ลอสแอนเจลิสเลเกอส์
ลอสแอนเจลิส เละเกอร์ เป็นทีมบาสเกตบอลในลีกเอ็นบีเอ ในเมืองลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ตามสถิติเมื่อสิ้นสุดฤดูกาล 2004-05 เป็นทีมที่ชนะมากที่สุด (คือ 2,621 เกม) มีเปอร์เซนต์ชนะสูงสุด (61.9%) เล่นในรอบชิงชนะเลิศมากที่สุด (300ครั้ง) และชนะเลิศในลีกมากที่สุดเทียบเท่ากับทีมบอสตัน เซลติกส์ คือ 1 ครั้ง นอกจากนี้ยังมีสถิติชนะติดต่อกันมากที่สุดในฤดูกาลคือ 34เกม
ประวัติ
แก้ประวัติของเลเกอร์สเริ่มจากทีมดีทรอยต์ เจมส์ (Detroit Gems) ซึ่งเริ่มเล่นในปี ค.ศ. 1946 ในลีกเอ็นบีแอล (National Basketball League, NBL) เมื่อเล่นได้ปีเดียวและมีผลงานชนะเพียง 4 เกมแต่แพ้ 40 เกม เจ้าของเดิม ซี. คิง บอริง (C. King Boring) ได้ขายทีมให้กับ เบน เบอร์เกอร์ (Ben Berger) และ มอร์ริส ชาลเฟน (Morris Chalfen) เป็นมูลค่า 15,000 ดอลลาร์ (534,000 บาท โดยประมาณ) รวมทั้งจ้าง จอห์น คุนด์ลา (John Kundla) เข้ามารับหน้าโค้ชคนแรกให้กับทีม จากนั้นย้ายทีมจากเมืองดีทรอยต์ไปอยู่ที่เมืองมินนีแอโพลิส รัฐมินนีโซตา และเนื่องจากที่รัฐนี้มีทะเลสาบอยู่มากจึงใช้ชื่อใหม่ว่าเลเกอร์ (มาจากคำว่า lake ซึ่งแปลว่าทะเลสาบ) และยังคงใช้ชื่อนึ้หลังจากที่ทีมย้ายมาเล่นที่เมืองลอส แอนเจลิสก่อนเริ่มฤดูกาลปี ค.ศ. 1960
ก่อนที่จะมีลีกเอ็นบีเอ เลเกอร์สเล่นในลีกเอ็นบีแอล ในปี ค.ศ. 1947 และลีกบีเอเอ (Basketball Association of America, BAA) ในปี ค.ศ. 1948ซึ่งก็ได้แชมป์ของลีกทั้งสองปี เมื่อปี ค.ศ. 1949 ลีกเอ็นบีแอล และ บีเอเอ ก็รวมกันตั้งเป็นเอ็นบีเอซึ่งเลเกอร์สก็เข้าร่วมเป็นสมาชิก และสามารถคว้าตำแหน่งชนะเลิศได้ในหลายปีแรก ภายใต้การนำของ จอร์จ มิคาน (George Mikan) ผู้เล่นตำแหน่งเซ็นเตอร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคนั้นซึ่งเลเกอร์สได้มาเสริมทีมจากสิทธิ์การดราฟอันดับแรก หลังจากที่ทีม ดีทรอยต์ เจมส์ เดิมได้อันดับรั้งท้ายในเอ็นบีแอล
ทีมเลเกอร์สตกต่ำลงหลังจาก จอร์จ มิคาน เลิกเล่น มีผู้เข้าชมการแข่งขันน้อย ถึงแม้ว่ามีผู้เล่นเก่งอย่าง เอลกิน เบย์เลอร์ (Elgin Baylor) ก็ตาม ทำให้ทีมตัดสินใจย้ายเมืองเมื่อปี ค.ศ. 1960 ตามรอยทีมเบสบอลที่ชื่อ ดอจเจอร์สที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงหลังจากย้ายไปที่ลอส แอนเจลิส หลังจากย้ายทีมก็ได้ผู้เล่นที่เก่ง เช่น เจอร์รี เวสต์ (Jerry West) จากการดราฟ และซื้อตัว วิลต์ แชมเบอร์เลน (Wilt Chamberlain) มาจากทีมฟิลาเดลเฟีย เซเวนตีซิกเซอร์ส ก็ยังไม่สามารถเอาชนะทีมบอสตัน เซลติกส์ซึ่งเป็นแชมป์หลายสมัยในขณะนั้นได้จนกระทั่งปี ค.ศ. 1972
ถึงแม้ว่ามี คารีม อับดุล-จับบาร์ (Kareem Abdul-Jabbar) เลเกอร์สไม่สามารถได้แชมป์อีกจนกระทั่งได้เออร์วิน จอห์นสัน (Earvin "Magic" Johnson หรือที่นิยมเรียกว่า เมจิก จอห์นสัน) มาเล่นในปี ค.ศ. 1979 ในปีต่อ ๆ มาได้ เจมส์ เวอร์ที (James Worthy) และ ไบรอน สก็อตต์ (Byron Scott) เลเกอร์สในยุคนี้มีฉายาว่า โชว์ไทม์ (Showtime) และมีชื่อเสียงในเรื่องการบุกทำคะแนน ในยุคนี้เลเกอร์สามารถชนะเลิศได้หลายสมัย ก่อนที่จะค่อย ๆ เสื่อมลง ก่อนที่แมจิกจะประกาศว่าตนเองติดเชื้อเอดส์และเลิกเล่นในปี ค.ศ. 1991 (แมจิกกลับมาเล่นให้ทีมอีกครั้งเมื่อต้นปี ค.ศ. 1996 และเลิกเล่นถาวรหลังหมดฤดูกาลนั้น)
