วัดกล้าชอุ่ม
วัดกล้าชอุ่ม ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒ หมู่ ๔ ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย เดิมชื่อวัดร้อยสอน โดยมีนายสอน นางภู่ นางรอด นายหลุย นายแสวง ได้บริจาคที่ดินแปลงนี้ให้สร้างวัดเป็นเนื้อที่นาจำนวน ๙ ไร่ ๓ งาน ๖๐ ตารางวาตามโฉนดเลขที่ ๑๑๑๘ สภาพเป็นที่ทำนาราบลุ่ม
วัดกล้าชอุ่ม | |
---|---|
![]() | |
![]() | |
ที่ตั้ง | ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
![]() |
ด้านการการศึกษา และเผยแผ่พุทธศาสนา วัดกล้าชอุ่มได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม และนักธรรมศึกษาตามโรงเรียนต่าง ๆ และจัดให้มีการเทศน์ธรรมในทุก ๆ วันพระ และยังปฏิบัติเช่นนี้มาจนถึงปัจจุบัน[1]
ประวัติการสร้างวัดแก้ไข
- สร้างครั้งแรก มีพระภิกษุสังวาลย์ เป็นผู้ดำเนินการนำสร้าง ท่านเป็นพระมาจากถิ่นอื่น ได้ไปนำไม้จากทางเหนือ มาปลูกสร้างวัดเป็นครั้งแรก
- สมัยต่อมา พระภิกษุสังวาลพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ก็มีพระภิกษุรูปหนึ่งไม่ทราบนาม ได้มารักษาการแทน และช่วยก่อสร้างวัดได้พอสมควร
- สมัยต่อมา มีพระภิกษุใหญ่ (ไม่ทราบฉายา) ได้มาริเริ่มก่อสร้างอุโบสถขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาเทเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๙ เมตร โดยมีนายซา นายย๊อด พระภิกษุเวช จีนใต้ นางแก้ว ขุนพาทย์ นายค้า จีนเพิ่ม นายเขียน นายหอมได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๔ สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗ สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน ๘,๐๙๒ บาท (แปดพันเก้าสิบสองบาทถ้วน)
- ต่อมา ทางกรมการศาสนาได้เปลี่ยนชื่อวัด เป็นวัดกล้าชอุ่ม ตามภูมิประเทศที่รอบๆวัด มีการตกกล้าทำนาดำโดยทั่วๆไป ถึงเวลาหน้าทำนารอบๆวัด จะมองเห็นพื้นที่เขียวชอุ่มไปจนสุดสายตา
- ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ นายซา สาดพรหม อายุ ๖๖ ปี ได้ทำสัญญายกที่ดินให้กับวัดกล้าชอุ่มอีกจำนวน ๗ ไร่ ๕ ตารางวา รวมเนื้อที่ดินตั้งวัด มี ๑๖ ไร่ ๓ งาน ๖๕ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๑๖๗๓ ต่อมาได้จัดแบ่งที่ดินตั้งเป็นโรงเรียนประถมศึกษาวัดกล้าชอุ่ม อีกประมาณ ๖ ไร่เศษ
- ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ นายทองหล่อ ปรารภ นางแฉลม ภุมกาญจน์
นางเฉลียว บัวบานพร้อม นาวาตรีฉลอง วงศ์ดนตรี ได้ยกที่ดินให้วัดกล้าชอุ่มอีก ๒๘๕ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๓๙๕๔ ด้านหลังวัด
- ต่อมา เมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๔๑ นายยศ บัวบานพร้อม นางผาด บัวบานพร้อม และนางจำเนียร บัวบานพร้อม นางประยูร ฉิ่งทอง ได้ยกที่ดินให้วัดกล้าชอุ่ม อีก ๒๘๕ ตารางวาตามโฉนดเลขที่ ๓๙๕๓ ด้านหลังวัด
- ต่อมา ๒๑ ธันวาคม พศ. ๒๕๔๗ พระครูพิพัฒน์ปัญญาธร เจ้าอาวาสวัดกล้าชอุ่ม ได้ชักชวนประชาชน ร่วมกันซื้อที่ดินตามโฉนดเลขที่ ๓๙๕๒ ให้วัดชอุ่มอีก จำนวน ๒๘๕ ตารางวา ด้านหลังวัด[2]
ที่ธรณีสงฆ์แก้ไข
- ปัจจุบันวัดมีเนื้อที่ตั้งวัดเป็นจำนวน ๑๙ ไร่ - งาน ๒๐ ตารางวารวมทั้งที่ตั้งโรงเรียนด้วย
- ทิศเหนือ ยาว ๑๑๕ วา เป็นโรงเรียนประถมศึกษาตั้งอยู่ในวัดด้วยใช้เนื้อที่ไปประมาณ ๖ ไร่ และติดกับที่ดินหมู่บ้านเอื้ออาทร เป็นโครงการของรัฐบาล ด้านขางโรงเรียนและหลังวัด
