ยานุส คอร์ซัค (Janusz Korczak) มีชื่อจริงว่า Henryk Goldszmit โดยทั่วไปเป็นที่รู้จักกันในชื่อ Old Doctor หรือ Mr. Doctor เกิดที่กรุงวอร์ซอว์ สาธารณรัฐโปแลนด์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2421 (หรือ พ.ศ. 2422ไม่เป็นที่แน่ชัด) เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 (หรือ 6) สิงหาคม พ.ศ. 2485 เขาเป็นชาวยิวจากโปแลนด์ที่ยืนยันมาตลอดชีวิตว่าเป็นคนของทั้งสองชาติ คือโปแลนด์และอิสราเอล ภายหลังถูกสังหารในค่ายมรณะของเยอรมันที่ Treblinka ระหว่างมีชีวิตอยู่เขาเป็นทั้งแพทย์ ครู นักเขียน นักหนังสือพิมพ์ นักกิจกรรมสังคม และ นายทหารแห่งกองทัพบกโปแลนด์ ยานุส คอร์ซัค เป็นทั้งครู และเป็นผู้เขียนสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติทางการศึกษา เขาเป็นผู้บุกเบิกด้านสิทธิเด็กและความเสมอภาคของเด็ก ในฐานะผู้อำนวยการสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า เขาได้ก่อตั้งศาลอนุญาโตตุลาการของเด็ก ซึ่งเปิดโอกาสให้เด็กสามารถจัดการกับประเด็นปัญหาต่างๆ ที่มี โดยเด็กจะได้รับอนุญาตให้สามารถดำเนินคดีต่างๆ กับครูของตนได้ Jean Piaget นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงชาวสวิส ซึ่งไปเยี่ยมสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าดังกล่าวได้กล่าวถึง ยานุส คอร์ซัค ว่า “ชายที่วิเศษคนนี้มีความกล้าที่จะเชื่อมั่นในเด็กและวัยรุ่นในการดูแลของเขา ถึงกับมอบหมายงานที่ยากที่สุดและต้องใช้ความรับผิดชอบสูงให้เด็กๆ ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน” ยานุส คอร์ซัค สร้างสรรค์นิตยสารฉบับแรกขึ้นมาเพื่อตีพิมพ์บทประพันธ์ต่างๆ ที่เด็กส่งเข้ามา และที่มีจุดมุ่งหมายใหญ่เพื่อเด็ก ชื่อ “The Little Review” เขาเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกการวิจัยเรื่องพัฒนาการและจิตวิทยาเด็ก ตลอดทั้งการวินิจฉัยเชิงการศึกษา

Janusz Korczak
Janusz Korczak

เยาวชนและการศึกษา แก้

ยานุส คอร์ซัค เกิดที่ กรุงวอร์ซอว์ ในครอบครัวชาวยิวโปแลนด์ เป็นบุตรชายของนักกฎหมายชื่อ Joseph Goldschmit (พ.ศ. 2387 – พ.ศ. 2439) กับนาง Cecylia สกุลก่อนสมรส Gebicka (พ.ศ. 2396/97– พ.ศ. 2463) ไม่พบสูติบัตรดั้งเดิมของเขา ดังนั้นวันที่เขาเกิดจึงยังไม่แน่นอน แต่เดิมนั้น ครอบครัว Goldschmit มาจากภูมิภาค Lublin และครอบครัว Gebicki มาจากภูมิภาค Poznan ตาทวดของเขาชื่อ Maurycy Gebicki และปู่ของเขาชื่อ Hersz Goldschmit ท่านเป็นแพทย์ทั้งคู่ หลุมฝังศพบิดาของ ยานุส คอร์ซัค และตายายของเขา อยู่ที่สุสานชาวยิว บนถนน Okopowa ในกรุงวอร์ซอว์ (ไม่พบหลุมฝังศพมารดาของเขา) สภาพทางเศรษฐกิจที่ดีในตอนแรกของครอบครัว Goldszmit เริ่มแย่ลงเนื่องจากการป่วยทางจิตของบิดาของเขา ซึ่งในช่วงต้นทศวรรษที่ 1890 ต้องเข้ารับการรักษาเป็นครั้งแรกที่สถาบันจิตเวชด้วยอาการวิกลจริต บิดาของเขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2439 หลังจากการเสียชีวิตของบิดา ยานุส คอร์ซัค ซึ่งในขณะนั้นเป็นนักศึกษาอายุเพียง 17/18 ปี ได้เริ่มทำงานเป็นครูสอนพิเศษเพื่อช่วยเหลือครอบครัว มารดาของเขาคือ Cecilia Goldszmit ให้เช่าช่วงห้องต่างๆ ใน อพาร์ทเม้นท์ ที่กรุงวอร์ซอว์ ยานุส คอร์ซัค ผ่านการสอบไล่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (“matura”) และสำเร็จการศึกษาเมื่ออายุ 20 ปี เมื่อยังเป็นเด็ก ยานุส คอร์ซัค อ่านหนังสือมาก หลายปีต่อมาเขาได้บันทึกไว้ในบันทึกประจำวัน ซึ่งเขียนขึ้นในขณะที่อยู่ในเกตโต ว่า “ข้าพเจ้าเป็นคนคลั่งไคล้กับการอ่านมาก โลกทั้งใบจะหายไปหมดต่อหน้าข้าพเจ้า มีเพียงหนังสือเท่านั้นที่ยังคงอยู่” ในปี พ.ศ. 2441 เขาลงทะเบียนเรียนที่ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัย Imperial ใน กรุงวอร์ซอว์ ในฤดูร้อนของปี พ.ศ. 2442 เขาไปต่างประเทศเป็นครั้งแรก โดยไปที่สวิตเซอร์แลนด์ ที่ซึ่งเขาเรียนรู้เกี่ยวกับกิจกรรมและผลงานครูของ Johann Heinrich Pestalozzi ต่อมาในปีเดียวกันนั้น เขาก็ถูกจับกุมคุมขังระยะสั้นๆ เนื่องจากกระทำกิจกรรมต่างๆ ในห้องสมุดแห่งสมาคมการกุศลวอร์ซอว์ เขาใช้เวลาในการศึกษา 6 ปี โดยเรียนซ้ำชั้นในปีที่ 1 นอกจากนั้นเขายังศึกษาที่มหาวิทยาลัย Flying ด้วย ในระหว่างที่ศึกษานั้น เขาได้เรียนรู้จากประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับชีวิตของชาวเกตโต ชนชั้นกรรมาชีพ และกรรมาชีพที่ล้มละลาย นอกจากนั้นเขายังเป็นสมาชิกของ “Sea Star” Masonic Lodge แห่งสมาพันธ์นานาชาติ “Le Droit Humain” ซึ่งก่อตั้งขึ้นเพื่อ “เอกภาพแห่งบุคคลต่างๆ ที่ถูกแบ่งแยกด้วยอุปสรรคด้านศาสนา และ เพื่อแสวงหาความจริงในขณะที่มีความเคารพต่อเพื่อนมนุษย์อื่นๆ”

