วิกรมสัมวัต (IAST: Vikrama Samvat; ย่อเป็น VS) หรือ พิกรมสัมพัต (IAST: Bikrama Sambat; ย่อเป็น BS) หรือ ปฏิทินวิกรมี เป็นปฏิทินฮินดูที่มีใช้ในประวัติศาสตร์ของอินเดียและเนปาล โดยปกติปีของวิกรมสัมวัตจะเร็วกว่าคริสต์ศักราชตามปฏิทินเกรกอเรียนอยู่ 57 ปี ยกเว้นในระหว่างเดือนมกราคมถึงเมษายน ซึ่งจะเหลือที่ไวกว่า 56 ปี วิกรมสัมวัตเป็นหนึ่งในสองปฏิทินทางการของประเทศเนปาล ควบคู่กับเนปาลสัมพัต[1][2]

เอกสารและจารึกโบราณจากยุคกลางจำนวนมากที่พบในอินเดียใช้ระบบปีแบบวิกรมสัมวัต ว่ากันว่าชื่อนี้ตั้งตามกษัตริย์ในตำนาน วิกรมาทิตยะ และไม่ปรากฏชื่อวิกรมสัมวัตในหลักฐานใด ๆ ก่อน ศตวรรษที่ 9 มีพบระบบปฏิทินเดียวกันแต่ใช้คนละชื่อ เช่น กฤตะ (Krita) และ มลวะ (Malava)[3] ในสมัยอาณานิคม นักวิชาการเชื่อว่าระบบปีวิกรมสัมวัตอ้างอิงจากการฉลองการที่วิกรมาทิตยะสามารถขับไล่สกะออกจากอุชไชนะสำเร็จ กระนั้น ในภายหลังไม่ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สนับสนุนข้อเสนอแนะนี้ งานเขียนเริ่มปรากฏใช้วิกรมสัมวัตในศตวรรษที่ 9 โดยเฉพาะของฮินดู ในขณะที่ชิ้นงานพุทธและไชนะยังคงใช้ปีที่อ้างอิงจากพระพุทธเจ้าและพระมหาวีระตามลำดับ[4]

วิกรมสัมวัตปราฏใช้งานโดยชาวฮินดู, ซิกข์[5] และ ปาทาน[6] วิกรมสัมวัตเป็นหนึ่งในระบบปฏิทินฮินดูท้องถิ่นมากมายที่มีใช้ในอนุทวีปอินเดีย ระบบวิกรมสัมวัตใช้สิบสองเดือนซีนอดิกแบบจันทรคติ และ 365 วันตามสุริยคติ[5] ส่วนในเนปาล ระบบปฏิทินนี้ถูกนำมาใช้โดยราชวงศ์รานาซึ่งประกาศให้ปฏิทินวิกรมสัมวัตเป็นปฏิทินทางการของประเทศในปี ค.ศ. 1901 หรือ ปีวิกรมสัมวัตที่ 1958[7]

อ้างอิง แก้

  1. Masatoshi Iguchi (2015). Java Essay: The History and Culture of a Southern Country. TPL. p. 135. ISBN 978-1-78462-885-7.
  2. Edward Simpson (2007). Muslim Society and the Western Indian Ocean: The Seafarers of Kachchh. Routledge. pp. 113–114. ISBN 978-1-134-18484-2.
  3. Richard Salomon (1998). Indian Epigraphy: A Guide to the Study of Inscriptions in Sanskrit, Prakrit, and the Other Indo-Aryan Languages. Oxford University Press. pp. 182–183. ISBN 978-0-19-509984-3.
  4. Richard Salomon (1998). Indian Epigraphy: A Guide to the Study of Inscriptions in Sanskrit, Prakrit, and the Other Indo-Aryan Languages. Oxford University Press. pp. 182–183, 194–195. ISBN 978-0-19-509984-3.
  5. 5.0 5.1 Eleanor Nesbitt (2016). Sikhism: a Very Short Introduction. Oxford University Press. pp. 122–123. ISBN 978-0-19-874557-0.
  6. Jazab, Yousaf Khan. An Ethno-Linguistic Study of the Karlanri Varieties of Pashto. Pashto Academy, University of Peshawar. pp. 342–343.
  7. Crump, William D. (2014-04-25). Encyclopedia of New Year's Holidays Worldwide (ภาษาอังกฤษ). McFarland. ISBN 978-0-7864-9545-0.