- ทิศใต้ ยาว ๑๑๕ วา ติดกับถนนซอยเข้าที่จัดสรรหมู่บ้านยาวขนานไปกับที่ดินตั้งวัด
- ทิศตะวันออก ยาว ๙๐ วาติดกับที่ดินเอกชนซึ่งจัดสรรแบ่งขายเป็นแปลงๆ ยาวคู่ไปกับหมู่บ้านเอื้ออาทร
- ทิศตะวันตก ยาว ๙๐ วา เป็นหน้าวัดติดคลองระบายน้ำที่ ๒ ปัจจุบันถูกแบ่งเป็นถนนไปประมาณ ๑ ไร่เศษเป็นถนนคอนกรีตมีรถยนต์วิ่งสัญจร ไปมาได้สะดวก
- วัดกล้าชอุ่ม มีที่ดินเป็นที่ธรณีสงฆ์ยู่ที่ ตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานีโดยมีนางพลับ โกมลเสน อายุ ๗๙ ปี ได้ยกที่ดินให้วัดกล้าชุ่ม เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๔ จำนวน ๑๒๐ ไร่ – งาน ๕๕ ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ ๒๓๙ และต่อมาพระครูพิพัฒน์ปัญญาธรได้ถวายที่ดินอีก ๑ แปลงเป็นที่ดินจัดสรรเนื้อที่ ๒ งาน ๘๕ วาโฉนดเลขที่ ๓๘๕๐ จากนายศิริชัย วิมลเกียรติ[3]
ประกาศตั้งวัดกล้าชอุ่มแก้ไข
- วัดกล้าชอุ่ม ได้รับประกาศตั้งเป็นวัดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ เดิมชื่อวัดร้อยสอน ตั้งตามนามผู้สร้างวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ และทำการผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๗ ปัจจุบันอุโบสถหลังนั้นเป็นวิหารไปแล้ว โดยพระครูวิริยกิจคุณได้สร้างอุโบสถขึ้นมาใหม่ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างสวยงาม และได้รับพระราชวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๗[4]
ลำดับเจ้าอาวาสแก้ไข
- พระภิกษุสังวาลย์ (ไม่ทราบฉายา) ผู้ริเริ่มสร้างวัด
- พระภิกษุ (ไม่ทราบชื่อและฉายา) รับช่วงต่อมา
- พระอธิการอยู่ (หลวงพ่อใหญ่) ผู้ริเริ่มสร้างโบสถ์เป็นมา ถึง พ.ศ. ๒๔๗๖
- พระอธิการทองสุข สุมโน เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๙ ( สมัยที่ ๑ )
- พระอธิการหริ่ม เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๐
- พระอาจารย์ฟ้อน รักษาการแทน พ.ศ. ๒๔๙๐ ถึง
- พระอธิการแสง เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๗
- พระครูวิริยกิจคุณ เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๗
- พระลำจวน อธิปญฺโญ รักษาการแทนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๗ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๘
- พระอธิการทองสุข สุมโน เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๒ ( สมัยที่ ๒ )
- พระครูพิพัฒน์ปัญญาธร เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ ถึง ๒๔ มิ.ย.๒๕๖๔[5]
- พระอธิการจำเริญ ติกฺขปญฺโญ (พูลแก้ว) เป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ ๒๔ พ.ย. ๒๕๖๓ ถึงปัจุบัน
ปูชนียวัตถุศาสนสถานแก้ไข
- โบสถ์ วัดกล้าชอุ่ม (ปัจจุบัน เป็นวิหารไปแล้ว) ริเริ่มก่อสร้างอุโบสถขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๗ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กหลังคาเทเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีขนาดกว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๙ เมตร ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๔ และทำการผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๗ สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน ๘,๐๙๒ บาท (แปดพันเก้าสิบสองบาทถ้วน) ปัจจุบันอุโบสถหลังนี้เป็นวิหารไปแล้ว และได้กลายเป็นที่เรียนสำหรับพระและสามเณรที่มาบวชใหม่
