นกปรอดหัวสีเขม่า

นกปรอดหัวสีเขม่า
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Pycnonotidae
สกุล: Pycnonotus
สปีชีส์: P.  aurigaster
ชื่อทวินาม
Pycnonotus aurigaster
(Vieillot, 1818)

นกปรอดหัวสีเขม่า หรือ นกแทดตากแดง[2] (ชื่อวิทยาศาสตร์: Pycnonotus aurigaster; อังกฤษ: Sooty-headed bulbul)[3] เป็นนกประจำถิ่นที่จัดอยู่ในประเภทสัตว์ป่าคุ้มครอง[4] พบเห็นได้ง่ายในทุกภาคของประเทศไทย ยกเว้นทางภาคใต้ จัดอยู่ในวงศ์นกปรอด (Pycnonotidae)

ลักษณะทั่วไป แก้

นกปรอดหัวสีเขม่าเป็นนกขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 18–20 เซนติเมตร ปากมีสีดำ เรียวแหลม และโค้งลงเล็กน้อย มีขนหนวด มีขนทรงพังค์เล็ก ๆ สีดำที่หัวด้านบน โดยส่วนนี้จะมีสีดำครอบตั้งแต่รอบดวงตาไล่มาถึงแก้มและจมูกซึ่งเป็นจุดเด่นของนกชนิดนี้ แก้มและคางมีสีเทาแกมขาว ตั้งแต่คางลงไปถึงใต้ท้องมีสีขาวนวล ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเทา บริเวณก้นมีสีส้มแดง สีแดงสด สีเหลือง โดยสีดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับช่วงเวลาหรือแหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน หางยาวมีสีน้ำตาลเทาเกือบดำ ส่วนปลายหางมีสีขาวเห็นได้ชัดเจนขณะบิน โดยตัวผู้กับตัวเมียมีลักษณะคล้าย ๆ กัน[5]

พฤติกรรม แก้

มักพบเป็นคู่ หรือฝูงเล็ก ๆ หากินบนต้นไม้ ช่วงเย็น ๆ อาจพบเกาะตามสายไฟเป็นคู่ ๆ

อาหาร แก้

หนอน แมลง ผลไม้สุก น้ำหวานของดอกแปรงล้างขวด

ถิ่นอาศัย แก้

พบตั้งแต่บริเวณที่ราบลุ่มจนถึงระดับความสูง 1,800 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่ง ป่าละเมาะ ภูเขาสูง พื้นที่การเกษตร และในสวน

การกระจายพันธุ์ แก้

ในประเทศไทยพบได้ในทุกภาค ยกเว้นภาคใต้และตอนล่างของภาคตะวันตก รวมทั้งพบได้ในประเทศทางแถบเอเชีย เช่น กัมพูชา พม่า ฮ่องกง จีน อินโดนีเซีย ลาว และเวียดนาม เป็นต้น

อ้างอิง แก้

  1. "Pycnonotus aurigaster". 2016. BirdLife International. 2016. สืบค้นเมื่อ 11 December 2018.
  2. ข้อมูลทรัพยากรชีวภาพสัตว์[ลิงก์เสีย]
  3. การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์จาก WolframAlpha
  4. อุทยานธรรมชาติวิทยาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ[ลิงก์เสีย]
  5. สัตว์โลกน่ารัก

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Pycnonotus aurigaster ที่วิกิสปีชีส์