[1]ริซาละห์ ฮุกูก (ตำราเกี่ยวกับสิทธิ)คือชื่อฮาดิษบทยาวจากท่านอิมาม อาลี อิบนิ ฮุเซน (อฺ) ที่รายงานจาก อบูฮัมซะ ซุมาลี [2]

เนื่องจากเนื้อหาสำคัญในตำราฉบับนี้ทำให้มีนักวิชาการหลายท่านแปลและเขียนอรรถาธิบายขึ้นมาตำราฉบับนี้ถูกแปลเป็นภาษา อังกฤษ อาร์เมเนีย [3] [4]ภาษาอูรดู

ขอบเขตเนื้อหาของตำรา แก้

ในตำราฉบับนี้ได้ทำการตรวจสอบสิทธิและหน้าที่ของมนุษย์ทั้งหมด ๕๑ สิทธิโดยแบ่งเป็นเจ็ดส่วนดังนี้ - สิทธิของพระองค์
- สิทธิของตัวตนและร่างกายของมนุษย์
- สิทธิของการกระทำที่เป็นอิบาดัต
- สิทธิของผู้ปกครองและประชาชน
- สิทธิของญาติพี่น้อง
- สิทธิทางสังคม
- สิทธิทางเศรษฐกิจ

ความหมายของสิทธิในตำราฉบับนี้ แก้

ในตำราฉบับนี้สิทธิหมายถึง บทบัญญัติ และหน้าที่ที่พระองค์ทรงกำหนดให้แก่มนุษย์ สิทธิต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดมิได้เป็นสิทธิที่ต้องทำสำหรับผู้ศรัทธา (วาญิบ)เท่านั้นแต่ยังครอบคลุมไปยังเรื่องที่สนับสนุนให้กระทำ(อิสติฮบาบ) นอกเหนือจากนั้นสิทธิต่าง ๆ ที่ถูกกำหนดในตำราฉบับนี้ไม่ได้สร้างข้อกำหนดว่าต้องกระทำ ที่หากละทิ้งแล้วจะพบกับบทลงโทษทางบทบัญญัติ แต่เป็นข้อกำหนดที่มาจากการกำหนดหน้าที่ทางจริยธรรมอันดีงามของมนุษย์ผู้ศรัทธาคนหนึ่ง

คุณค่าทางสายรายงานของตำรา แก้

หนังสือแหล่งฮาดิษที่เก่าแกที่สุดและได้บันทึกตัวบทตำราฉบับนี้อย่างครบถ้วนมีดังต่อไปนี้ - ตะฮะฟุลอุกูล โดยฮาซัน อิบนิ อาลี อิบนิ ฮูเซน อิบนิ ชุอฺบะ ฮะรอนี /เสียชีวิตเมื่อปี ๓๘๑ ฮ.ค ในตำราเลมนี้ได้กล่าวถึง ๕๐ สิทธิโดยไม่ได้กล่าวถึงสายรายงาน
- คิศอล โดยท่านเชคศอดูก
- มัน ลา ยะฮฎอรอฮุล ฟะกิฮ
โดยเชคศอดูก ในตำราสองเล่มนี้นอกเหนือจาก ๕๐ สิทธิท่านเชคศอดูกได้เพิ่มเติมอีก ๑ สิทธิ คือสิทธิของการทำฮัจย์ แม้ว่าท่านไม่ได้กล่าวถึงสิทธิของการทำฮัจย์ในบทนำของคิศอล นอกเหนือจากนั้นควรกล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับสายรายงานว่า 1. ในหนังสือ มัน ลา ยะฮฎอรอฮุล ฟะกิฮไม่ได้มีการกล่าวถึงสายรายงาน ดังนั้นฮาดิษขาดตอนในเรื่องของสายรายงาน เช่นเดียวกันฮาดิษที่ถูกกล่าวถึงในหนังสือทั้งสามเล่มมีความแตกต่างกัน


 2. ในสายรายงานของตำราคิศอลไม่มีชื่อของ อิสมาอีล อิบนิ ฟัฎล์อยู่

 3. ในหนังสือ มัน ลา ยะฮฎอรอฮุล ฟะกิฮ ไม่ได้กล่าวว่า สิทธิต่าง ๆ มาจากท่านอิมามสัจจาด(อฺ)ในขณะที่ในคิศอลได้กล่าวถึงสิ่งนี้[5]


منابع แก้

แม่แบบ:پانویس

  1. {{cite book}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  2. {{cite book}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  3. «انتشار ترجمه ارمنی «رساله حقوق امام سجاد (ع)» در ارمنستان». پایگاه اطلاع رسانی استاد حسین انصاریان. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  4. «رساله حقوق امام سجاد به زبان هندی و اردو منتشر شد»[ลิงก์เสีย]. خبرگزاری رسا. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)
  5. {{cite web}}: Citation ว่างเปล่า (help)