วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์/กุมภาพันธ์ 2554

คำถาม กุมภาพันธ์ 2554

อยากทราบปฏิกิริยาการเกิดketoneจากสารประกอบไฮโดรคาร์บอนไม่อิ่มตัวค่ะ

อยากทราบกลไกการเกิดน่ะค่ะ เขียนเป็นสมการการเกิดปฏิกิริยาได้ก็ดีค่ะ เอาแบบทั่วไปได้ก็จะดีค่ะ ไม่จำเป็นต้องระบุ หรือจะระบุเป็นสารนั้นๆเลยก็ได้(ถ้าบอกการเกิดคีโตนจากการสลายตัวของ polyethylene แล้วโดนแสงด้วยจนนำไปสู่การเกิดคีโตนได้ก็ยิ่งดีค่ะ) เอาเท่าที่ทราบก็ได้ค่ะ ถ้ามีผู้รู้ท่านใดทราบ ช่วยหน่อยนะคะ ขอบคุณสำหรับคำตอบล่วงหน้าค่ะ

--61.90.21.104 02:55, 5 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

เกิดผ่าน radical มั้งครับ เขียนกลไกให้พันธะคู่รับแสงแล้วแตกออก แล้วไปจับออกซิเจน... --taweethaも 14:49, 5 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

ลักษณะวิสัยของพืชแบ่งออกเป็น 4ประเภทคือไม้เถา / ไม้ล้มลุก / ไม้พุ่ม / ไม้ต้น แล้วอยากทราบว่

ลักษณะวิสัยของพืชแบ่งออกเป็น 4ประเภทคือไม้เถา / ไม้ล้มลุก / ไม้พุ่ม / ไม้ต้น แล้วอยากทราบว่า ปาล์มจัดอยู่ประเภทไหน --118.172.61.104 14:43, 5 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

ตามที่กำหนดให้มา คงอาจพอจัดว่าเป็นไม้ต้น --taweethaも 14:51, 5 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

น้ำมันนำไฟฟ้าไหม

วันก่อน ช่างกลึงที่สนิทกันช่วยดูรถให้ (รถผมรถเก่า ฮอนด้า ซีวิกปี 91) เขาว่า ขั้วปลั๊กสตาร์ทเตอร์ของรถยนต์ (สายไฟต่อมาจากไดชาร์จหน่ะ) มันหลวม เขาเลยแก้ไขเบื้องต้นให้

แต่เขาบอกว่า การฉีดโซแน๊ก (น้ำมันหล่อลื่นสารพัดประโยชน์)ที่ขั้วปลั๊กจะช่วยให้รถสตาร์ทง่ายขึ้น

เลยสงสัยว่ามันจะช่วยได้จริงเหรอ

ถ้าได้นี่ เพราะว่า มันนำไฟฟ้าหรือยังไงนะ ?

ส่วนการให้ฉีดที่จานจ่ายไฟอ่ะ เคยเรียนอยู่ว่า มันทำหน้าที่ช่วยไล่ความชื้น

--ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 12:54, 12 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

ข้อเท็จจริงเป็นดังนี้

  1. น้ำมันไม่นำไฟฟ้า - ถือว่าเป็นฉนวนไฟฟ้าด้วยซ้ำ ดูจากโครงสร้างเคมีได้ - คิดในทางตรงข้าม ถ้านำไฟฟ้า short-circuit กันหมดแล้วครับ หม้อแปลงระเบิดอีกต่างหาก
  2. น้ำมันช่วยป้องกันผิวโลหะจากสนิม - โดยการปกป้องผิวโลหะจากความชื้นและอากาศ - จึงไม่เกิดปฏิกิริยา oxidation (ไม่เกิดสนิมหรือไม่เกิด corrosion) ที่ผิวโลหะ
  3. ช่วยได้จริงหรือไม่ อันนี้ไม่ทราบ แต่ถ้าเอาน้ำมันไปทาปลั๊กไฟที่ใช้ตามบ้าน ไม่ก่อให้เกิดผลดีแน่นอน -- แต่ผมก็สงสัย เวลาสอบใบขับขี่ข้อสอบเฉลยว่าให้เอาจารบีอัดขั้วไฟแบตเตอรี่ ผมไม่เห็นด้วยแต่อยากผ่านก็ต้องทำตามนั้นไป น่าจะเกี่ยวข้องกับปัญหาที่คุณถามมานะครับ เพราะจารบีมันก็ไม่นำไฟฟ้าเช่นกัน

