วิกิพีเดีย:ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับความปลอดภัยทางดิจิทัลสำหรับชาววิกิมีเดีย

Digital Security considerations for Wikimedians
ข้อควรพิจารณาเกี่ยวกับความปลอดภัยทางดิจิทัลสำหรับชาววิกิมีเดีย

Your Wikimedia username ชื่อผู้ใช้วิกิมีเดียของคุณ แก้

Usernames on Wikimedia projects have pretty much infinite possibilities, and are by their nature publicly visible. This in combination with open editing, which logs every article one edits, means that identifying users can be relatively straightforward. As such,

  • Don't use your real name, or a username that might give clues to your real-life identity (such your birthdate, birth year, and hometown)
  • Use a username that's different from your other usernames on the internet
  • Try to avoid exclusively editing topics that are directly connected to you in a personal way - e.g. current or former schools, your hometown, the building you live in, the place where you practice your religion.

ชื่อผู้ใช้บนโครงการวิกิมีเดียต่าง ๆ ค่อนข้างมีความหลากหลายไม่จำกัด โดยปกติแล้ว ชื่อผู้ใช้จะถูกเปิดเผยเป็นสาธารณะ เมื่อพิจารณาร่วมกับการแก้ไขอย่างเปิดเผยที่บันทึกการแก้ไขในแต่ละครั้งเอาไว้ การบ่งบอกชื่อผู้ใช้จึงเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ยาก ดังนั้น

  • อย่าใช้ชื่อจริงของคุณ หรือใช้ชื่อผู้ใช้ที่สามารถนำพาไปสู่การระบุตัวตนของคุณได้ในชีวิตจริง (ตัวอย่างเช่น วันเกิด ปีเกิด และบ้านเกิด เป็นต้น)
  • ใช้ชื่อผู้ใช้ที่ต่างจากชื่อผู้ใช้อื่น ๆ ของคุณในอินเทอร์เน็ต
  • พยายามหลีกเลี่ยงการแก้ไขในเรื่องที่เกี่ยวโยงกับข้อมูลส่วนตัวของคุณ เช่น โรงเรียนเก่า บ้านเกิด ที่พักอาศัยปัจจุบัน สถานที่ที่คุณปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา ฯลฯ

Avoid IP Editing หลีกเลี่ยงการแก้ไขด้วยไอพี (แก้ไขโดยไม่ได้เข้าสู่ระบบด้วยบัญชีผู้ใช้) แก้

The IP address is a critical part of personal information on the internet enabled digital world, akin to your home address in the physical. It is a unique address that identifies your device and your device’s general geographic location. As such, much like the caution one practices before sharing one's home address for privacy and safety reasons, avoid IP editing. See here for more information.

ที่อยู่ไอพีเป็นข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญอย่างมากบนโลกอินเทอร์เน็ต เปรียบได้กับเลขที่บ้านในโลกความเป็นจริง ที่อยู่ไอพีเป็นที่อยู่ที่แตกต่างจากผู้อื่น สามารถบ่งบอกถึงอุปกรณ์ของคุณและสถานที่ที่อุปกรณ์คุณตั้งอยู่ ดังนั้น หลีกเลี่ยงการใช้ไอพีในการแก้ไขให้เหมือนกับที่คุณระมัดระวังในการให้ที่อยู่บ้านของคุณกับผู้อื่น สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

Ensure Login notifications are on ตรวจทานให้มั่นใจว่าเปิดการแจ้งเตือนถึงการเข้าสู่ระบบอยู่ แก้

Login notifications are a valuable digital security feature as it alerts you of (attempted) unauthorized access to your Wikimedia account. Although login notifications are activated for both web and email by default on Wikimedia projects, make sure this important feature was not somehow deactivated by following the instructions here.

การแจ้งเตือนถึงการเข้าสู่ระบบ เป็นการตั้งค่าทางความปลอดภัยดิจิทัลอย่างหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะคุณจะได้รับการแจ้งเตือนคุณเมื่อการ (พยายาม) เข้าใช้งานบัญชีวิกิมีเดียของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต แม้ว่าการแจ้งเตือนถึงการเข้าสู่ระบบจะเปิดใช้งานอยู่เป็นค่าเริ่มต้น ทั้งสำหรับเว็บและอีเมลบนโครงการของวิกิมีเดีย ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าการตั้งค่านี้ไม่ได้ปิดอยู่ด้วยวิธีการดังนี้

