ม้าในประเทศซาอุดีอาระเบีย

ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ม้าถือเป็นส่วนสำคัญทั้งในวัฒนธรรมและกีฬา ประเทศนี้ได้กลายเป็นกำลังหลักในการแข่งขี่ม้า โดยเฉพาะกีฬาขี่ม้ากระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง ซึ่งต้องขอบคุณนักขี่ม้า เช่น อับดุลลอฮ์ อัชชัรบัตลี ที่ได้รับเหรียญรางวัลโอลิมปิกหลายเหรียญนับตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21

ม้าในประเทศซาอุดีอาระเบีย
ร็อมซี อัดดุฮามี นักขี่ม้าชาวซาอุดีอาระเบียขณะขี่ม้าที่ชื่อแอล คาโปน

ประวัติ

แก้
 
ศิลปะสกัดหินในญับบอฮ์ (ประมาณ 1,500 ปีก่อนสากลศักราช) แสดงภาพม้าสองตัวกำลังลากเกวียนที่มีล้อ

สิ่งที่ดูเหมือนรอยบังเหียนที่ค้นพบใน ค.ศ. 2011 บนภาพวาดม้า ถือเป็นจุดเริ่มต้นของทฤษฎีการเลี้ยงม้าเมื่อราว 7,000 ปีก่อนคริสตกาล ใกล้กับอับฮาในแคว้นอะซีร[1] นักโบราณคดีซาอุดีอาระเบียระบุว่าอารยธรรมอัลมะการ์มีความก้าวหน้ามากในช่วงยุคหินใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านฝีมือช่างและการแสดงออกทางศิลปะ เช่น รูปปั้นม้าสูงหนึ่งเมตร[2][3] ซึ่งการค้นพบนี้ได้รับการเผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง แต่เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญไม่เชื่อถือมากนัก จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยอย่างจริงจังต่อไป

การลงทุน

แก้

ราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียมีบทบาทอย่างมากในการแข่งม้า[4] ซึ่งใน ค.ศ. 2009 ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียตัดสินใจลงทุน 500 ล้านดอลลาร์เพื่อสร้างทีมกีฬาขี่ม้ากระโดดข้ามเครื่องกีดขวางระดับประเทศ[5] และในช่วงต้น ค.ศ. 2012 เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการแข่งกีฬาโอลิมปิกที่ลอนดอน ทางราชอาณาจักรได้จัดซื้อบรรดาม้ากระโดดข้ามเครื่องกีดขวางระดับโลก[6]

วัฒนธรรม

แก้

ม้าถือเป็นสัตว์ที่น่านับถือในประเทศซาอุดีอาระเบีย และการทารุณกรรมสัตว์ชนิดนี้ต่อสาธารณชนจะก่อให้เกิดความไม่พอใจ[7] ในทางกลับกัน การเข้าถึงการขี่ม้าของสตรีถูกจำกัดอย่างมาก พวกเธอสามารถเล่นกีฬานี้ได้เฉพาะภายในศูนย์ขี่ม้าเท่านั้น ส่วนในเดือนกันยายน ค.ศ. 2014 ได้มีสตรีคนหนึ่งฝ่าฝืนกฎหมายนี้ด้วยการขี่ม้าในเขตชานเมืองมักกะฮ์[8] และแม้ว่านักขี่ม้าสตรีชาวซาอุดีอาระเบียจะเข้าร่วมการแข่งกีฬาโอลิมปิกเยาวชนที่ประเทศสิงคโปร์ใน ค.ศ. 2010 แต่ประเทศนี้กลับถูกมองว่าไม่ปฏิบัติตามกฎบัตรโอลิมปิก[9]

ส่วนในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2013 แกรนด์มุฟตี ชัยค์ อับดุลอะซีซ อัลอัชชัยค์ ได้ประณามรูปปั้นม้าในแคว้นญาซานทางภาคใต้ในฐานะสิ่งบูชารูปเคารพ โดยจากนั้น รูปปั้นม้าเหล่านั้นก็ถูกรื้อถอนหรือทำลายทิ้ง[10]

ข้อโต้แย้ง

แก้

เช่นเดียวกับเพื่อนบ้านในตะวันออกกลาง (ดูไบ และประเทศกาตาร์) ประเทศซาอุดีอาระเบียได้กลายเป็นประเด็นโต้เถียงในวงการขี่ม้าระดับนานาชาติเนื่องมาจากเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับการใช้สารกระตุ้น[6]

อ้างอิง

แก้
  1. "Une civilisation vieille de 9 000 ans exhumée en Arabie saoudite". La Croix (ภาษาฝรั่งเศส). 2011.
  2. "Saudis 'find evidence of early horse domestication'". BBC News. 2011. สืบค้นเมื่อ 30 August 2011.
  3. "Arabie : découverte des traces d'une civilisation vieille de 9 000 ans". RTBF infos (ภาษาฝรั่งเศส). 2011.
  4. "建站成功". euroceles.com. สืบค้นเมื่อ 30 October 2021.
  5. "London 2012 Olympics : anger in equestrian ranks as Britain loses three top medal hopes to rivals teams". The Daily Telegraph. 5 January 2012. สืบค้นเมื่อ 7 September 2020.
  6. 6.0 6.1 "JO : l'Arabie Saoudite a peut-être acheté ses chevaux pour rien". L'Obs (ภาษาฝรั่งเศส). 17 April 2012. สืบค้นเมื่อ 25 January 2019.
  7. "La vidéo d'un cheval assommé à coups de bâton scandalise l'Arabie Saoudite (vidéo)". sudinfo.be (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 25 January 2019.
  8. "Des internautes saoudiens à la recherche d'une mystérieuse cavalière". Franceinfo. 2014. สืบค้นเมื่อ 25 January 2019.
  9. "Home". Cavadeos. สืบค้นเมื่อ 19 May 2023.
  10. "Horse statues demolished in Jazan". Arab News. 2013. สืบค้นเมื่อ 25 January 2019.