วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/ภาษา/กุมภาพันธ์ 2554

คำถาม กุมภาพันธ์ 2554

คำว่า patée แปลว่าอะไรในภาษาอังกฤษ

 
cross patée

คำนี้มีที่มาจากตราประจำตระกูลขุนนางยุโรป แต่ผมค้นหาความหมายของคำนี้ไม่เจอเลยในทั้งพจนานุกรมภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส --Gils 22:33, 4 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

พบแต่คำในภาษาอังกฤษว่า "cross patée" หมายความว่า กากบาทที่มุมทั้งสี่มนดั่งหอก เป็นสัญลักษณ์แทนแสงสุริยะ --Aristitleism 22:41, 4 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

ชื่อภูมิศาสตร์ในประเทศกัมพูชา

รบกวนผู้ที่ทราบภาษาเขมร ช่วยบอกวิสามานยนามของภูมิศาสตร์ในประเทศกัมพูชาดังต่อไปนี้ โดยเขียนเป็นอักษรไทย ด้วยครับ คือ

  1. river Stung Roluos
  2. river Prek Kompong Tiam
  3. basins of the Nam Sen
  4. the Nam Moun
  5. Phnom Padang chain

มันปรากฏในข้อความต่อไปนี้

“Article 1. The frontier between Siam and Cambodia starts on the left shore of the Great Lake, from the mouth of the river Stung Roluos; it follows the parallel from that point eastwards until it meets the river Prek Kompong Tiam; then, turning northwards, it lies along the meridian from that meeting point to the mountain chain of the Phnom Dangrek. From there it follows eastwards to the watershed between the basins of the Nam Sen and the Mekong, on the one hand, and the Nam Moun, on the other hand, and rejoins the Phnom Padang chain the crest of which it follows eastwards to the Mekong. Upstream from this point, the Mekong remains the frontier of the Kingdom of Siam, in accordance with Article 1 of the Treaty of 3 October 1893.”

ซึ่งผมกำลังแปลอยู่ แต่แปลชื่อเหล่านั้นไม่ได้เลย

“ข้อ ๑ เขตแดนระหว่างสยามและกัมพูชา เริ่มบนฝั่งซ้ายแห่งโตนเลสาบ จากปากน้ำ Stung Rolous ลากไปทางตะวันออกตามเส้นขนานจากจุดดังกล่าว จนบรรจบน้ำ Prek Kompong Tiam แล้วขึ้นไปทางเหนือ จักปรากฏอยู่ตามเส้นเมอริเดียนนับจากจุดบรรจบดังกล่าวไปถึงเทือกเขาพนมดงรัก จากที่นั้น ให้ลากเขตแดนไปตามสันปันน้ำระหว่างตระพัง Nam Sen และแม่โขง ฝั่งหนึ่ง กับ Nam Moun อีกฝั่งหนึ่ง แล้ววกเข้าสมทบกับเทือกเขา Phom Padang และลากไปทางตะวันออกตามยอดเทือกเขาดังกล่าว ไปสู่แม่โขง ทวนกระแสน้ำขึ้นไปจากจุดนี้ ให้แม่โขงคงเป็นเขตแดนของราชอาณาจักรสยาม ตามข้อ ๑ แห่งสนธิสัญญา ลงวันที่ ๓ ตุลาคม ค.ศ. ๑๘๙๓”

ขอบคุณมากครับ

--Aristitleism 20:48, 8 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

จะบอกว่าไม่ต้องตอบคำถามผมแล้วล่ะครับ ผมได้ชื่อเหล่านี้แล้ว และจะลงไว้ เผื่อมีคนต้องการเช่นกัน คือ
  1. คลองสดุงโรลูออส
  2. คลองกะพงจาม
  3. น้ำแสน
  4. น้ำมูน
  5. เขาผาด่าง
--Aristitleism 15:50, 10 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

ใช้คำราชาศัพท์ หรือคำสามัญ กับเจ้าหญิงไดอานา ผู้ล่วงลับ

เจ้าหญิงไดอานาผู้ล่วงลับยังคงเป็นสมาชิกราชวงศ์วินด์เซอร์หรือไม่? และถ้าต้องการอ้างถึงพระองค์ เราควรใช้คำราชาศัพท์หรือคำสามัญทั่วไป จึงจะเหมาะสมกับฐานะของพระองค์ (ผมกำลังแปลบทความใหม่ที่เกี่ยวกับท่าน เลยสงสัยว่าใช้คำไหนจึงจะถูกต้อง? --Gils 01:00, 13 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