แพทย์ แก้

ยานุส คอร์ซัค ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2448 ในเดือนมิถุนายนของปีเดียวกัน เขาถูกเกณฑ์ให้ไปเข้าร่วมกับกองทัพของพระเจ้าซาร์ แห่งรัสเซียในฐานะแพทย์ (โปแลนด์อยู่ภายใต้การยึดครองของรัสเซียในขณะนั้น) และระหว่างการเข้าร่วมสงครามรัสเซีย – ญี่ปุ่น เขาประจำการอยู่ที่ Harbin ที่ซึ่งเขาได้เรียนรู้ภาษาจีนจากเด็กในแมนจูเรีย เขากลับไปที่กรุงวอร์ซอว์ เมื่อปลายเดือนมีนาคม พ.ศ. 2449 ในระหว่างปี พ.ศ. 2448 – พ.ศ. 2455 เขาทำงานเป็นกุมารแพทย์ที่ โรงพยาบาลเด็ก Berson and Bauman และเพื่อแลกกับการได้อาศัยในอพาร์ทเม้นท์ในโรงพยาบาล “แพทย์ท้องถิ่น” ยานุส คอร์ซัค จึงปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ที่โรงพยาบาล และอุทิศตนให้กับงาน เขาไม่เคยหลีกเลี่ยงแหล่งชนชั้นกรรมาชีพในเมืองตลอดเวลาที่เป็นแพทย์ และให้การรักษาที่เท่าเทียมกัน เขามักจะคิดเงินเล็กน้อยมากสำหรับผู้ป่วยที่ยากจน หรือแม้แต่ให้เงินผู้ป่วยดังกล่าวเพื่อเป็นค่ายารักษา ในขณะเดียวกันเขาไม่ลังเลที่จะคิดเงินในจำนวนที่สูงจากผู้ป่วยที่ร่ำรวย ซึ่งสามารถกระทำได้เนื่องจากความนิยมที่มีต่อเขาในฐานะนักเขียน

ในปี พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2453/54 เขาเดินทางไปต่างประเทศเพื่อการศึกษา เขาเข้าฟังการบรรยาย เป็นแพทย์ฝึกหัดในคลินิกสำหรับเด็ก เยี่ยมบ้านเอื้ออาทรและสถานสงเคราะห์ต่างๆ เขาใช้เวลาเกือบหนึ่งปีที่เบอร์ลิน (พ.ศ. 2450 – พ.ศ. 2451) และสี่เดือนที่ปารีส (พ.ศ. 2453) และอีกหนึ่งเดือนที่ลอนดอน (พ.ศ. 2453 หรือ พ.ศ. 2454) อีกหลายปีต่อมา เขาได้เขียนไว้ว่า กรุงลอนดอนทำให้เขาตัดสินใจที่จะไม่มีครอบครัว แต่จะ “รับใช้เด็กและจุดหมายของเด็ก” แทน เขาทำงานกิจกรรมทางสังคมมากมายในขณะนั้น และเป็นสมาชิกสมาคมต่างๆ ซึ่งหนึ่งในจำนวนนั้นคือ Warsaw Hygiene Society (สมาคมอนามัยแห่งกรุงวอร์ซอว์) และ Summer Camp Society (สมาคมค่ายฤดูร้อน) ในปี พ.ศ. 2447, พ.ศ. 2450 และ พ.ศ. 2451 เขาทำงานที่ค่ายฤดูร้อนต่างๆ ที่จัดตั้งขึ้นสำหรับเด็กชาวยิวและโปแลนด์ โดยสมาคมค่ายฤดูร้อน ในปี พ.ศ. 2449 เขาได้ตีพิมพ์หนังสือ “Child of the Drawing Room” ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดียิ่งจากผู้อ่านและนักวิจารณ์ต่างๆ นับจากบัดนั้นและเนื่องจากชื่อเสียงที่ได้รับจากสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ ของเขา เขาจึงกลายเป็นกุมารแพทย์ที่มีชื่อเสียงและเป็นที่ต้องการในกรุงวอร์ซอว์ ในปี พ.ศ. 2452 เขาเข้าร่วมกับสมาคมชาวยิว ที่ชื่อว่า “Orphans Aid” (อุปถัมภ์เด็กกำพร้า) ซึ่งในอีกหลายปีต่อมาได้ก่อตั้งบ้านเด็กกำพร้าที่เขาเป็นผู้อำนวยการเองขึ้น ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาถูกเกณฑ์ให้ไปเข้าร่วมกับกองทัพของพระเจ้าซาร์อีกครั้งหนึ่ง เขาประจำการในฐานะหัวหน้าระดับต้นของโรงพยาบาลสนาม ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในยูเครน ในปีพ.ศ. 2460 เขาถูกเรียกตัวกลับไปทำงานการแพทย์ ณ ที่ลี้ภัยต่างๆ สำหรับเด็กยูเครน ใกล้กับเมือง Kiev สองปีก่อนหน้านั้นในระหว่างการพักร้อนช่วงสั้นที่เมือง Kiev เขาพบกับ Maria Rogowska Falska ซึ่งเป็นนักกิจกรรมชุมชนเสรีของโปแลนด์ และเป็นผู้บริหารจัดการบ้านพักสำหรับเด็กผู้ชายชาวโปแลนด์ หลังจากที่เขาเสร็จสิ้นการเกณฑ์ทหารในกองทัพบกรัสเซียในตำแหน่งร้อยเอก เขาได้กลับไปยังกรุงวอร์ซอว์ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2461 หลังจากการประกาศเอกราชของประเทศโปแลนด์ (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461) ยานุส คอร์ซัค ได้กลับไปทำงานที่กองทัพอีกไม่นานหลังจากนั้น ในครั้งนี้เขาถูกเกณฑ์ให้ไปเข้าร่วมกองทัพโปแลนด์ ที่ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ระหว่างสงครามโปแลนด์ – โซเวียต (พ.ศ. 2462 – พ.ศ. 2464) เขาประจำการในฐานะแพทย์ที่โรงพยาบาลทหารต่างๆ ในเมือง Lodz และ Warsaw ระหว่างนี้เองที่เขาเป็นไข้รากสาด อย่างไรก็ดีเขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นพันตรีในกองทัพบกโปแลนด์เนื่องจากการทำงานดีเด่นของเขา