--taweethaも 05:47, 21 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

น้ำมันทั่วไปไม่นำไฟฟ้า แต่สำหรับน้ำมันโซแนกซ์คือ โมลิบดีนัมไดซัลไฟด์ (en:Molybdenum disulfide) มีคุณสมบัติเป็นสารกึ่งตัวนำ สามารถนำไฟฟ้าได้ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม --octahedron80 14:27, 24 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

กี่งตัวนำ = นำไฟฟ้าได้ไม่ดีเท่าไหร่ จึงไม่น่าจะเป็นสาเหตุที่ช่วยให้รถสตาร์ทติดง่ายนะครับ สาเหตุที่รถติดง่ายขึ้นน่าจะมาจากสรรพคุณที่เขาบรรยายไว้ดังนี้

Effective maintenance oil, infiltrates humidity and dispels water. Cures squeaking and creaking noises. Lubricates moving parts. Releases rusted screws, nuts and bolts. Prevents leakage currents in electrical circuits and acts as contact agent. Protects bare metal against wetness and corrosion.

— [1]

--taweethaも 12:25, 25 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

ทำไมถึงต้องตัดดาวพลูโตออกจากดาวเคราะห์ 8 ดวง

หนูสงสัยค่ะใครรู้ช่วยอธิบายให้หนูด้วยน่ะค่ะ

--183.88.113.99 21:25, 16 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)น้องไอซ์

อาจสรุปได้ว่า ดาวพลูโตมีลักษณะเป็น "ดาวเคราะห์แคระ" (หรือบางแหล่งข้อมูลก็อาจมองว่าเป็น "ดาวเคราะห์น้อย") มากกว่าที่จะเป็น "ดาวเคราะห์" ครับ --202.28.27.6 10:57, 17 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

นี่คือนิยมของดาวเคราะห์แคระ

  • อยู่ในวงโคจรรอบดาวฤกษ์ แต่ตัวมันเองไม่ใช่ดาวฤกษ์
  • มีมวลพอเพียงที่จะมีแรงโน้มถ่วงของตัวเอง เพื่อเอาชนะแรง rigid body forces ทำให้รูปทรงมีสมดุลไฮโดรสแตติก (เกือบเป็นทรงกลมสมบูรณ์)
  • ไม่สามารถควบคุมแรงดึงดูดและวงโคจรของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบวงโคจรของมัน
  • ไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร

และนี่คือนิยามของดาวเคราะห์ 1. เป็นดาวที่โคจรรอบดาวฤกษ์ ซึ่งในที่นี้หมายถึงดวงอาทิตย์ แต่ไม่ใช่ดาวฤกษ์ และไม่ใช่ดวงจันทร์บริวาร 2. มีมวลมากพอที่จะมีแรงโน้มถ่วงดึงดูดตัวเองให้อยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต หรือรูปร่างใกล้เคียงกับทรงกลม 3. มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดาวเคราะห์ข้างเคียง 4. มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 500 ไมล์ (804.63 กิโลเมตร)

ซึ่งดาวพลูโตไม่ผ่านข้อ 3 ครับ --Jo Shigeru 10:18, 18 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ

ระบบสุริยะ อยู่ในกาแลกซี่ใด --117.121.220.181 07:46, 18 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

Milky Way Galaxy --taweethaも 08:09, 18 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)