ยุทธการที่เลอเมนีล-ปาทรี

ยุทธการที่เลอเมนีล-ปาทรี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นการโจมตีครั้งสุดท้ายโดยกลุ่มกองกำลังรบติดอาวุธที่ดำเนินการโดยทหารแคนาดาในนอร์ม็องดีในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1944 ปืนไรเฟิลของสมเด็จพระราชินีแห่งแคนาดาของกองพลน้อยทหารราบแคนาดาที่ 8 ของกองพลแคนาดาที่ 3 ได้รับการสนับสนุนโดยกรมทหารยานเกราะที่ 6 (ฮุสซาร์ที่ 1) ของกองพลน้อยยานเกราะแคนาดาที่ 2 เข้าโจมตีหมู่บ้านเลอเมนีล-ปาทรีในนอร์ม็องดี เพื่อรุกไปทางตอนใต้สู่ระดับที่สูงขึ้นของเนิน 107 ทางตะวันตกของเชอ (Cheux) การโจมตีครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนปฏิบัติการครั้งใหญ่โดยกองพลทหารราบที่ 50 (นอร์ทัมเบรีย) และกองพลยานเกราะที่ 7 เพื่อเข้ายึดครองเมืองก็องและรุกเข้าไปในใจกลางของหัวหาดที่อยู่ถัดไปจากกองทัพสหรัฐที่หนึ่ง การรบครั้งนี้เยอรมนีประสบความสำเร็จในการตั้งรับเอาไว้ได้แต่เป้าหมายของเยอรมนีในการเอาชนะฝ่ายรุกรานโดยการรุกโจมตีตอบโต้กลับนั้นล้มเหลว

ยุทธการที่เลอเมนีล-ปาทรี
ส่วนหนึ่งของ ยุทธการที่ก็อง

แผนที่เลอเมนีล-ปาทรีและคริสโต
วันที่11 มิถุนายน ค.ศ. 1944
สถานที่49°11′45″N 0°32′37″W / 49.19583°N 0.54361°W / 49.19583; -0.54361
ผล เยอรมนีชนะ
คู่สงคราม
 แคนาดา  ไรช์เยอรมัน
กำลัง
The Queen's Own Rifles of Canada
1st Hussars
12th SS Panzer Division
ความสูญเสีย
เสียชีวิตหรือสูญหาย 116 นาย
บาดเจ็บ 35 นาย
ถูกจับกุม 22 นาย
รถถัง 51 คัน
ตาย 189 นาย
รถถังพันเซอร์ 4 3–14 คัน
Le Mesnil-Patryตั้งอยู่ในฝรั่งเศส
Le Mesnil-Patry
Le Mesnil-Patry
Le Mesnil-Patry, a former commune in the Calvados department of Normandy
แม่แบบ:Campaignbox Normandy

ทั้งสองฝ่ายต่างได้เปลี่ยนกลยุทธ์ภายหลังจากการบุกครองในสัปดาห์แรก เยอรมนีได้สร้างการป้องกันในเชิงลึก ด้วยกองกำลังรถถังที่ถูกสงวนเอาไว้สำหรับการโจมตีตอบโต้กลับที่จำกัด ด้วยความตั้งใจที่จะชะลอการรุกคืบภายในประเทศของฝ่ายสัมพันธมิตรและหลีกเลี่ยงการเกิดบาดเจ็บล้มตายและการสูญเสียอาวุธยุทโธปกรณ์จนกว่าจะได้รับการเสริมกำลัง ฝ่ายสัมพันธมิตรได้เริ่มที่จะสะสมเสบียงเพื่อทำการโจมตีล้างผลาญ แทนที่จะสู้ด้วยปฏิบัติการแบบเคลื่อนที่โดยรถถังจำนวนมากเพื่อสนับสนุนทหารราบ ความโหดร้ายที่มากขึ้นโดยทหารของกองพลยานเกราะเอ็สเอ็สที่ 12 "ยุวชนฮิตเลอร์" ที่มีต่อเชลยศึกชาวแคนาดาได้เกิดขึ้นและคำสั่งที่ได้มอบหมายโดยผู้บัญชาการแคนาดาระดับชั้นผู้น้อยให้หลีกเลียงการจับเชลยศึกชาวเยอรมันเพื่อเป็นการแก้แค้น แต่ต้องถูกยกเลิกโดยผู้มีอำนาจระดับสูงซึ่งไม่นานพวกเขาได้พบเจอเข้า ปฏิบัติการรุกของแคนาดาในพื้นที่ของกองพลทหารราบแคนาดาที่ 3 ได้ยุติลง นอกเหนือจากการจู่โจมและการลาดตระเวนสอดแนม จนกระทั่งเหล่ากองทัพที่ 8 ได้เริ่มปฏิบัติการเอปซัมเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน

อ้างอิง แก้

  • Copp, T. (2003). Fields of Fire: The Canadians in Normandy. Toronto: University of Toronto Press. ISBN 0-8020-3780-1.
  • Ellis, Major L. F.; with Allen RN, Captain G. R. G.; Warhurst, Lieutenant-Colonel A. E. & Robb, Air Chief-Marshal Sir J. (2004) [1962]. Butler, J. R. M. (ed.). Victory in the West: The Battle of Normandy. History of the Second World War: United Kingdom Military Series. I (Naval & Military Press ed.). London: HMSO. ISBN 1-84574-058-0.
  • Ford, K. (2004). Sword Beach. Battle Zone Normandy. Stroud: Sutton Publishing. ISBN 0-7509-3019-5.
  • Keegan, J. (1989). The Times Atlas of the Second World War (Crescent Books 1995 ed.). London: Times Books. ISBN 0-51712-377-0.
  • Margolian, H. (1998). Conduct Unbecoming: the Story of the Murder of Canadian Prisoners of War in Normandy. Toronto: University of Toronto Press. ISBN 0-80204-213-9.
  • Martin, C. C.; Whitsed, R. (2008). Battle Diary: From D-Day and Normandy to the Zuider Zee and VE. Toronto: Dundurn Press. ISBN 1-55488-092-0.
  • McKee, A. (1972) [1964]. Caen: Anvil of Victory (Pan ed.). London: Souvenir Press. ISBN 978-0-330-23368-2.
  • Reid, B. A. (2005). No Holding Back: Operation Totalize, Normandy, August 1944. Toronto: Robin Brass Studio. ISBN 1-896941-40-0.
  • Scarfe, N. (2006) [1947]. Assault Division: A History of the 3rd Division from the Invasion of Normandy to the Surrender of Germany. Stroud, Gloucestershire: Spellmount. ISBN 1-86227-338-3.
  • Stacey, C. P.; Bond, C. C. J. (1960). The Victory Campaign: The Operations in North-West Europe 1944–1945 (PDF). Official History of the Canadian Army in the Second World War. III. Ottawa: The Queen's Printer and Controller of Stationery. OCLC 606015967. Retrieved 14 June 2014.