ครู แก้

ทัศนะต่างๆ แก้

นับตั้งแต่อยู่ในวัยรุ่น ยานุส คอร์ซัค ให้ความสนใจกับปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก และได้รับอิทธิพลจากทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับ “การศึกษาใหม่” นอกจากนั้นเขายังได้รับแรงบันดาลใจจากทฤษฎีของลัทธิหัวก้าวหน้าในการสอน ซึ่งพัฒนาขึ้นจากปราชญ์กลุ่มหนึ่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ John Dewey รวมทั้งจากผลงานของ Decroly, Montessori, และครูในรุ่นแรก คือ Pestalozzi, Spencer และ Fröbel นอกจากนั้นเขายังคุ้นเคยกับแนวความคิดด้านการสอนของ Tolstoy โดยเขาเน้นที่ความจำเป็นในการสนทนากับเด็ก เขาตีพิมพ์และบรรยายในหัวข้อต่างๆ ที่เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กและการสอน เขามีประสบการณ์ในการทำงานกับเด็กครั้งแรกในฐานะครูสอนพิเศษ จากนั้นในฐานะนักกิจกรรมชุมชน และท้ายที่สุดในฐานะผู้อำนวยการบ้านเด็กกำพร้า และผู้ร่วมก่อตั้งสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าชื่อ Our Home ในช่วงระหว่างสงคราม เขาสอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ในประเทศ รวมทั้งสถาบันการศึกษาพิเศษแห่งชาติ (ปัจจุบันคือสถาบันการศึกษาพิเศษ Maria Grzegorzewska) และสถาบันศาสนศาสตร์ของรัฐสำหรับสอนศาสนายูดาย และสถาบันครูแห่งชาติ ยานุส คอร์ซัค สนับสนุนการเป็นอิสระของเด็ก การตัดสินใจด้วยตนเอง และการเคารพในสิทธิของเด็ก หลักการประชาธิปไตยที่ ยานุส คอร์ซัค ประยุกต์ใช้กับเด็กและผู้ใหญ่อย่างเท่าเทียมกัน ยังได้รับการปฏิบัติประจำวัน ที่สถาบันต่างๆ ของ ยานุส คอร์ซัค โดยผ่านระบบการปกครองตนเองของเด็ก

¹ จดหมายของ ยานุส คอร์ซัค ถึง Mieczyslaw Zylbertal ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2480 ใน หนังสือ ยานุส คอร์ซัค Works Vol. 14, tome 2, p. 213, Warsaw 2008 “เด็กเข้าใจและใช้เหตุผลเช่นเดียวกับผู้ใหญ่เพียงแต่เด็กยังไม่มีประสบการณ์มากมายเท่ากับผู้ใหญ่เท่านั้น” (จำเป็นต้องทราบแหล่งที่มา) นิตยสารที่ตีพิมพ์สำหรับเด็กและโดยเด็ก ถือเป็นสภาของเด็กและเป็นพื้นฐานการบ่มเพาะพรสวรรค์ใหม่ รวมทั้งเป็นเสาหลักของความเข้าใจ โดยเฉพาะเด็กจากครอบครัวชาวยิว Orthodox ในฐานะที่เป็นแพทย์ ยานุส คอร์ซัค เลือกที่จะใช้วิธีการฝึกเพื่อการอยู่ร่วมในสังคม ตลอดทั้งการดูแลเด็กแบบเบ็ดเสร็จและในเชิงนวัตกรรมสำหรับเด็กที่มาจากช่องว่างต่างๆ ของสังคม เขายืนยันว่า สถานที่ของเด็กคือการอยู่ร่วมกับเพื่อน ไม่ใช่ที่บ้าน เขาต่อสู้เพื่อดูแลให้เด็กได้ฝึกฝนความเชื่อในวัยเยาว์ และการเติบโตทางความคิด รวมทั้งอยู่ในกระบวนการของการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตในวัยผู้ใหญ่ เขาพยายามที่จะให้เด็กได้รับชีวิตวัยเยาว์ที่เป็นอิสระ แม้ว่าจะมิใช่อิสระจากหน้าที่ เขาเชื่อว่าเด็กควรจะได้เข้าใจและได้รับประสบการณ์ด้านอารมณ์ความรู้สึกจากสถานการณ์ การสรุปผลอย่างเป็นอิสระ และสามารถป้องกันผลต่างๆ ที่อาจเกิดตามมาได้ ยานุส คอร์ซัค เขียนไว้ว่า “อันที่จริงแล้วไม่มีความเป็นเด็กหรอก มีเพียงความเป็นมนุษย์เท่านั้น” ยานุส คอร์ซัค ถือว่าเด็กทุกคนที่ตนดูแลหรืออบรมเลี้ยงดูนั้นเป็นเสมือนบุตรของตน ซึ่งกิจกรรมต่างๆ ต่อมาของเขา ก็ได้ยืนยันทัศนคติดังกล่าว ความเชื่อในการอยู่เพื่อผู้อื่นของเขาจะไม่ทำให้เขาลำเอียงหรือแบ่งแยกเด็กกลุ่มใดที่ได้รับการคัดเลือกภายใต้การดูแลของเขาออกมา เขามิได้ถือว่าโครงสร้างครอบครัวดั้งเดิมเป็นสิ่งเชื่อมโยงที่สำคัญที่สุดทางสังคม เขาไม่ยอมรับหลักดังกล่าวที่สอนกันในสภาพแวดล้อมของคริสเตียนอนุรักษนิยมและชาวยิวหัวโบราณ องค์ประกอบสำคัญต่างๆ ในแนวความคิดด้านการศึกษาของ ยานุส คอร์ซัค มีดังต่อไปนี้

  • การปฏิเสธความรุนแรง ทั้งทางกายภาพและวาจา ที่มาจากคนที่มีอายุมากกว่า หรือมีหน้าที่การงานสูงกว่า
  • แนวความคิดเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ทางการศึกษาระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก ซึ่งทำให้คำจำกัดความของการสอนแบบยุคคลาสสิกนั้นกว้างออกไปมากขึ้น
  • ความเชื่อมั่นว่าเด็กเป็นมนุษย์เช่นเดียวกับผู้ใหญ่
  • หลักการที่กระบวนการศึกษาต้องคำนึงถึงปัจเจกภาพของเด็กแต่ละคน
  • ความเชื่อที่ว่าเด็กเป็นผู้ที่รู้ปัจจัยความต้องการ ความปรารถนา และอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ของตนมากที่สุด และดังนั้นจึงควรมีสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาความคิดเห็นจากผู้ใหญ่
  • การให้สิทธิกับเด็กที่จะได้รับการเคารพ ให้โอกาสที่จะเรียนรู้จากอวิชชาและล้มเหลวได้ สิทธิส่วนบุคคล ความคิดเห็นและทรัพย์สินส่วนตน
  • รับรู้กระบวนการพัฒนาการของเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก

การรับรู้ในปัจจุบัน แก้

ในปัจจุบันนี้ ยานุส คอร์ซัค ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้บุกเบิกทิศทางการศึกษาต่างๆ มากขึ้น ความเข้าใจในสิทธิของเด็กของ ยานุส คอร์ซัค เป็นประเด็นอ้างอิงจากผู้ประพันธ์ร่วมสมัยต่างๆ มากมาย ยานุส คอร์ซัค เชื่อว่า “การปฏิรูปโลกคือการปฏิรูปการศึกษา”

ถือว่า ยานุส คอร์ซัค เป็นผู้บุกเบิกคนหนึ่งในทิศทางการสอน ที่เรียกกันในปัจจุบันว่า “จริยศึกษา” แม้ว่า เขาจะมิได้สร้างสรรค์ทฤษฎีที่เป็นระบบไว้ในเรื่องนี้ แนวความคิดด้านการสอนที่ทันสมัยของเขาขึ้นอยู่กับภาคปฏิบัติจริง เขาไม่เห็นด้วยกับกฎเกณฑ์การสอนแบบตายตัว แม้ว่าเขาจะมีความเชี่ยวชาญในทิศทางการศึกษาและจิตวิทยาในขณะนั้นก็ตาม Igor Newerly กล่าวว่า ยานุส คอร์ซัค มิได้แสดงตนด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองใด หรือกฎเกณฑ์ทางการศึกษาใดเลย อย่างไรก็ตาม ถือว่า ยานุส คอร์ซัค เป็นผู้บุกเบิกในทิศทางต่างๆ Kohlberg กล่าวว่าผลงาน Children Just Community ของ ยานุส คอร์ซัค มีพื้นฐานมาจากภาคปฏิบัติต่างๆ ของเขา มีผู้กล่าวไว้ว่า ยานุส คอร์ซัค และ Paulo Freire มีทัศนะที่คล้ายคลึงกันในเรื่องประชาธิปไตยในโรงเรียน และในทฤษฎีของการสนทนา ผู้สนับสนุนความรักในการสอนอ้างทฤษฎีของตนจาก แบบอย่างของความสัมพันธ์ระหว่างครู – นักเรียน ที่พัฒนาขึ้นมาโดย ยานุส คอร์ซัค นอกจากนี้นักประพันธ์อื่นๆ ต่างค้นคว้าหาจุดเริ่มต้นของแนวโน้ม “การศึกษาในเรื่องศาสนา” ของ ยานุส คอร์ซัค และ Martin Buber อนึ่ง แนว ความคิดของ ยานุส คอร์ซัค ถูกนำไปใช้ใน “ลัทธิของการทำให้ปกติ” สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับเด็กที่พิการทางสติปัญญา วิธีการในการอบรมเลี้ยงดูเด็กของเขามีอิทธิพลต่อแนวความคิดริเริ่มด้านกฎหมายภายหลังสงครามสำหรับเด็ก ประเทศโปแลนด์ให้การสนับสนุนในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี และมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการเตรียมการสำหรับ ปฏิญญาว่าด้วยสิทธิต่างๆ ของเด็กในปีพ.ศ. 2502 และการเริ่มต้นก่อตั้ง “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิต่างๆ ของเด็ก” ที่ได้รับการรับรองจาก สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2532

The Orphans Home (สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า) และ Our Home (บ้านของเรา) แก้

ยานุส คอร์ซัค และ Stefania Wilczynska ได้ร่วมก่อตั้งและดำเนินกิจการ The Orphans Home ซึ่งตั้งอยู่ที่ 92 Krochmalna St. (ที่ตั้งปัจจุบันคือ 6 Jaktorowska St.) ซึ่งเป็นสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าในกรุงวอร์ซอว์ สำหรับเด็กชาวยิว ที่ได้รับเงินสนับสนุนจาก “Orphans Aid” Jewish Society เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2455 สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าดังกล่าวได้เริ่มต้นประกอบกิจการ และ ยานุส คอร์ซัค เริ่มเป็นผู้อำนวยการ โดยมี Ms. Stefania Wilczynska (พ.ศ. 2429 - พ.ศ. 2485) หรือที่รู้จักกันในชื่อ Stefa เป็นหัวหน้าผู้ให้การศึกษา ยานุส คอร์ซัค บริหารสถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้าดังกล่าวมาเป็นเวลา 30 ปี ครั้นปลายเดือนตุลาคมหรือต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2483 สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า The Orphans Home ถูกย้ายไปอยู่ในเกตโตที่ถนน Chlodna (เกตโต คือ แหล่งที่จำกัดให้ชาวยิวในโปแลนด์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน) ในการนี้ ยานุส คอร์ซัค ได้เข้าพบเจ้าหน้าที่ของรัฐเพื่อขอแทรกแซงการย้ายดังกล่าว แต่เขากลับถูกจับกุมโดยกลุ่มนาซีซึ่งจองจำเขาไว้ที่คุก Pawiak อย่างไรก็ดี ยานุส คอร์ซัค ได้รับการประกันตัวในเวลาไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้น

นับตั้งแต่ปีพ.ศ. 2462 ยานุส คอร์ซัค และ Maria Falska ร่วมกันบริหารสถานที่ดูแลเด็กอีกแห่งหนึ่ง คือ สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า Our Home สำหรับเด็กโปแลนด์ ซึ่งในตอนแรกตั้งอยู่ที่ Pruszkow ใกล้กับกรุงวอร์ซอว์ และนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2471 เป็นต้นมา ได้ย้ายไปที่เขต Bielany ในกรุงวอร์ซอว์ ความร่วมมือของ ยานุส คอร์ซัค กับ Falska ดำเนินไปจนถึงปี พ.ศ. 2479 และมีการใช้วิธีการสอนเชิงนวัตกรรมที่ สถานรับเลี้ยงเด็กกำพร้า Our Home ด้วย

ที่สถาบันทั้งสองแห่ง สำหรับเด็กอายุ 7-14 ปี จะใช้แนวความคิดของชุมชนการปกครองตนเอง ที่มีการสร้างสถาบันต่างๆ ของตน เช่น สภานิติบัญญัติ ศาล หนังสือพิมพ์ ระบบเวลาทำการ โนตารี และสหภาพสินเชื่อ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 (วันประกาศเอกราชของโปแลนด์) ยานุส คอร์ซัค ได้รับรางวัล The Officer’s Cross of the Order of Rebirth of Poland

