นกปรอด
นกปรอด | |
---|---|
นกปรอดหัวโขน (Pycnonotus jocosus) | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Passeriformes |
อันดับย่อย: | Passeri |
วงศ์: | Pycnonotidae G. R. Gray, 1840 |
สกุล[1] | |
นกปรอด เป็นวงศ์ของนกจับคอนขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มนกร้องเพลง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Pycnonotidae
เป็นนกขนาดเล็ก มีสีสันต่าง ๆ กันไปตามแต่ละชนิด และสกุล เป็นนกที่ร้องได้เพราะมาก กินผลไม้และแมลงเป็นอาหาร พบได้ในหลายภูมิประเทศ ตั้งแต่ภูเขาสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นพัน ๆ เมตร จนถึงที่ราบลุ่ม หรือในชุมชนเมืองและตามสวนสาธารณะหรือสวนหลังบ้าน
เหตุที่ได้ชื่อว่า "ปรอด" นั้นมาจากเสียงร้อง ที่มักเป็นเสียง "กรอด-กรอด"[2] ซึ่งบางครั้งอาจเรียกเพี้ยนเป็น "นกกรอด", "นกกระหรอด" หรือ "นกกะหรอด" ก็ได้[3] ขณะในชื่อภาษาอังกฤษที่ว่า "ฺBulbul" นั้นมาจากคำว่า بلبل (bolbol) ในภาษาเปอร์เซีย และคำว่า بُلْبُل ในภาษาอาหรับ หมายถึง "นกไนติ้งเกล"[4]
ซึ่งทั่วโลกมี 137 ชนิด ใน 21 สกุล (ดูในตาราง ขณะที่บางสกุลอาจจะซ้ำซ้อนกับอีกสกุล[1]) ในประเทศไทย พบอยู่ 36 ชนิด 8 สกุล [5] ได้แก่
นกปรอดที่พบในประเทศไทย
แก้- นกปรอดคอลาย (Pycnonotus finlaysoni)
- นกปรอดจีน (Pycnonotus sinensis)
- นกปรอดดำ (Hypsipetes leucocephalus หรือ Hypsipetes madagascariensis)
- นกปรอดดำปีกขาว (Pycnonotus melanoleucos)
- นกปรอดทอง (Pycnonotus atriceps)
- นกปรอดท้องสีเทา (Pycnonotus cyaniventris)
- นกปรอดเทาหัวขาว (Hypsipetes thompsoni)
- นกปรอดภูเขา (Hypsipetes mcclellandii)
- นกปรอดแม่พะ หรือ นกปรอดแม่ทะ (Pycnonotus zeylanicus)
- นกปรอดลาย (Pycnonotus striatus)
- นกปรอดเล็กตาขาว (Iole propinquus หรือ Hypsipetes propinquus)
- นกปรอดเล็กท้องเทา (Pycnonotus erythropthalmos)
- นกปรอดเล็กสีไพลตาแดง (Iole viridescens หรือ Hypsipetes viridescens)
- นกปรอดสวน (Pycnonotus blanfordi)
- นกปรอดสีขี้เถ้า (Hemixos flavala หรือ Hypsipetes flavala)
- นกปรอดสีคล้ำใต้คอเหลือง (Criniger finschii)
- นกปรอดสีน้ำตาลตาขาว (Pycnonotus simplex)
- นกปรอดสีน้ำตาลตาแดง (Pycnonotus brunneus)
- นกปรอดสีไพลใหญ่ (Pycnonotus plumosus)
- นกปรอดหงอนตาขาว (Iole olivacea หรือ Hypsipetes charlottae)
- นกปรอดหงอนปากหนา (Spizixos canifrons)
- นกปรอดหงอนหลังลาย (Pycnonotus eutilotus)
- นกปรอดหน้านวล (Pycnonotus goiavier)
- นกปรอดหลังเขียวอกลาย (Ixos malaccensis หรือ Hypsipetes malaccensis)
- นกปรอดหลังฟู (Tricholestes criniger หรือ Hypsipetes criniger)
- นกปรอดหัวโขน หรือ นกกรงหัวจุก (Pycnonotus jocosus)
- นกปรอดหัวโขนก้นเหลือง (Pycnonotus xanthorrhous)
- นกปรอดหัวตาขาว (Pycnonotus flavescens)
- นกปรอดหัวสีเขม่า (Pycnonotus aurigaster)
- นกปรอดเหลืองหัวจุก (Pycnonotus melanicterus)
- นกปรอดอกลายเกล็ด (Pycnonotus squamatus)
- นกปรอดโอ่งแก้มเทา (Criniger bres)
- นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล (Criniger ochraceus)
- นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ (Criniger pallidus)
- นกปรอดโอ่งไร้หงอน (Criniger phaeocephalus)
- นกปรอดโอ่งหน้าผากเทา (Alophoixus flaveolus หรือ Criniger flaveolus)
ทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองทั้งหมด[6] และมีบางชนิด คือ นกปรอดหัวโขน ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงอย่างแพร่หลาย[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Delacour, J. (1943): A revision of the genera and species of the family Pycnonotidae (bulbuls). Zoologica 28(1): 17–28.
- ↑ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ / เล่มที่ ๑ / เรื่องที่ ๔ นก / อนุกรมนก[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ปรอด ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-08-12. สืบค้นเมื่อ 2012-11-05.
- ↑ Fishpool et al. (2005)
- ↑ Advance Thailand Geographic ฉบับที่ 125 พ.ศ. 2553
- ↑ สัตว์ป่าคุ้มครอง
- ↑ ชาวแหลมสิงห์เพาะพันธุ์นกกรงหัวจุกขาย สร้างรายได้อย่างงดงาม จากผู้จัดการออนไลน์[ลิงก์เสีย]