วิกิพีเดีย:วิกิพีเดียกับวิกิตำรา

วิกิพีเดีย มีข้อแตกต่างจาก วิกิตำรา อยู่หลายข้อ เราคาดหวังให้เนื้อหาคนละประเภทอยู่ในโครงการทีเหมาะสมกับงานนั้น ๆ

ถ้าต้องการย้ายงานไปยังวิกิตำรา คลิกที่ ลิงก์นี้ พิมพ์ชื่อเรื่องที่ต้องการ แล้วคัดลอกเนื้อหาไปลง

วิกิพีเดีย วิกิตำรา
วิกิพีเดียเป็นสารานุกรม วิกิตำราคือโครงการตำรา
สารานุกรมหมายถึงเรื่องคัดย่อความรู้มนุษย์ซึ่งแบ่งเป็นหัวข้อ ตำราหรือหนังสือหมายถึงแบบเรียนหรือข้อความที่พิมพ์รวมกันเป็นเล่ม
หัวข้อของสารานุกรม: มักเป็นเรื่องโดด ๆ เกี่ยวกับคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ สิ่งนามธรรม สถานที่ ยกเว้นเรื่องที่เขียนไว้ยาวแล้วและต้องการขยายความจึงเอาหัวข้อตั้งแต่ 2 หัวข้อขึ้นไปมาเขียนรวมกัน เช่น ศาสนาพุทธในประเทศไทย (ศาสนาพุทธ + ประเทศไทย)

หัวข้อของตำราหรือหนังสือ: เปิดกว้างมากกว่า สามารถเขียนในทำนองจับความสัมพันธ์ได้ เช่น "การป้องกันโรคด้วยวิธีธรรมชาติ" (ุถ้าในวิกิพีเดียน่าจะต้องแทรกอยู่ในบทความ "โรค" หรือ "การป้องกันโรค")

รูปแบบของสารานุกรม:

  1. วางลำดับบทความตาม วิกิพีเดีย:ผัง
  2. เขียนกว้าง ๆ ไม่ใช้สรรพนามเรียกผู้อ่าน เช่น เรา หรือ คุณ
  3. เนื้อหาจะต้องอยู่เป็นหลักแหล่ง เช่น เรื่องเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ไทย สามารถสรุปคร่าว ๆ ลงในบทความ ประเทศไทย ได้ แต่เนื้อหาที่ลงลึกไป จะต้องเขียนในบทความ ภูมิศาสตร์ไทย เพื่อไม่ให้ซ้ำซ้อนกัน

รูปแบบของตำรา:

  1. ผู้เขียนมีความเป็นอิสระมากกว่าในการเลือกลีลา น้ำเสียง หรือรูปแบบการนำเสนอของตัวเอง
  2. สามารถทำเวอร์ชันใหม่ในเรื่องเดิมที่มีอยู่แล้วได้ ไม่ต้องเขียนต่อใคร
  3. สามารถแยกเป็นบทหรือส่วนย่อยในตำราหนึ่ง ๆ ได้ รวมทั้งอาจแทรกแบบฝึกหัด หรือสรุป ตามที่พบเห็นในตำราอื่น ๆ (เช่น การป้องกันโรคด้วยวิธีธรรมชาติ/บทที่ 1 และ การป้องกันโรคด้วยวิธีธรรมชาติ/แบบฝึกหัด)
  4. เขียนเนื้อหาเชิงบอกวิธีทีละขั้น ๆ (how-to) หรือสอนทักษะ (tutorial) ได้ จึงเหมาะสำหรับเนื้อหาที่ใช้ในชั้นเรียน เช่น การสอนคณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์