นักประพันธ์ นักหนังสือพิมพ์ นักข่าววิทยุ แก้

ยานุส คอร์ซัค เริ่มงานครั้งแรกเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2439 กับนิตยสารล้อเลียนรายสัปดาห์ชื่อ “Kolce” ขณะนั้นเขาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จึงไม่สามารถตีพิมพ์สื่อได้อย่างเป็นทางการ ดังนั้นเขาจึงลงนามในงานของตนเองโดยใช้นามแฝงว่า “Hen” ต่อมาเขาได้ใช้นามแฝงอื่นๆ ด้วย เช่น Hen-Ryk, Hagot, Old Doctor อนึ่ง นามปากกา ยานุส คอร์ซัค ซึ่งเป็นการดัดแปลงเล็กน้อยจากชื่อ ยานุส คอร์ซัค เริ่มมีชื่อเสียงมากกว่าชื่อของเขาเอง และมีที่มาจากหนังสือของ J.I. Kraszewski ชื่อ “ยานุส คอร์ซัค and the Bladesmith’s Beautiful Daughter” เขาใช้นามปากกาดังกล่าวเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2441 ในการลงนามในละครเรื่องแรกของเขา ซึ่งเป็นละครสี่องก์ ชื่อ “Which way?” ซึ่งเขาส่งเข้าประกวดงานละคร แต่บทละครดังกล่าวก็ยุติการแสดงลงในปี พ.ศ. 2441 – พ.ศ. 2444 เขาตีพิมพ์ในวารสาร “Reading Room for Everyone” นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2443 เขาเริ่มต้นตีพิมพ์งานในนามของ ยานุส คอร์ซัค โดยเขาลงนามในจดหมายส่วนตัวด้วยชื่อดังกล่าว แต่ก็มิได้ยกเลิกนามปากกาอื่นๆ เสียทีเดียว ในนามของ Hen-Ryk เขาได้ร่วมมือกับนิตยสาร “Kolce” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444 เขาได้เริ่มต้นเขียนคอลัมน์ต่างๆ ในปี พ.ศ. 2448 ได้มีการคัดเลือกงานเขียนคอลัมน์ต่างๆ ของเขา เพื่อลงตีพิมพ์ในนิตยสาร “Kolce” ชื่อ “Fiddle-faddle” และนวนิยายเรื่อง “Children of the Street” (1901) ก็ได้ปรากฏในงานพิมพ์ด้วย มรดกของ ยานุส คอร์ซัค ในฐานะนักเขียน ประกอบด้วย หนังสือรวม 24 เล่ม และบทความมากกว่า 1,400 บท ที่ตีพิมพ์ในนิตยสารต่างๆ อย่างไรก็ตามคงเหลือต้นฉบับลายมือ ต้นฉบับพิมพ์ และเอกสารต่างๆ รวมทั้งจดหมายต่างๆ ไม่มากนัก โดยเหลืออยู่ประมาณ 300 บท ผลงานด้านการสอนที่ถือว่ามีความสำคัญมากที่สุด ได้แก่ ผลงานชุดที่มีสี่ฉบับ คือ “How to Love a Child” (พ.ศ. 2463), “Educational Moments” (พ.ศ. 2467), “When I am Little Again” (พ.ศ. 2468), “The Child’s Right to Respect” (พ.ศ. 2472) และ “Playful Pedagogy” (พ.ศ. 2482) สำหรับผลงานของเขาเกี่ยวกับเด็ก หนังสือชื่อ “King Matt the First” และ “King Matt on a Deserted Island” (พ.ศ. 2466) ได้รับความนิยมมากที่สุด และมีการแปลเป็นภาษาต่างๆ มากกว่า 20 ภาษา ส่วนหนังสืออื่นๆ ที่ได้รับความนิยมจะรวมถึง “Bankruptcy of Small Jack” (พ.ศ. 2467), “Rules of Life” (พ.ศ. 2473) และ “Kaytek the Wizard” (พ.ศ. 2478) ด้วย สำหรับผลงานด้านวรรณกรรม ยานุส คอร์ซัค ได้รับรางวัล Gold Academic Laurel of the Polish Literary Academy ในปี พ.ศ. 2480 ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาเก็บรักษาบันทึกประจำวันซึ่งมีความสำคัญ ด้วยตระหนักว่าสถานการณ์ต่างๆ ในอดีต และประสบการณ์ในช่วงสงครามของเขาเป็นที่มาของผลงาน ในงานด้านการสอน ยานุส คอร์ซัค ใช้เครื่องมือที่ทันสมัยเป็นอย่างมากในขณะนั้น เขาจัดทำหนังสือพิมพ์สำหรับเด็กและวัยรุ่น ชื่อ“The Little Review” (พ.ศ. 2469 - พ.ศ. 2482) ขึ้น หนังสือดังกล่าวเป็นภาคผนวกรายสัปดาห์ของหนังสือพิมพ์แห่งกรุงวอร์ซอว์ ชื่อ “Our Review” โดยฉบับแรกจำหน่ายเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2469 และเป็นนิตยสารฉบับแรกในประเทศโปแลนด์ ที่จัดทำขึ้นโดยเด็ก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2473 เป็นต้นมา นักเขียนชื่อ Jerzy Abramov ซึ่งรู้จักกันหลังจากสงคราม ในชื่อ Igor Newerly เป็นบรรณาธิการของหนังสือดังกล่าว และยังเป็นเลขานุการของ ยานุส คอร์ซัค อีกด้วย

กิจการหนังสือยังดำเนินต่อไป แม้ความรุนแรงของการต่อต้านยิว ความไม่สะกดกลั้นทางอารมณ์ และการแบ่งแยกเชื้อชาติในทศวรรษที่ 1930 จะเข้มข้นขึ้นก็ตาม หนังสือฉบับสุดท้ายตีพิมพ์ในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2482 ในฐานะปรมาจารย์ที่โดดเด่น “Old Doctor” ดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของตนโดยผ่านรายการวิทยุต่างๆ เขาใช้แนวทางของตนเองในการพูดคุยกับผู้ฟังรุ่นเยาว์ และคุยกับเด็กๆ เกี่ยวกับเรื่องสำคัญต่างๆ อย่างเรียบง่าย ในปี พ.ศ. 2479 รายการด้านการศึกษาของ “Doctor” ก็ถูกถอดออกจากรายการวิทยุ แม้ว่าจะมีการแสดงความคิดเห็นอย่างกระตือรือร้นจากผู้ฟังและนักวิจารณ์ต่างๆ ก็ตาม เนื่องจากการต่อต้านยิวที่รุนแรงขึ้นและแรงกดดันต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจากภายนอก ยานุส คอร์ซัค กลับไปจัดรายการวิทยุอีกในสองปีต่อมา และพูดคุยกับผู้ฟังสถานีวิทยุโปแลนด์หลังจากเกิดสงครามโลกในต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2482

