สวนพฤกษศาสตร์ลาลบาฆ (อังกฤษ: Lalbagh Botanical Gardens) หรือ ลาลบาฆ (Lalbagh) เป็นสวนพฤกษศาสตร์เก่าแก่ในเบงคลูรู ประเทศอินเดีย เริ่มวางแผนสร้างในยุคของไฮเดอร์ อาลี (Hyder Ali) และต่อมาบุตรของเขา ติปูสุลต่าน (Tipu Sultan) ก็ได้นำพันธุ์พืชแปลก ๆ มาเพิ่มเติมในสวน ต่อมาสวนนี้ถูกนำมาอยู่ภายใต้การบริหารของผู้ดูแลชาวบริเตน (British Superintendents) หลายคนจนกระทั่งอินเดียได้รับเอกราช นอกจากสวนนี้จะมีหน้าที่ในการควบคุมดูแลพันธุ์พืชต่าง ๆ และมูลค่าของพันธุ์พืชแล้ว ยังเป็นสวนและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ด้วยบ้านกระจก (glass house) จากทศวรรษ 1890s ที่ใช้จัดแสดงดอกไม้ต่าง ๆ ในปัจจุบันสวนลาลบาฆจัดการแสดงดอกไม้สองครั้ง คือในช่วงวันสาธารณรัฐ (26 มกราคม) และวันเอกราช (15 สิงหาคม)

ลาลบาฆ
Lalbagh
สวนพกษศาสตร์
บ้านกระจกแห่งลาลบาฆ
บ้านกระจกแห่งลาลบาฆ
ลาลบาฆ Lalbaghตั้งอยู่ในบังคาลอร์
ลาลบาฆ Lalbagh
ลาลบาฆ
Lalbagh
ที่ตั้งในเบงคลูรู
พิกัด: 12°57′N 77°35′E / 12.95°N 77.59°E / 12.95; 77.59
ประเทศอินเดีย
รัฐกรณาฏกะ
เขตนครเบงคลูรู (Bengaluru Urban)
ผู้ก่อตั้งไฮเดอร์ อาลี (Hyder Ali)
พื้นที่
 • ทั้งหมด0.971246 ตร.กม. (0.375000 ตร.ไมล์)

ประวัติ แก้

ไฮเดอร์ อาลี (Hyder Ali) ได้วางแผนการก่อสร้างสวนนี้เมื่อปี 1760 แต่เป็นบุตรของเขา ติปูสุลต่าน (Tipu Sultan) ที่เป็นผู้ก่อสร้างจนสำเร็จ คำว่า บาฆ (Bagh) เป็นภาษาฮินดูสถานแปลว่า สวน (garden) ส่วนที่มาของคำว่า ลาล (Lal) นั้นเป็นที่ถกเถียง อาจหมายถึงสีแดง หรือ เป็นที่รัก ("beloved") ไฮเดอร์ อาลี ตัดสินใจว่าจะสร้างสวนนี้ขึ้นเพื่อเทียบเท่ากับสวนโมกุล (Mughal Gardens) ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในยุคนั้น หลังการก่อสร้างเสร็จในสมัยของติปู สวนได้อยู่ภายใต้การบริหารของโมฮัมเม็ด อาลี (Mohammed Ali) และบุตร อับดุล เกเดอร์ (Abdul Khader) สวนแห่งนี้ได้แบบอย่างมาจากหมู่สวนโมกุลซึ่งเคยตั้งอยู่ที่เมือง Sira ห่างออกไป 120 กิโลเมตรจากเบงคลูรู[1]

ลาลบาฆนั้นก่อสร้างขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และเป็นที่ตั้งของนาฬิกาสวน (lawn-clock) เรือนแรกในประเทศอินเดีย และยังเป็นที่เก็บรวมรวมพืชหายากที่ใหญ่ที่สุดของอนุทวีปอินเดียอีกด้วย[2]

สมุดภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. Benjamin Rice, Lewis (1897). Mysore: A Gazetteer Compiled for the Government, Volume I, Mysore In General, 1897a. Westminster: Archibald Constable and Company. p. 834.
  2. "History of Lalbagh Botanical Garden". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 สิงหาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้