วิกิพีเดียภาษาตุรกี

รุ่นภาษาของสารานุกรมเสรี

วิกิพีเดียภาษาตุรกี (ตุรกี: Türkçe Vikipedi) เป็นสารานุกรมวิกิพีเดียที่จัดทำขึ้นในภาษาตุรกี เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ. 2002 ณ วันที่ 10 เมษายน วิกิพีเดียภาษาตุรกีมีบทความถึง 604,577 บทความ

วิกิพีเดียภาษาตุรกี
85%
ภาพจับหน้าจอ
หน้าหลักของวิกิพีเดียภาษาตุรกีในเดือนกันยายน ค.ศ. 2022
ประเภทสารานุกรมออนไลน์
ภาษาที่ใช้ได้ภาษาตุรกี
สำนักงานใหญ่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย
เจ้าของมูลนิธิวิกิมีเดีย
ยูอาร์แอลtr.wikipedia.org
เชิงพาณิชย์ไม่
ลงทะเบียนไม่จำเป็น
เปิดตัวธันวาคม 2002; 21 ปีที่แล้ว (2002-12)
สถานะปัจจุบันเปิดบริการ ยกเลิกการบล็อกในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2020

ประวัติ แก้

ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2006 วิกิพีเดียภาษาตุรกีได้เข้าชิง Altın Örümcek Web Ödülleri [tr] สาขาวิทยาศาสตร์ (Golden Spider Web Awards)[1] ต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 2007 วิกิพีเดียภาษาตุรกีได้รับรางวัล "Best Content" โดยมีการรับรางวัลในงานรับรางวัลเมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 2007 ที่มหาวิทยาลัยเทคนิคอิสตันบูล[2][3]

ใน ค.ศ. 2015 แบนเนอร์ที่แสดงความตื่นรู้ต่อความลำเอียงทางเพศบนวิกิพีเดีย ดึงความสนใจของสื่อตุรกี[4]

เมื่อวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 2017 รัฐบาลตุรกีได้บล็อกการเข้าถึงวิกิพีเดีย[5] แม้ว่าจะไม่ระบุเหตุผลในการบล็อก ก้มีบางส่วนเชื่อว่าสารานุกรมถูกบล็อกจากการที่รัฐบาลตุรกีกังวลต่อบทความที่วิจารณ์การกระทำอย่างความร่วมมือตุรกี–ไอซิล[6][7] ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 ศาลสูงสุดของตุรกีตัดสินให้การแบนละเมิดเสรีภาพในการพูด จากนั้นในวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 2020 จึงได้ยกเลิกการแบน หลังแบนไป 991 วัน[8]

อ้างอิง แก้

  1. "5. Altın Örümcek Web Ödülleri".
  2. "Altın Örümcek - Geçmiş Yıllar - Değerlendirme Süreci". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 December 2015. สืบค้นเมื่อ 25 August 2015.
  3. "Altın Örümcek ödülleri açıklandı".
  4. "Google 8 Mart Dünya Kadınlar Günü doodle'ı hazırladı" (ภาษาตุรกี). Radikal. สืบค้นเมื่อ 8 March 2015.
  5. "Turkish authorities block Wikipedia". BBC News. BBC. 29 April 2017. สืบค้นเมื่อ 29 April 2017.
  6. "Terör destekçisi Wikipedia'ya yasak" (ภาษาตุรกี). Sabah. สืบค้นเมื่อ 1 May 2017.
  7. "Turkey blocks Wikipedia over what it calls terror 'smear campaign'" (ภาษาอังกฤษ). CNN. สืบค้นเมื่อ 1 May 2017.
  8. "Turkey restores access to Wikipedia after 991 days". NetBlocks. 15 January 2020. สืบค้นเมื่อ 15 January 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้