Images on Wikimedia projects รูปภาพบนโครงการของวิกิมีเดีย แก้

Images are worth a thousand words - be mindful about the images you upload on Commons and the ‘invisible’ information in the form of EXIF-data you might be sharing. EXIF-data typically contains detailed information such as the time, date, and location of image creation, and details about the device used. Wikimedia Commons maintains all EXIF-data associated with an image when uploaded to the platform. Altering or removing this data afterwards is very difficult; make sure you only add information that is needed and relevant (see Common:Exif). Furthermore, images uploaded to Commons are freely usable, this includes any photos of you and your colleagues uploaded from Wikievents to photos documenting protests in a certain area, see here for more information on licensing.

รูปภาพมีค่าเทียบเท่าคำพันคำ จงพิจารณาให้รอบคอบก่อนอัปโหลดรูปสู่คอมมอนส์ และข้อมูล “ที่มองไม่เห็น” ในรูปแบบของชุดข้อมูล EXIF ที่คุณอาจจะเผยแพร่ไปด้วย โดยปกติแล้ว ชุดข้อมูล EXIF ประกอบไปด้วยรายละเอียดหลายประการ เช่น วัน เวลา และสถานที่ที่ถ่ายภาพ รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ วิกิมีเดียคอมมอนส์เก็บชุดข้อมูล EXIF ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับรูปเมื่อทำการอัปโหลดรูปลงในแพลตฟอร์ม การแก้ไขหรือลบออกภายหลังทำได้ยากมาก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้เพิ่มข้อมูลที่ต้องกรอกและข้อมูลเกี่ยวข้องเท่านั้น (ดูเพิ่มที่ Common:Exif) นอกจากนี้ ภาพที่ทำการอัปโหลดลงคอมมอนส์แล้วสามารถถูกนำไปใช้อย่างเสรี การนำไปใช้นี้รวมถึงรูปที่คุณและเพื่อนร่วมงานอัปโหลด ทั้งจากกิจกรรมของวิกิไปจนถึงรูปภาพที่บันทึกการประท้วงในบางพื้นที่ ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอนุญาตให้ใช้สื่อบนคอมมอนส์ได้ที่นี่

Remember, Wikipedia is permanent พึงระลึกว่าวิกิพีเดียนั้นถาวร แก้

Wikipedia is a permanent record. This means that the moment you press that “publish” button, the information published will be permanently visible and publicly associated with that username. Sure you can revert an edit and thereby hide it from the published version, but the information remains in the version history and is not really difficult to find for people who know how the Wikimedia projects work. As such, give it a thought before publishing and make sure you are not sharing any personal information. See Wikipedia:Wikipedia is in the real world for more context.

วิกิพีเดียจัดเป็นบันทึกถาวร นั่นหมายความว่า ณ ตอนที่คุณกดปุ่ม “เผยแพร่” ข้อมูลที่ถูกเผยแพร่สามารถเข้าถึงได้โดยถาวรและเชื่อมโยงกับชื่อผู้ใช้อย่างเป็นสาธารณะ แน่นอนว่าคุณสามารถกดย้อนการแก้ไขกลับซึ่งจะซ่อนมันจากรุ่นที่เผยแพร่ แต่ข้อมูลจะยังอยู่ในประวัติ และสามารถหาได้ไม่ยากสำหรับผู้ที่รู้ว่าโครงการวิกิมีเดียทำงานอย่างไร ดังนั้น จงพิจารณาให้รอบคอบก่อนการเผยแพร่และตรวจทานให้แน่ใจว่าคุณไม่ได้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว สามารถดู Wikipedia:Wikipedia is in the real world สำหรับบริบทเพิ่มเติม

Is there any personal information you need suppressed on Wikimedia projects? มีข้อมูลส่วนตัวที่คุณจำเป็นต้องลบออกจากประวัติสาธารณะของโครงการของวิกิมีเดียหรือไม่ แก้

Did you upload an image of yourself? Or share your phone number on your userpage? Or upload a document whose distribution carries legal consequences in your jurisdiction? Under very strict limits you can ask for the “suppression (formerly oversight)” of certain information on the platform. Have a look at the suppression policy here and see here to learn how to request suppression.