สงครามโลกครั้งที่สอง เกตโต การเดินแถวครั้งสุดท้าย แก้

ในฐานะนายทหารของกองทัพบกโปแลนด์ หลังจากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ยานุส คอร์ซัค อาสาเข้าประจำการทหารแต่ไม่ได้รับอนุญาตเนื่องจากข้อจำกัดด้านอายุ ในระหว่างการยึดครองของเยอรมัน เขาสวมเครื่องแบบของกองทัพโปแลนด์ หากแต่ ยานุส คอร์ซัค ไม่เห็นด้วยกับการตราหน้าแบ่งแยกชาวยิวด้วย Star of David ที่กลุ่มนาซีบังคับ ซึ่งเขาถือเป็นการเหยียดหยามสัญลักษณ์ของยิว เขาใช้เวลาในช่วงหลายเดือนสุดท้ายของชีวิตอยู่ในเกตโตของกรุงวอร์ซอว์ (เกตโต คือ แหล่งที่จำกัดให้ชาวยิวในโปแลนด์ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน) Newerly ซึ่งในภายหลังเป็นผู้เขียนประวัติชีวิตของ ยานุส คอร์ซัค พยายามที่จะนำเอกสารปลอมไปช่วย ยานุส คอร์ซัค ให้ไปอยู่ในส่วน Arayan (อารยัน) หรือแหล่งที่ไม่ใช่ที่อยู่ของชาวยิว แต่ ยานุส คอร์ซัค ปฏิเสธที่จะออกไปจากเกตโต โดยกลับไปทำงานเขียนบันทึกประจำวัน ที่เขาเริ่มต้นเมื่อปี พ.ศ. 2482 ทว่า ณ เกตโตนั้น ยานุส คอร์ซัค มิได้เขียนสิ่งใดเลยเป็นเวลามากกว่าสองปีเนื่องจากเขาอุทิศพลังทั้งหมดไปในการดูแลเด็กที่ The Orphans Home และกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวกับสถานการณ์ของเด็กในเกตโต บันทึกประจำวันดังกล่าวได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกที่กรุงวอร์ซอว์ ในปี พ.ศ. 2501 โดยมีรายการสุดท้ายลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2485 ในช่วงเช้าของวันที่ 5 หรือ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2485 ที่ย่านเกตโตเล็ก ก็ถูกรายล้อมไปด้วยกำลังพล SS ของเยอรมัน และทหารจากกองทัพยูเครนและลัตเวีย ในระหว่างปฏิบัติการที่เรียกว่า “Great Action” ซึ่งถือเป็นการกำจัดประชากรในเกตโตของกรุงวอร์ซอว์โดยชาวเยอรมันครั้งสำคัญนั้น เขาก็ได้ปฏิเสธการเสนอให้ความช่วยเหลือต่างๆ อีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากไม่ต้องการที่จะทิ้งเด็กและเจ้าหน้าที่จาก The Orphans Home ไปนั่นเอง ในวันที่ถูกเนรเทศออกจากเกตโต ยานุส คอร์ซัค เป็นผู้นำขบวนเด็กของตนไปยัง Umschlagplatz ที่ซึ่งมีการขนส่งไปสู่ค่ายมรณะ มีเด็กประมาณ 200 คน และครูจำนวนไม่กี่สิบคน รวมทั้ง Stefania Wilczynska เข้าร่วมในการเดินแถว การเดินแถวครั้งสุดท้ายของพวกเขาได้กลายเป็นตำนานและกลายเป็นหนึ่งในเรื่องลี้ลับของสงครามและความทรงจำต่างๆที่สำคัญ ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีรายละเอียดที่สอดคล้องและเชื่อถือได้เสมอไป “ข้าพเจ้าไม่ต้องการเป็นผู้ทำลายความเชื่อต่างๆ แต่ต้องบอกว่าตนได้เห็นอะไรมาบ้าง บรรยากาศถูกซึมแทรกด้วยความเฉยชา คล้ายเครื่องจักร และความเฉยเมย เป็นอย่างยิ่ง ไม่มีเครื่องแสดงให้เห็นว่า ยานุส คอร์ซัค ก็อยู่ที่นั่นด้วย ไม่มีการแสดงความเคารพ (ดังเช่นบางคนกล่าวไว้) ไม่มีการแทรกแซงของเจ้าหน้าที่ยิวผู้รับใช้นาซีอย่างแน่นอน ไม่มีใครเข้ามาพูดจากับ ยานุส คอร์ซัค ไม่มีการให้สัญญาณ ไม่มีการร้องเพลง ไม่มีการเชิดหน้าอย่างภาคภูมิใจ ข้าพเจ้าจำไม่ได้ว่ามีใครถือธงของ The Orphans Home หรือไม่ แต่มีคนกล่าวถึงเรื่องดังกล่าว มีความเงียบสงัดที่น่ากลัว เด็กบางคนยึด ยานุส คอร์ซัค ไว้โดยใช้มือจับที่เสื้อผ้าของเขา พวกเขาเดินราวกับกำลังเข้าฌาน ข้าพเจ้าเดินไปกับเขาตลอดทางจนถึงประตูทางเข้า Umschlag” ในเอกสารฉบับอื่นๆ กล่าวว่า เด็กเดินแถวหน้ากระดานสี่คนและถือธง King Matt the First ซึ่งเป็นวีรบุรุษในนิยายเรื่องหนึ่งที่ครูของตนเขียนขึ้น เด็กแต่ละคนต่างถือของเล่นหรือหนังสือที่ตนเองโปรดปรานไปด้วย เด็กชายคนหนึ่งที่อยู่หัวขบวนเล่นไวโอลิน ชายชาวยูเครนและพวกหน่วย SS ของเยอรมัน หลายคนสะบัดแส้และยิงกลุ่มเด็กๆ แม้ว่าชายคนหนึ่งจากกลุ่มดังกล่าวซึ่งเป็นผู้นำขบวน จะแสดงอาการว่าเอ็นดูเด็กๆ อยู่เหมือนกันก็ตาม สุดท้าย ยานุส คอร์ซัค ก็ถูกสังหารพร้อมกับเด็กๆ ของเขาในค่ายมรณะของนาซี ที่ Treblinka

