ลาดทวีป (อังกฤษ: continental slope) เป็นพื้นลาดต่อเนื่องจากขอบทวีป เริ่มจากขอบของไหล่ทวีปไปจนถึงลาดตีนทวีป (continental rise) มีความลาดชันมาก 65 องศาต่อระยะทาง 1 กิโลเมตรทอดไปถึงระดับน้ำลึกประมาณ 3,600 เมตรหรือจนถึงจุดที่มีความชันน้อนกว่าจนเห็นเป็นสันชัดเจนนั้นคือส่วนแยกระหว่างลาดทวีปกับลาดตีนทวีป ความกว้างของลาดทวีปนั้นมีความกว้างไม่เท่ากันแต่ส่วนมากมีความกว้างโดยเฉลี่ยจะกว้างเป็น 2 เท่าของไหล่ทวีป ขอบนอกสุดของลาดทวีปจะติดต่อกับพื้นท้องมหาสมุทรหรือลาดตีนทวีป จะมีส่วนที่สามารถเห็นเป็นแนวที่เห็นได้ชัดเจน เพราะขอบของที่เป็นจุดต่อของลาดทวีปกับลาดตีนทวีปนั้นจะมีความชันน้อยกว่า[1]

ภูมิประเทศใต้ทะเล

ลักษณะ แก้

ลาดทวีปนี้เป็นส่วนขอบของเปลือกโลกที่เรียกว่าไซอัล และในบางส่วนของลาดทวีปและไหล่ทวีปนั้นอาจมีหุบเขาลึกอยู่เรียกว่าหุบผาชันใต้ทะเล (submarine canyon) หุบผาชันใต้ทะเลบางแห่งมีสาขาอยู่ด้วย ก้นหุบผาชันใต้ทะเลส่วนใหญ่มีความลึก 1,800–2,000 เมตร สาเหตุของการเกิดหุบผาชันใต้ทะเลนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีข้อการสันนิษฐานกันหลายอย่าง บ้างว่าเนื่องจากการเปลี่ยนระดับของหิน บ้างว่าเพราะคลื่นขนาดใหญ่ทำให้เกิดกระแสน้ำมหาสมุทรซึ่งไหลแรง ทำให้ส่วนนั้นสึกกร่อนไป บ้างว่าน้ำใต้ดินบริเวณนั้นลดน้อยลงทำให้เกิดการยุบตัวในส่วนมากหุบผาชันใต้ทะเลนั้นมักพบบริเวณใกล้จุดเกิดจากการพัดพากัดเซาะบริเวณดังกล่าวให้กลายเป็นร่องลึก และบริเวณเชิงหุบผาชันมักพบเนินตะกอนรูปพัดก้นสมุทร (abyssal fan) มีลักษณะคล้ายเนินตะกอนที่ถูกพัดพามา หรือเกิดจากปริมาณตะกอนกรวดทรายที่ถูกพัดพามาตกทับถมกัน[2]

อ้างอิง แก้

  1. ลาดทวีป
  2. "ลาดทวีป". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-08. สืบค้นเมื่อ 2016-10-02.