ก่อนฤดูกาล 1996-97 เลเกอร์lเซ็นสัญญาเซนเตอร์ร่างยักษ์ แชคิล โอนีล (Shaquille O'Neal ชื่อเล่นว่า แชค) ด้วยค่าตัวที่สูงถึง 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐในเวลา 7 ปี และเทรดเอาโคบี ไบรอันต์ (Kobe Bryant) จากทีมชาล็อต ฮอร์เนตส์ นักกีฬาที่เพิ่งดราฟมาจากระดับมัธยมปลาย ในช่วงนี้เลเกอร์สยังไม่สามารถพาทีมไปคว้าตำแหน่งชนะเลิศได้ โดยตกรอบเพลย์ออฟรอบหลัง ๆ ติดต่อกันทุกปี เมื่อ ค.ศ. 1999 เลเกอร์สได้ย้ายสนามใหม่จากเกรต เวสเทิร์น ฟอรัม (Great Western Forum) ไปที่ สเตเพิลส์ เซ็นเตอร์ (Staples Center) ได้หัวหน้าโค้ชใหม่คือฟิล แจ็คสัน (Phil Jackson) และเปลี่ยนระบบการเล่นใหม่เป็นแบบ ไทรแองเกิลออฟเฟนส์ (triangle offense) เลเกอร์สได้คว้าแชมป์ติดต่อกันสามสมัย ทำให้หัวหน้าโค้ช ฟิล แจ็คสัน มีสถิติชนะเลิศ 10 ครั้ง เป็นอันดับหนึ่งแซงโค้ช เรด เออบาค (Red Auerbach) ของทีมบอสตัน เซลติกส์ ที่ได้ 9 ครั้ง (ฟิล แจ็คสัน พาทีมได้แชมป์ในปี 2009) แต่สองปีต่อมามีปัญหาแพ้รอบเพลย์-ออฟโดยเฉพาะในฤดูกาล 2003-04 ซึ่งเซ็นสัญญาเอา คาร์ล มาโลน (Karl Malone) และแกรี เพย์ตัน (Gary Payton) นักกีฬาที่อนาคตจะติดหอเกียรติยศแต่ยังไม่เคยได้แชมป์สักครั้งหนึ่ง ประกอบกับความขัดแย้งระหว่าง แชค กับ โคบี ทำให้ต้องเปลี่ยนหัวหน้าโค้ชและเทรดแชคไปทีมไมอามี ฮีต แกรี เพย์ตัน ถูกเทรดไปทีมบอสตัน เซลติกส์ ส่วน คาร์ล มาโลน ประกาศเลิกเล่น
ฤดูกาล 2004-05 เป็นปีที่ตกต่ำของเลเกอร์ส มีผู้เล่นระดับซุปเปอร์สตาร์เพียง โคบี ไบรอันต์ โดยลำพังไม่สามารถพาทีมได้ อีกทั้งมีปัญหาคดีความทางศาลของ โคบี และปัญหาสุขภาพของหัวหน้าโค้ชใหม่ รูดี ทอมยาโนวิช (Rudy Tomjanovich) ทำให้ต้องออกจากการเป็นหัวหน้าโค้ชกลางคัน โดยฟิล แจ็คสัน กลับมาเป็นหัวหน้าโค้ชอีกครั้ง แต่จากผลงานปีที่ผ่านมา แค่ได้เข้ารอบเพลย์-ออฟก็ถือเป็นความสำเร็จแล้ว และเมื่อฤดูกาล 2010-2011 ฟิล แจ็คสัน ก็ได้ประกาศลาออก และวางมือจากการเป็นโค้ชใน NBA หลังจากที่ทีมเลเกอร์สแพ้ต่อทีมดัลลัส แมฟริกส์ 4-0 เกม ในรอบเพลย์-ออฟ ซึ่งในฤดูกาล 2011-2012 ทีมเลเกอร์สได้ ไมค์ บราวน์มาเป็นโค้ช ต่อด้วย ไมค์ ดี. แอนโธนี ในฤดูกาล 2012-2013 ซึ่งได้เข้าไปเล่นในรอบเพลย์-ออฟในฤดูกาลนี้ แต่ก็พ่ายให้กับทีมซานแอนโตนีโอ สเปอร์ส 4-0 เกม และต่อเนื่องในฤดูกาล 2013-2014 ซึ่งในฤดูกาลนี้เลเกอร์สมีผลงานที่ย่ำแย่โดยพ่ายให้กับทีมร่วมเมือง ลอส แอนเจลิส คลิปเปอร์ส 142-94 ถือเป็นความพ่ายแพ้ที่มีแต้มห่างมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของทีมถึง 48 แต้ม โดยหลังจากจบฤดูกาลมิตช์ คัพเชก ผู้จัดการทั่วไปได้เซ็นสัญญา ไบรอน สก็อตต์ (Byron Scott) อดีตผู้เล่นของทีมมารับหน้าที่เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนคนใหม่ของทีมตั้งแต่ฤดูกาล 2014-2015 เป็นต้นไป
เสื้อนักกีฬาที่พ้นจากตำแหน่ง
แก้- หมายเลข 8 โคบี ไบรอันต์ 1996-2016
- หมายเลข 13 วิลต์ แชมเบอร์เลน 1968-1973
- หมายเลข 22 เอลกิน เบเลอร์ 1958-1972
- หมายเลข 24 โคบี ไบรอันต์ 1996-2016
- หมายเลข 25 เกล กูดริช 1965-1968, 1970-1976
- หมายเลข 32 แมจิก จอห์นสัน 1979-1991, 1995-1996
- หมายเลข 33 คารีม อับดุล-จับบาร์ 1975-1989
- หมายเลข 34 แชคิล โอนีล 1996-2004
- หมายเลข 42 เจมส์ เวอร์ที 1982-1994
- หมายเลข 44 เจอร์รี เวสต์ ปี 1960-1974
- ไมโครโฟน ชิค เฮอร์น (ผู้บรรยายกีฬา) 1961-2002
สถิติฤดูกาลที่ดี/แย่ที่สุด
แก้- ดี - 1971-72 (ชนะ 69 แพ้ 13)
