ระบบอัตโนมัติภายในอาคาร

ระบบอัตโนมัติภายในอาคาร (building automation) หรือ อาคารอัจฉริยะ (smart building / intelligent building)[1] เป็นระบบอัตโนมัติที่ควบคุมส่วนประกอบต่างๆ ภายในอาคารได้แก่ ระบบปรับอากาศ ระบบแสงสว่าง ระบบการเข้าออก ระบบความปลอดภัย และระบบอื่นที่เชื่อมโยงภายใต้ระบบบริหารอาคาร โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ใช้อาคาร โดยในปัจจุบันเริ่มมีการประยุกต์ใช้กับบ้านพักอาศัยมากขึ้นโดยเรียกว่า ระบบอัตโนมัติภายในบ้าน หรือบ้านอัจฉริยะ ภายใต้การทำงานผ่านโครงข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบระบบการควบคุมแบบกระจาย[2][3] อาคารปัจจุบันที่เป็นอาคารเขียวมักถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับระบบอัตโนมัติเน้นในด้านพลังงาน การอนุรักษ์น้ำ

NEST ระบบควบคุมอุณหภูมิอัตโนมัติ

เป้าหมายของระบบอัตโนมัติภายในอาคารคือลดการใช้พลังงานและค่าดูแลซ่อมแซมภายในอาคาร อาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรมในปัจจุบันมักมีระบบอัตโนมัติติดตั้งมาในช่วงงานก่อสร้าง โดยอาคารเก่าที่สร้างก่อนหน้าเริ่มมีการทยอยดการติดตั้งเพื่อใช้ในการลดพลังงานและลดค่าใข้จ่ายในการประกันภัย

ประเภทของการนำเข้าและการส่งออก

แก้
 
ระบบอัตโนมัติภายในอาคาร

เซนเซอร์

แก้

การนำเข้าแบบแอนะล็อกสำหรับวัดค่าที่มีการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น อุณหภูมิ ความชื้น ความดัน ส่วนการนำเข้าแบบดิจิทัลเป็นการนำเข้าแบบ เปิดและปิด เช่น สวิตช์ การเปิดปิดประตู สวิตช์การไหลของอากาศ รีเลย์

ตัวควบคุม

แก้

ตัวควบคุมแอนะล็อกจัดการเรื่องความเร็วหรือตำแหน่งของอุปกรณ์ ขณะที่ตัวควบคุมดิจิทัลใช้ในการเปิดและปิดรีเลย์หรือสวิตช์ โดยใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์

มาตรฐาน

แก้

อาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรมมีการใช้งานผ่านโพรโทคอล เช่น BACnet ขณะที่บ้านพักอาศัยใช้โพรโทคอล X-10 โดยล่าสุด มาตรฐานของ IEEE (นิยมใช้ IEEE 802.15.4, IEEE 1901, IEEE 1905.1, IEEE 802.21, IEEE 802.11ac, IEEE 802.3at) และ nVoy (สอดคล้องกับมาตรฐาน IEEE 1905.1 ) และ QIVICON ได้กำหนดรากฐานของมาตรฐานสำหรับเครือข่ายร่วมกัน

มาตรฐานทั้งหมดในระบบอัตโนมัติภายในอาคารประกอบด้วย

อ้างอิง

แก้
  1. Dragoicea, M.; Bucur, L.; Patrascu, M. (2013). A Service Oriented Simulation Architecture for Intelligent Building Management. Proceedings of the 4th International Conference on Exploring Service Science 1.3. Lecture Notes in Business Information Processing. Vol. LNBIP 143. pp. 14–28. doi:10.1007/978-3-642-36356-6_2. ISBN 978-3-642-36355-9. S2CID 15117498.
  2. KMC Controls. "Understanding Building Automation and Control Systems". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 May 2013. สืบค้นเมื่อ 27 March 2013.
  3. "CEDIA Find: Cool Automation Integrates Smart Air Conditioners with Third-Party Control Systems". CEPro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 June 2015. สืบค้นเมื่อ 16 Jun 2015.