ลายประจำยาม
ลายประจำยาม เป็นลายไทย พื้นฐานอีกประเภทหนึ่ง นอกเหนือจากลายกระจัง และลายกระหนก เป็นลายที่ใช้สำหรับการออกลาย ผูกลาย (ประดิษฐ์ลาย) สำหรับลายอื่น ๆ ต่อไป เช่น ลายรักร้อย ลายหน้ากระดาน ลายประจำยามก้านแย่ง และลายราชวัตร เป็นต้น
ลักษณะของลายประจำยาม
แก้ลายประจำยาม จะอยู่ในรูปสี่เหลี่ยมทแยงมุม ประกอบด้วยวงกลมและกระจังใบเทศ ถ้าเป็นตัวย่อจะเป็นกระจังตาอ้อย
ลายประจำยามประเภทอื่น ๆ
แก้ลายประเภทอื่น ที่อยู่ในลักษณะเช่นเดียวกับลายประจำยาม ได้แก่ พุ่มทรงข้าวบิณฑ ลายหน้าขบ
ลักษณะของพุ่มทรงข้าวบิณฑ และลายหน้าขบ
แก้- ลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ จะอยู่ในรูปของสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง : สูง เท่ากับ 2 : 3 ส่วนบนและส่วนล่างเป็นกระจังใบเทศ ตรงกลางเป็นลักษณะกระจังตาอ้อย 2 ตัวหงายประกบกัน ด้านข้างมีการแบ่งแข้งสิงห์เหมือนกระจังใบเทศ
- ลายหน้าขบ จะมีลักษณะคล้ายลายพุ่มทรงข้าวบิณฑ แต่จะมีการประดิษฐ์เป็นหน้าของสัตว์หิมพานต์
หนังสืออ่านเพิ่ม
แก้- โพธิ์ ใจอ่อนน้อม คู่มือลายไทย โรงพิมพ์ธนาคารออมสิน พ.ศ. 2522.
- พระเทวาภินิมมิต สมุดตำราลายไทย โรงพิมพ์คุรุสภา พ.ศ. 2530. ISBN 974-0038-44-1
- สันติ เล็กสุขุม กระหนกในดินแดนไทย สำนักพิมพ์มติชน พ.ศ. 2539. ISBN 974-7120-30-5