- แย่ - 2015-16 (ชนะ 8 แพ้ 6)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Lakers Season-by-Season Records". Lakers.com. NBA Media Ventures, LLC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 4, 2019. สืบค้นเมื่อ February 10, 2019.
- ↑ "History: Team by Team" (PDF). 2019–20 Official NBA Guide (PDF). NBA Media Ventures, LLC. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ October 26, 2019. สืบค้นเมื่อ May 22, 2022.
- ↑ "NBA.com/Stats–Los Angeles Lakers seasons". Stats.NBA.com. NBA Media Ventures, LLC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 2, 2022. สืบค้นเมื่อ December 2, 2022.
- ↑ "Media Guidelines And Policies" (PDF). 2022–23 Los Angeles Lakers Media Guide (PDF). NBA Properties, Inc. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ November 8, 2022. สืบค้นเมื่อ November 8, 2022.
- ↑ "Lakers Uniform Schedule". Lakers.com. NBA Media Ventures, LLC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 9, 2022. สืบค้นเมื่อ November 8, 2022.
- ↑ "Los Angeles Lakers Reproduction and Usage Guideline Sheet". NBA Properties, Inc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 29, 2018. สืบค้นเมื่อ February 8, 2018.
- ↑ "Lakers x Bibigo". Lakers.com. NBA Media Ventures, LLC. September 21, 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 22, 2021. สืบค้นเมื่อ September 22, 2021.
- ↑ "Team Directory" (PDF). 2020–21 Los Angeles Lakers Media Guide (PDF). NBA Properties, Inc. December 20, 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2021. สืบค้นเมื่อ May 24, 2021.
อ่านเพิ่ม
แก้- Heisler, Mark (2009). Kobe and the New Lakers' Dynasty. Triumph Books. ISBN 978-1-60078-350-0.
- Kaye, Elizabeth (2003). Ain't No Tomorrow : Kobe, Shaq, and the Making of a Lakers Dynasty. McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-141261-2.
- Lazenby, Roland (2005). The Show: The Inside Story of the Spectacular Los Angeles Lakers In The Words of Those Who Lived It. McGraw-Hill. ISBN 978-0-07-143034-0.
- James P. Quirk; Rodney D. Fort (1997). Pay dirt: the business of professional team sports. Princeton University Press. ISBN 978-2-9505164-7-3. (available online)
- Alex Sacchare, บ.ก. (1994). Official Nba Basketball Encyclopedia (2nd ed.). Villard. ISBN 978-0-679-43293-7.
- Alex Sacchare, บ.ก. (2000). The Official NBA Basketball Encyclopedia (3rd ed.). Doubleday. ISBN 978-0-385-50130-9.
- Schumacher, Michael (2008). Mr. Basketball: George Mikan, the Minneapolis Lakers, and the Birth of the NBA. University of Minnesota Press. ISBN 978-0-8166-5675-2.
- Travers, Steven (2007). The Good, the Bad, and the Ugly Los Angeles Lakers: Heart-Pounding, Jaw-Dropping, and Gut-Wrenching Moments from Los Angeles Lakers History. Triumph Books. ISBN 978-1-60078-004-2.
- Simmons, Bill (2009). The Book of Basketball: The NBA According to The Sports Guy. ESPN. ISBN 978-0-345-51176-8.