"เจ้าหญิง" ของประเทศไทยก็ยังใช้ราชาศัพท์เลยครับ --octahedron80 21:35, 24 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)
ลองหาหนังสือเกี่ยวกับไดอานาที่เป็นภาษาไทยมาอ่านนะครับ
  1. โดยกำเนิดไดอานาเป็นราชนิกูล เธอมีคำเรียกให้เกียรติสำหรับผู้มีตระกูลสูงว่า "lady" ซึ่งไม่ใช่เจ้าหญิง จะเป็นท่านหญิง คุณหญิง ท่านผู้หญิง หรืออะไรก็ตามที ในกรณีนี้บทความในวิกิพีเดียภาษาไทยไม่จำเป็นต้องใส่คำนำหน้าชื่อดังกล่าว
  2. ต่อมา Twenty-year-old Diana became The Princess of Wales when she married Charles on 29 July 1981 at St Paul's Cathedral อย่างที่ทราบกันว่าพระสวามีคือ Prince of Wales เทียบกับไทยน่าจะเป็นเจ้าทรงกรม เป็น "กรมหลวงเวลส์" มากกว่าจะเป็นเจ้าผู้ครองนครนั้นๆ อย่างเจ้าทางเชียงใหม่ แต่เวลาแปลเป็นไทยอย่างให้เกียรติก็ใช้ว่า เจ้าชาย/เจ้าหญิงแห่ง... ไปตามรูปศัพท์ และทำให้เหมือนว่าจะต้องใช้คำราชาศัพท์ตามมาด้วย
  3. จากนั้นเกิดปัญหาในชีวิตคู่และต้องหย่าขาดจากพระสวามี The divorce was finalised on 28 August 1996. อย่างไรก็ดีราชสำนักอังกฤษมีหนังสือออกมา Letters Patent were issued with general rules to regulate royal titles after divorce. In accordance, as she was no longer married to the Prince of Wales, Diana lost the style Her Royal Highness and instead was styled Diana, Princess of Wales. Buckingham Palace issued a press release on the day of the decree absolute of divorce was issued, announcing Diana's change of title, but made it clear that Diana continued to be a British princess เหตุผลในการคงไว้ซึ่งตำแหน่งเจ้าหญิงและสมาชิกแห่งราชวงศ์ แต่ถอดออกจาก HRH คือ Diana was still a member of the Royal Family, as she was the mother of the second- and third-in-line to the throne. [1]

ตอบคำถามคือ

  1. ยังเป็นสมาชิกของราชวงศ์ คือเป็น Princess of Wales แต่ถูกถอด HRH นั่นคือ จะไม่ถูกเรียกว่าฝ่าละอองพระบาทอีกต่อไป
  2. ตามนัยข้อ 1 ว่าไปตามกฎก็ไม่ควรใช้ราชาศัพท์ แต่เอาอย่างไทยเราจะพบว่าเราก็ยังใช้ราชาศัพท์กับเจ้าที่ลาออกจากศักดิ์นา จึงควรพิจารณาเอาตามความเหมาะสมเอง โดยให้สอดคล้องกันทั้งบทความเป็นใช้ได้

ดูเพิ่มที่ ไดอานา_เจ้าหญิงแห่งเวลส์

--taweethaも 16:28, 25 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

คำศัพท์ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับเพลง

ผมอยากทราบความหมายของคำที่เกี่ยวข้องกับดนตรี ว่า ต้องการความหมายด่วนเพื่อใช้ในการบทความที่นี้

  • time signature = เครื่องหมายกำหนดจังหวะ
  • dance-oriented beat
  • club-friendly
  • chord progession
  • hook = ท่อนฮุก,ท่อนเด่น
  • explicit version
  • common time = จังหวะธรรมดา (4/4)
  • moderate tempo = ความเร็ว(จังหวะ)ปานกลาง
  • uptempo = เร่งความเร็ว(จังหวะ)
  • ballad = บัลลาด(จังหวะช้า)
  • calypso styled
  • mechanic fog
  • chord arrangement
  • compound time = จังหวะผสม

คำทั้งหมดนี้เกี่ยวกับดนตรี Gils 22:08, 13 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

คำว่า เคล็ด ขัด ยอก ต้องเขียนติดกันหรือไม่

คำว่าเคล็ดขัดยอกต้องพิมพ์ติดกันทั้งหมดหรือต้องเคาะตรงไหนหรือไม่--183.88.60.61 14:44, 24 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

เคล็ด ขัดยอก ; เคล็ดเป็นหนึ่งคำ และขัดยอกก็เป็นหนึ่งคำอย่าแยก --octahedron80 14:48, 24 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)

แล้วถ้าจะต่อว่า "ทาถู ๆ ต้องใช้ โทนาฟ" หล่ะ ๕๕๕ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 15:00, 25 กุมภาพันธ์ 2554 (ICT)