ในปี พ.ศ. 2491 หลังการเสียชีวิต เขาได้รับรางวัล Knight’s Cross of the Order of Rebirth of Poland

อัตลักษณ์ แก้

ยานุส คอร์ซัค ถูกระบุว่าเป็นทั้งชาวโปแลนด์และชาวยิว เขาต่อสู้เพื่อนำชาวโปแลนด์และชาวยิวให้เข้ามาใกล้ชิดกัน ภาษาโปแลนด์ถือเป็นภาษาหลักของ ยานุส คอร์ซัค และเป็นภาษาที่เขาใช้ในการเขียนงานต่างๆ เขาเริ่มศึกษาภาษาฮิบรูในช่วงทศวรรษที่ 1930 เมื่อเขาเริ่มรู้จักการเคลื่อนไหวของ Zionist (ผู้สนับสนุนการอพยพชาวยิวไปอยู่ที่ปาเลสไตน์) มากขึ้น เนื่องจาก ยานุส คอร์ซัค รู้ภาษาเยอรมันดี เขาจึงพอเข้าใจภาษายิดดิชเล็กน้อย (ภาษาฮิบรูปนเยอรมัน) ภาษายิดดิชถือเป็นภาษาหลักของชาวยิวในโปแลนด์ ในช่วงทศวรรษที่ 1930 ยานุส คอร์ซัค เริ่มให้ความสนใจในเรื่องการสถาปนาชาติใหม่ของชาวยิวมากขึ้น เขาร่วมมือกับผู้ทำวารสารต่างๆ ในองค์กรเยาวชน Zionist และเข้าร่วมการสัมมนาต่างๆ ขององค์กรดังกล่าว ในช่วงเวลานั้นเขาประสบกับภาวะวิกฤติในชีวิตส่วนตนและวิชาชีพ เขาจึงเดินทางไปยังปาเลสไตน์สองครั้งในปี พ.ศ. 2477 และ พ.ศ. 2479 ทำให้เขาผ่านพ้นวิกฤติดังกล่าวไปได้ ยานุส คอร์ซัค ได้เขียนไว้ว่า “การเข้าใจอดีต นำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาปัจจุบัน และเพื่อการมองไปข้างหน้า”

ภาพยนตร์ต่างๆ แก้

  • “You are Free, Dr. ยานุส คอร์ซัค ” หรือชื่อในภาษาเยอรมัน “Sie sind frei Doktor Korczak” เป็นภาพยนตร์เยอรมัน ที่กำกับโดย Alexander Ford เมื่อปี พ.ศ. 2518 ภาพยนตร์ดังกล่าวฉายภาพแห่งเวลาในช่วงหลายปีสุดท้ายของ ยานุส คอร์ซัค ซึ่งรับบทโดย Leo Genn
  • “ยานุส คอร์ซัค ” เป็นภาพยนตร์โปแลนด์สร้างในปี พ.ศ. 2533 ที่กำกับโดย Andrzej Wajda และบทภาพยนตร์โดย Agnieszka Holland เป็นภาพยนตร์ที่นำเสนอโชคชะตาของ Dr. Korczak และอาชญากรรมของนาซีที่กระทำต่อเด็กและผู้ให้ความรู้แก่เด็กที่มาจาก The Orphans Home ภายใต้ปฏิบัติการ “Operation Reinhardt” ของนาซี ผู้รับบท ยานุส คอร์ซัค คือ Wojciech Pszoniak