คุณอัปโหลดรูปภาพของตนเองไปหรือไม่ หรือเคยเผยแพร่หมายเลขโทรศัพท์บนหน้าผู้ใช้ หรือได้อัปโหลดเอกสารที่อาจมีผลทางกฎหมายตามมาจากการเผยแพร่ คุณสามารถแจ้ง “อำพรางประวัติ” (หรือ ที่เคยเรียกว่า “ดูแลประวัติ”)” กับข้อมูลบางอย่างบนแพลตฟอร์มได้ภายใต้ขอบเขตของเงื่อนไขที่เคร่งครัด สามารถลองเข้าไปดูนโยบายการอำพรางประวัติที่นี่และที่นี่สำหรับวิธีการแจ้งอำพรางประวัติ

Passwords are important, on Wikimedia projects even more so รหัสผ่านเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการวิกิมีเดีย แก้

Passwords are important because they protect you against unauthorized access to your accounts. Hence, the stronger your password is the more protected you are. While most platforms now offer two/multi-factor authentication as a second line of defense, on Wikimedia projects this is a limited feature. Good password hygiene, as such, is all the more important when engaging with Wikimedia projects. See Wikipedia:User account security for more information.

รหัสผ่านเป็นสิ่งสำคัญ เพราะรหัสผ่านปกป้องคุณจากการเข้าใช้บัญชีของคุณโดยไม่ได้รับอนุญาต ดังนั้น ยิ่งรหัสผ่านของคุณยากแก่การโจมตีมากเท่าใด บัญชีของคุณก็จะปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น ในขณะที่แพลตฟอร์มส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้การยืนยันตัวตันด้วยสองปัจจัยหรือด้วยหลายปัจจัยเป็นปราการป้องกันด่านที่สอง สิ่งนี้ยังเป็นข้อจำกัดของโครงการวิกิมีเดีย ดังนั้น การใช้รหัสผ่านที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นไปอีกเมื่อมีส่วนร่วมในโครงการวิกิมีเดีย ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Wikipedia:User account security

Wikimail วิกิเมล (การส่งอีเมลหาผู้ใช้ของโครงการวิกิมีเดีย) แก้

The Wikimail service, though a convenient feature to communicate with fellow Wikimedians somewhat privately, be sure to know the risks. Sending an email is akin to sending a postcard, so be aware of the information you are sharing as it is not a secure channel of communication. See Wikipedia:Emailing users for more information regarding this service.

ถึงแม้บริการวิกิเมลจะเป็นวิธีการที่สะดวกในการติดต่อชาววิกิมีเดียรายอื่นเป็นการส่วนตัว คุณควรรับทราบความเสี่ยงไว้ด้วย การส่งอีเมลเปรียบได้กับการส่งไปรษณียบัตร ดังนั้น พึงสังวรณ์ว่าข้อมูลที่คุณกำลังแบ่งปันมิได้ส่งผ่านช่องทางการสื่อสารที่ปลอดภัย ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับช่องทางการติดต่อนี้ได้ที่ Wikipedia:Emailing users

Wikimedia Foundation’s transparency report รายงานความโปร่งใสของมูลนิธิวิกิมีเดีย แก้

Governments and people of influence around the globe are keen to control and or influence the flow of information online, including content on Wikimedia projects. The Foundation frequently receives requests to alter or remove content from the projects, and to provide nonpublic information about users. While the Foundation carefully vets each request, it is a good practice to see how your jurisdiction fares with such requests to be able to better assess your threat landscape. The Foundation releases a transparency report twice a year. Check it out here.

รัฐบาลและผู้มีอิทธิพลจากทั่วโลกพยายามที่จะควบคุมหรือมีอิทธิพลต่อข้อมูลและสารสนเทศในโลกออนไลน์ รวมถึงเนื้อหาในโครงการวิกิมีเดียด้วย มูลนิธิได้รับแจ้งขอให้ปรับเปลี่ยนหรือลบเนื้อหาจากโครงการ และให้เปิดเผยข้อมูลที่ไม่เป็นสาธารณะเกี่ยวกับผู้ใช้อยู่บ่อยครั้ง ในขณะที่มูลนิธิตรวจสอบทุกคำร้องขออย่างระมัดระวัง การทำความเข้าใจว่าในท้องถิ่นของคุณมีการปฏิบัติเช่นไรสำหรับคำร้องเหล่านั้นจะช่วยประเมินภาพรวมของภัยคุกคามได้ดียิ่งขึ้น มูลนิธิเผยแพร่รายงานความโปร่งใสปีละสองครั้ง สามารถอ่านได้ที่นี่

ดูเพิ่ม แก้