ระดับความพร้อมทางเทคโนโลยี

ระดับความพร้อมทางเทคโนโลยี (Technology readiness levels) ย่อว่า ทีอาร์แอล (TRL) เป็นเทคนิคในการประเมินระดับความสมบูรณ์ของเทคโนโลยีในช่วงระหว่างการพัฒนา โดยเทคนิคการประเมินนี้พัฒนาโดยนาซ่า ในช่วงปี ค.ศ. 1970 และถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในการประเมินเทคโนโลยีในหลากหลายประเทศ[1]

ระดับความพร้อมทางเทคโนโลยีของ NASA

ระดับการประเมินจะแบ่งออกเป็นระดับ 1 ถึง 9 โดยระดับ 9 คือเทคโนโลยีที่ความสมบูรณ์มากที่สุด[1] ตัวอย่างการใช้งาน อาทิเช่น กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้มีการใช้งานในการจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ช่วงต้นปี ค.ศ. 2000 องค์การอวกาศยุโรปได้มีการใช้งานตั้งแต่ปี ค.ศ. 2008[2] ในปี ค.ศ. 2010 คณะกรรมาธิการยุโรปได้มีข้อเสนอให้ผู้ที่จะขอทุนวิจัย ให้มีการนำเสนอระดับความพร้อมในการยื่นขอทุนวิจัยโดยเฉพาะโครงการ Horizon 2020[1] ในปี ค.ศ. 2013 ได้มีการพัฒนามาตรฐานโดยองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน พัฒนา ISO 16290:2013 ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน[1]

ประวัติ แก้

ระดับความพร้อมทางเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ครั้งแรกโดยนาซ่าในปี ค.ศ. 1974 และถูกใช้อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1989 โดยในช่วงเริ่มต้นได้มีการแบ่งระดับไว้เป็น 7 ระดับ และได้เปลี่ยนมาเป็น 9 ระดับที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันในปี ค.ศ. 1990[3]

ต้นฉบับระดับความพร้อมทางเทคโนโลยีของนาซ่า ประกอบด้วย[4]

ระดับที่ 1 – การสังเกต ติดตาม และรายงานองค์ความรู้พื้นฐาน
ระดับที่ 2 – การยืนยันความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งาน
ระดับที่ 3 – การสาธิตการใช้งาน การวิเคราะห์ และการทดสอบ
ระดับที่ 4 – การยืนยันในการทดลองของส่วนประกอบในห้องวิจัย
ระดับที่ 5 – การยืนยันในการทดลองของส่วนประกอบส่วนประกอบในสภาวะแวดล้อมจริง
ระดับที่ 6 – การยืนยันการใช้งานระบบในสภาวะแวดล้อมจำลอง
ระดับที่ 7 – การยืนยันการใช้งานระบบในอวกาศ

แนวทางรูปแบบอื่น แก้

ได้มีการนำแนวทางระดับความพร้อมทางเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ อาทิ

  • Societal Readiness Level (SRL) ระดับความพร้อมทางสังคม[5]
  • Process Readiness Level (PRL) ระดับความพร้อมทางกระบวนการ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Mihaly, Heder (September 2017). "From NASA to EU: the evolution of the TRL scale in Public Sector Innovation" (PDF). The Innovation Journal. 22: 1–23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ October 11, 2017.
  2. "Technology Readiness Levels Handbook for Space Applications" (PDF) (1 revision 6 ed.). ESA. September 2008. TEC-SHS/5551/MG/ap.
  3. Banke, Jim (20 August 2010). "Technology Readiness Levels Demystified". NASA.
  4. Sadin, Stanley R.; Povinelli, Frederick P.; Rosen, Robert (October 1, 1988). The NASA technology push towards future space mission systems. International Astronautical Congress, 39th, Bangalore, India, Oct. 8-15, 1988.
  5. ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ คู่มือระบบ NRIIS นักวิจัยเสนอขอทุนวิจัย.pdf เก็บถาวร 2022-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น แก้