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  1. 1, 0 1, 1 1, 2 Joanna Olczak-Ronikier, Korczak, Próba biografii, W.A.B., Warszawa, 2011
  2. 50-lecie Polskiego Komitetu Korczakowskiego. Materiały na uroczyste spotkanie w dniach 6 i 7 XII 1996 w Warszawie, Warszawa: Polski Komitet Korczakowski, 1996
  3. Anolik B.: Pamięć przywołana, Kraków, Oficyna Cracovia, 1996
  4. Dębnicki K.: Korczak z bliska. Warszawa, LSW, 1985
  5. Falkowska, Maria: Kalendarz życia, działalności i twórczości Janusza Korczaka. Zakład Systemów Wychowawczych. Pracownia Korczakowska, Nasza Księgarnia, Warszawa 1989, ISBN 83-10-09142-7
  6. Falkowska M.: Stefania Wilczyńska (1886-1942). Matka sierot. Warszawa Korczakianum, 1997
  7. Humaniści o prawach dziecka. Red. J. Bińczycka Kraków: Impuls, 2000
  8. Jakubowski M.: Janusz Korczak i jego dokonania. Częstochowa, WSP, 1996
  9. Jaworski M.: Janusz Korczak. Warszawa, Interpress, 1977
  10. Janusz Korczak. Bibliografia polska 1896-1942. Heinsberg: Agentur Dieck, 1985
  11. Janusz Korczak. Bibliografia polska 1943-1987. Heinsberg: Agentur Dieck, 1987
  12. Janusz Korczak w getcie. Nowe źródła. Warszawa, Latona, 1992
  13. Janusz Korczak – życie i dzieło. Materiały z Międzynarodowej Sesji Naukowej Warszawa, 12-15 października 1978. Warszawa, WSiP, 1982
  14. Korczakowskie dialogi, red. J. Bińczycka, Warszawa, Wydawnictwo Akademickie Żak, 1999
  15. Lewin A.: Gdy nadchodził kres... Ostatnie lata życia Janusza Korczaka, Warszawa, WSiP, 1996
  16. Lewin A., Korczak znany i nieznany, Warszawa, Ezop, 1999
  17. Lewin A., Tryptyk pedagogiczny, Warszawa, Nasza Księgarnia, 1986
  18. Lichten J.: Janusz Korczak – Żyd polski, Więź 1983, nr 4
  19. Matyjas B., Aktywność kulturalna dzieci i młodzieży w teorii i praktyce pedagogicznej Janusza Korczaka, Kielce, WSP 1996
  20. Merżan I., Aby nie uległo zapomnieniu, Warszawa, Nasza Księgarnia, 1987
  21. Merżan I., Pan Doktór i pani Stefa: wspomnienia, Warszawa, WSiP, 1979
  22. Mortkowicz-Olczakowa H., Janusz Korczak, Kraków, Wydawnictwo J. Mortkowicz, 1949
  23. Myśl pedagogiczna Janusza Korczaka, Nowe źródła, wybór M. Falkowska, Warszawa, Nasza Księgarnia, 1983
  24. Newerly I., Żywe wiązanie, Warszawa, Czytelnik, 1966
  25. Newerly I., Rozmowa w sadzie piątego sierpnia o chłopcu z bardzo starej fotografii, Warszawa, Czytelnik, 1984
  26. Reminiscencje myśli Janusza Korczaka wykorzystane w nowoczesnych modelach kształcenia, red. M. Juszczyk, Częstochowa, WSP, 1996
  27. Rogowska-Falska, Maria., Zakład Wychowawczy "Nasz Dom". Szkic informacyjny. Wspomnienia z maleńkości, Warszawa, PZWS 1959
  28. Rusakowska D., Janusz Korczak o szkole. Poglądy – oceny – doświadczenia, Warszawa, IDP, 1989
  29. Szlązakowa A., Janusz Korczak, Warszawa: WSiP, 1978
  30. Szlązakowa A., Janusz Korczak w legendzie poetyckiej, Warszawa, INTERLIBRO, 1992
  31. Szymańska D., Sympozjum na zakończenie stulecia dziecka, Problemy Opiekuńczo-Wychowawcze, 2001, nr 1
  32. Tarnowski J., Janusz Korczak dzisiaj, Warszawa: ATK, 1990
  33. Twardowski J., O Januszu Korczaku, Więź, 1972, nr 6
  34. Twardowski J., Rozmowy pod modrzewiem, Warszawa: Pax, 1999
  35. W Korczakowskim Kręgu, Zielona Góra, 1993 nr 34
  36. W Korczakowskim Kręgu, Zielona Góra, 1999 nr 40
  37. W Korczakowskim Kręgu, Zielona Góra, 1999 nr 41
  38. W Korczakowskim Kręgu, Zielona Góra, 2000 nr 42
  39. Wołoszyn, Stefan, Janusz Korczak jako pisarz, Wiedza Powszechna, Warszawa, 1982, ISBN 83-214-0300-X
  40. Wołoszyn S., Korczak, Warszawa, Wiedza Powszechna, 1987
  41. Wróblewski M., O Januszu Korczaku, Nowe Widnokręgi, Moskwa 1944, nr 8
  42. Wspomnienia o Januszu Korczaku, Warszawa: Nasza Księgarnia, 1989
  43. Wspomnienia o Januszu Korczaku, wybór i oprac. Ludwika Barszczewska, Bolesław Milewicz (wstęp Igor Newerly), Warszawa, Nasza Księgarnia, 1981
  44. Żółkiewska W., Czarodziej, Warszawa, Krajowa Agencja Wydawnicza, 1979.
  45. Maria Falkowska, Rodowód Janusza Korczaka, Biuletyn Żydowskiego Instytutu Historycznego 1997, nr 1
  46. M. Jaworski, Janusz Korczak, Warszawa 1973, s. 18
  47. Korczak J. Pamiętnik, Wybór pism, tom 4, 1958
  48. Rocznik Polskiej Akademii Literatury 1937-1938, Warszawa 1939, s. 174.
  49. Daniel Bargiełowski: Po trzykroć pierwszy.
  50. Newerly I.: Żywe wiązanie. Warszawa, Czytelnik, 1966
  51. Lewowicki, T., 1994, Janusz Korczak, Prospects:the quarterly review of comparative education (Paris, UNESCO: International Bureau of Education), vol. XXIV, no. 1/2, 1994, p. 37–48
  52. Patricia Anne Piziali, 1981, A comparison of Janusz Korczak's concept of the Right of the Child with those of Other Selected Child Advocates, George Washington University (dysertacja)
  53. Lifton, B. J. (2003) : Who was Janusz Korczak? In J. Korczak, Ghetto diary (pp. vii–xxx). New Haven, CT: Yale University Press.
  54. Efron S. 2005, Janusz Korczak - Legacy of a practitioner-research, Journal of teacher education, 56,145-156, DOI:10.1177/0022487104274415
  55. Efron Sara Efrat, 2008, Moral education between hope and hopelessness: The legacy of Janusz Korczak, Curriculum Inquiry, 38, 39-62 DOI:10.1111/j.1467-873X.2007.00397.x
  56. Valejeva, R. (1996) : Korczak theory in the context of the humanistic pedagogy. [w:] A. Cohen, S. Aden, & R. Yatziv (Eds.) : Studies in the legacy of Janusz Korczak, 1 (pp. 93–89). Haifa, Israel: University of Haifa Publishing House, The Janusz Korczak Associaion in Israel, and Beit Lochamei Hagetaot.
  57. Newerly, I. (1967) : Introduction (A. Bidwell & G. Bidwell, Trans.). [In:] M. Wolins (Ed.) : Selected works of Janusz Korczak (pp. xvii–xlv). Washington, DC: National Science Foundation.
  58. Kohlberg, L. (1981) : Education for justice: The vocation of Janusz Korczak. [In:] L. Kohlberg (Ed.) : Essays on moral development, Volume 1: The philosophy of moral development (pp. 400–407). San Francisco: Harper and Row.
  59. Gadotti, M. (1998) : Janusz Korczak as the pioneer of child’s rights. The Sixth International Janusz Korczak Conference. Israel: Kibbutz Lochamei Haghetaot
  60. Hatt, B. E. (2005). Pedagogical love in the transactional curriculum. Journal of Curriculum Studies, 37 (6), 671–688.
  61. Boschki, R., 2005, Re-reading Martin Buber and Janusz Korczak: Fresh impulses toward a relational approach to religious education, Religious education, 100, 114-126 DOI:10.1080/00344080590932391
  62. Reiter, S., Asgad, B., Sachs, S. 1990: The implementation of a philosophy in education - Korczak, Janusz educational principles as applied in special education, The British journal of mental subnormality, 1990, 4 -16
  63. Korczak, J.: Ghetto diary. New Haven, Conn: Yale University Press, 2003. ISBN 0-300-09742-5.
  64. Korczak J.: Pamiętnik. Wybór pism, tom 4, 1958.
  65. Korczak (film)
  66. M. Rudnicki: Ostatnia droga Janusza Korczaka. „Tygodnik Powszechny” 1988 nr 45
  67. Szpilman W., Pianista
  68. Wspomnienia Joshua Perle
  69. Anna Mieszkowska, Dzieci Ireny Sendlerowej WWL MUZA SA, str. 134, wiersz 5-19
  70. Korczak, J.: Janusz Korczak w getcie: nowe źródła (wstęp i redakcja naukowa Aleksander Lewin). Warszawa, Conn: Latona, 1992, s. 310.
  71. Betty Jean Lifton „The King of Children. A Biography of Janusz Korczak”. New York-Toronto 1988
  72. Maria Falkowska „Kalendarz życia, działalności i twórczości Janusza Korczaka”. Warszawa 1989