพาะตัวที่ต่างจากกิจกรรมที่โรงเรียนอื่นจัด และควรเป็นกิจกรรมที่โรงเรียนดังกล่าวเป็น Subject ของเรื่องโดยตรง
    5. ควรปรับปรุงการอ้างอิงโดยการระบุพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง (หัวเรื่อง, วันที่เข้าถึง) ให้ชัดเจน และหากจำเป็นต้องใช้แหล่งอ้างอิงจากหน้ากิจกรรมในเฟซบุ๊ก (ซึ่งไม่ควรใช้ ควรอ้างอิงไปที่หน้าเว็บโรงเรียน) ไม่ควรนำลิงก์ที่มี pfbid มาใช้เนื่องจากเป็นการติดตามผู้ใช้ประเภทหนึ่ง
    6. ผู้เขียนบทความหลักควรเปิดเผยให้ชัดเจนถึงความเกี่ยวข้องของตนกับโรงเรียน แม้การเปิดเผยในหน้าผู้ใช้ของผู้ใช้จะถือว่าเหมาะสมแล้ว แต่อาจยังไม่เพียงพอหากมิได้มีการระบุอย่างชัดเจนในหน้าพูดคุยเพื่อเสนอแนะการปรับปรุงหรือในคำอธิบายอย่างย่อ การไม่เปิดเผยข้อมูลในส่วนนี้อาจถือเป็นการขัดกันของผลประโยชน์ได้
    -หลักสูตรของโรงเรียน ครอบคลุมหลักสูตรของหลักสูตรแกนกลางครับ แต่มีการเพิ่มเติมในส่วนของ รายวิชาเพิ่มเติม 1 (บังคับเลือก) ซึ่งจะแบ่งตามชนิดห้อง เช่น ห้องวิทย์ ห้องคณิต ส่วนรายวิชาเพิ่มเติม 2 เป็นวิชาที่เลือกได้อย่างเสรี และมีการเรียนการสอนเพิ่มเติมในวันเสาร์ครับ (อ้างอิงมาจากบทสัมภาษณ์ผอ. คู่มือผปค. และ ผลปฏิบัติงานรร.) ซึ่งเดี๋ยวผมจะเพิ่มเติมในจุด ๆ นี้ครับ
    -เรื่องลิงก์ไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเฟสบุ๊ก) เนื่องจากแหล่งข้อมูลเก่า ๆ มักจะประชาสัมพันธ์ลงเพจ (เว็บไซต์เก่าของโรงเรียน และ อบจ กระบี่ ถูกปิดตัวลงแล้ว) แต่เดี๋ยวผมจะพยายามหาแหล่งอ้างอิงในส่วนอื่น ๆ (แหล่งอ้างอิงไปยัง Google Drive) ให้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อมโยงกับรร.โดยตรงครับ
    -ภาพที่มีปัญหาลิขสิทธิ์ เดี๋ยวผมจะลบออกครับ แต่สอบถามครับว่า ภาพที่ขออนุญาตเจ้าของภาพแล้ว สามารถใช้ได้หรือไม่ และโลโก้สภานักเรียน สามารถนำเข้ามายังบทความได้หรือไม่ ขอบคุณครับ Pakorn Wongaroon (คุย) 14:55, 20 เมษายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
    1. วิชาบังคับเลือกและวิชาเลือกเสรีไม่ถือเป็นวิชาที่มีความแตกต่างจากหลักสูตรของโรงเรียนอื่น เนื่องจากโรงเรียนอื่นก็ออกแบบหลักสูตรในลักษณะนี้เช่นกัน ห้องเรียนและหลักสูตรพิเศษที่อาจเรียกได้ว่าแตกต่างคือหลักสูตรจำพวกเดียวกับสะเต็มศึกษา หลักสูตรที่เน้นการออกแบบเพื่อรองรับสาขาวิชาเฉพาะและมีการระบุว่ามีลักษณะเฉพาะ (เตรียมทหาร, คณะเฉพาะทาง เช่น แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์) หรือหลักสูตรห้องเรียนพิเศษ (ภาษาอังกฤษ, วิทยาศาสตร์) เสียมากกว่า
    2. ถ้าเป็นภาพที่ได้สิทธิอนุญาตให้เผยแพร่แต่ผู้อัปโหลดไม่ได้เป็นผู้สร้างสรรค์เอง ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนให้สิทธิที่ระบุในขั้นตอนปฏิบัติในการให้สิทธิการใช้งานภาพ แต่ทั้งนี้โปรดพิจารณาด้วยว่าการให้สิทธิดังกล่าวมีประเด็นทางกฎหมายอยู่ด้วย และผู้ให้สิทธิต้องมีสิทธิที่จะให้ด้วย (ไม่เช่นนั้นสิทธิที่ได้มาจะไม่สมบูรณ์ ตามหลักผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน) ภาพกิจกรรมอาจขอให้ผู้ทรงสิทธิให้สิทธิได้โดยไม่ยากนัก แต่ภาพโลโก้สภานักเรียนต้องพิจารณาว่าโลโก้ดังกล่าวถือสิทธิโดยใคร (ผู้สร้างสรรค์ สภานักเรียนชุดนั้น หรือโรงเรียน) และต้องให้ผู้ทรงสิทธิดังกล่าวปฏิบัติตามขั้นตอนให้เรียบร้อยด้วย
    2001:FB1:C8:5655:80BD:4A22:A0F:3830 15:33, 20 เมษายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
    ผมได้แก้เนื้อหาในด้านกิจกรรมแล้วครับ นำหัวข้อหลักสูตรออก รวมถึงได้ลบภาพที่ติดลิขสิทธิ์ออกแล้วครับ
    แต่เรื่องแหล่งอ้างอิง ผมไม่สามารถทดแทนเฟซบุ๊กด้วยเว็บไซต์โรงเรียนได้ทั้งหมด และผมไม่สามารถนำ pfbid ออกได้เนื่องจาก ล่าสุด Facebook ได้เข้ารหัสลิงก์ไว้ครับ (หรืออาจทำได้ก็ได้ แต่ผมหาวิธีไม่เจอ) Pakorn Wongaroon (คุย) 20:24, 21 เมษายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]
    ตอนนี้ผมหาวิธีลบ pfbid ออกเรียบร้อยแล้วครับ Pakorn Wongaroon (คุย) 12:17, 27 เมษายน 2566 (+07)[ตอบกลับ]