- โบสถ์ วัดกล้าชอุ่ม พระครูวิริยกิจคุณได้สร้างอุโบสถขึ้นมาใหม่ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็กอย่างสวยงาม และได้รับพระราชวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๗ สถานที่ไว้ให้พระสงฆ์ทำสังฆกรรมตามพระวินัย เช่น ลงฟังพระปาฏิโมกข์ , อุปสมบท , เวียนเทียน และงานประเพณีต่างๆเป็นต้น
- พระเจดีย์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระครูวิริยกิจคุณ นำมาจากประเทศศรีลังกา ทำ ๓ ชั้น ชั้นที่สองมีโครงการจะทำเป็นพิพิธพันธ์ อดีตเจ้าอาวาส และสถานที่ฝึกจิต วิปัสนากรรมฐาน
- ศาลาการเปรียญ 2 ชั้น เป็นศาลาอเนกประสงค์ ใช้ในงานทำบุญหรือเทศกาลต่างๆ
- ศาลาธรรมสังเวช
- หอระฆัง
- กุฏิพูนศรี ครึ่งตึกครึ่งไม้ มี ๑๐ ห้องนอน มีห้องสุขาในตัว ๒ ห้อง ๆ อาบน้ำ ๑ ห้อง
- กุฏิสง่าเนตร คอนกรีตเสริมเหล็กมี ๔ ห้องนอน มีห้องสุขา ๑ และห้องอาบ ๑ น้ำในตัวเรือน
- กุฏิสุมโน คอนกรีตเสริมเหล็กชั้นบนมี ๓ ห้องนอน ชั้นล่าง มี ๑ ห้องนอนมีห้องสุขา และห้องอาบน้ำในตัวเรือนอย่างละ ๑ ห้อง
- ศาลาหอฉันและด้านบนเป็นหอสวดมนต์
- กุฏิบัวบานพร้อม คอนกรีตเสริมเหล็กมี ๑๐ ด้านในห้องนอน ๑ ห้องสุขา ๑ ห้องอาบน้ำ
- กุฏิพานุช ด้านบนมีห้องนอน ๖ ห้อง มีห้องใหญ่นอนได้ ๒ องค์ หนึ่งห้อง และห้องอาจารย์คุมพระใหม่ ๑ ห้อง มีห้องน้ำในตัว ด้านล่างมีห้องน้ำ ๒ ห้อง สุขา ๒ ห้อง เป็นกุฏิเฉพาะพระที่บวชมาใหม่และบวชไม่นาน
- กุฏิโหลขุนเซียม คอนกรีตเสริมเหล็กมี ๘ ห้องนอน ๑ ด้านในห้องสุขา ๑ ห้องๆอาบน้ำ ด้านนอกตัวเรือนมีห้องสุขา ๔ ห้องๆอาบน้ำ ๒ ห้อง
- กุฏิพุ่มรอด ข้างบนมี ๒ ห้องนอน ด้านล่าง มี ๑ ห้องน้ำ ๑ ห้องสุขา และ ๑ ห้องนอน
- กุฏิโตประเสริฐ ด้านบนมี ๒ ห้องนอน ล่าง ๒ ห้องนอน
- ด้านล่างหลังห้องมี ๑ ห้องน้ำ ๑ ห้องสุขา
- ศาลาเณรแก้ว สำหรับไว้ใช้จัดงานในวัดในพิธีกรรมต่างๆ[6]
ฌาปนสถาน (เมรุ) วัดกล้าชอุ่มแก้ไข
- เป็นแบบเตาใบเดียว และได้จัดจ้างทำเป็นแบบ เตาคู่ เพื่อความสะดวกกับพุทธศาสนิกชน ผู้ที่มาใช้ในการบำเพ็ญกุศลศพ[7]
อ้างอิงแก้ไข
- ↑ กรมการศาสนา.หนังสือประวัติวัดทั่วราชาอาณาจักร. (กรุงเทพ ฯ โรงพิมพ์กรมการศาสนา,๒๕๓๕)
- ↑ คณะสงฆ์และคณะกรรมการไวยาวัจจกรวัดกล้าชอุ่ม ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ( ผู้แก้ไขและบันทึกประวัติ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ )
- ↑ คณะสงฆ์และคณะกรรมการไวยาวัจจกรวัดกล้าชอุ่ม ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ( ผู้แก้ไขและบันทึกประวัติ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ )
- ↑ คณะสงฆ์และคณะกรรมการไวยาวัจจกรวัดกล้าชอุ่ม ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ( ผู้แก้ไขและบันทึกประวัติ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ )
- ↑ คณะสงฆ์และคณะกรรมการไวยาวัจจกรวัดกล้าชอุ่ม ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ( ผู้แก้ไขและบันทึกประวัติ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ )
- ↑ คณะสงฆ์และคณะกรรมการไวยาวัจจกรวัดกล้าชอุ่ม ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ( ผู้แก้ไขและบันทึกประวัติ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ )
- ↑ คณะสงฆ์และคณะกรรมการไวยาวัจจกรวัดกล้าชอุ่ม ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ( ผู้แก้ไขและบันทึกประวัติ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ )