มูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านม

มูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านม (อังกฤษ: Breast Cancer Research Foundation; อักษรย่อ: BCRF) เป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรอิสระ ซึ่งได้ระดมทุน 569.4 ล้านดอลลาร์เพื่อสนับสนุนการวิจัยทางคลินิกและการวิจัยต่อยอดเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมในสหรัฐและต่างประเทศ[1] ปัจจุบัน มูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านมให้ทุนสนับสนุนนักวิจัยกว่า 275 รายใน 15 ประเทศ[2]

มูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านม
ก่อตั้งค.ศ. 1993
ผู้ก่อตั้งอีฟลีน เอช. ลอเดอร์
ที่ตั้ง
  • นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก
บุคลากรหลัก
ไมรา เจ. บิโบลวิต, ประธาน
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของมูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านมคือ ดร. แลร์รี นอร์ตัน จากศูนย์มะเร็งอนุสรณ์สโลน เคตเทอริง ซึ่งมูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านมได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดโรคที่แตกต่างกันค่อมะเร็งเต้านม, เซลล์ต้นกำเนิดมะเร็งเต้านม, ทราสทูซูแมบ (เฮอร์เซปติน), การรักษาด้วยการต่อต้านการสร้างเส้นเลือดใหม่ด้วยเบวาซิซูแมบ (อวาสติน), การสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า, อะโรมาเทส อินฮิบิเตอร์, ทาม็อกซิเฟน และการทดลองทางคลินิกสำหรับการรักษาแบบใหม่กับเครือข่ายวิจัยมะเร็งเต้านมปริวรรต[3]

มูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านมได้รับการก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1993 โดยอีฟลีน ลอเดอร์ รองประธานอาวุโสฝ่ายองค์การของดิ เอสเต ลอเดอร์ คัมพานีส์ ซึ่งความพยายามครั้งแรกของลอเดอร์ในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านมคือการริเริ่มโดยตัวเธอเอง กับอเล็กซานดรา เพนนีย์ อดีตบรรณาธิการของนิตยสารเซลฟ์ เพื่อทำให้ริบบิ้นสีชมพูเป็นสัญลักษณ์ระดับสากลของการตระหนักรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม[4][5][6]

การจัดหาเงินทุนและการใช้จ่าย

แก้

ค่าใช้จ่ายของมูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านม ค.ศ. 2009–2010

  การวิจัยและการสร้างความตระหนักรู้[ระบุ] (90.6%)
  การจัดหาเงินทุน (5.7%)
  การบริหาร (3.7%)
 
เครื่องบินของเดลตาแอร์ไลน์ #1821 รุ่น 767-400อีอาร์ ในเครื่องแบบสีชมพูของมูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านมใน ค.ศ. 2010 ส่วนใน ค.ศ. 2012 เครื่องแบบได้รับการดัดแปลงเล็กน้อยเพื่อเปลี่ยนชื่อเครื่องบินเพื่อเป็นเกียรติแก่อีฟลีน ลอเดอร์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านม
 
เครื่องแบบของเครื่องบินเดลตา #1821 ได้รับการแก้ไขอีกครั้งในเดือนกันยายน ค.ศ. 2015 โดยคงไว้ซึ่งธีมมูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านม ครั้งนี้ริบบิ้นสีชมพูได้รับการวาดภาพบนลำตัวพร้อมคำบรรยายมูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านมบนเครื่องแบบมาตรฐาน ภาพนี้ถ่ายขึ้นในไม่กี่สัปดาห์หลังจากการวาดใหม่

ใน ค.ศ. 2014 มูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านมได้ควบคุมเงินมากกว่า 91 เซนต์ของทุก ๆ ดอลลาร์ที่ระดมได้เพื่อการวิจัยมะเร็งเต้านมและโครงการการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม[7][ระบุ] มูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านมได้รับการยอมรับเป็นพิเศษจากหลายองค์การที่ติดตาม รวมถึงให้ข้อมูลที่ครอบคลุมและเป็นกลางเกี่ยวกับการกุศล แชริทีวอตช์ซึ่งเดิมคือสถาบันการกุศลแห่งอเมริกายังคงให้คำตัดสินมูลนิธิวิจัยมะเร็งเต้านมในระดับ "เอบวก"[8][เมื่อไร?]

อ้างอิง

แก้
  1. "BCRF Grantees". The Breast Cancer Research Foundation.
  2. Watson, Sarah. "Fueling the search for a cure". MD Anderson Cancer Center (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-04.
  3. our impact: The Breast Cancer Research Foundation: What We've Accomplished
  4. "Breast Cancer Awareness Campaign". The Estée Lauder Companies Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 3, 2011.
  5. "The Breast Cancer Research Foundation". Neoplasia (New York, N.Y.). 4 (3): 275–277. May 2002. doi:10.1038/sj/neo/7900240. ISSN 1522-8002. PMC 1550330. PMID 11988848.
  6. Watson, Sarah. "Fueling the search for a cure". MD Anderson Cancer Center (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-04.
  7. "Responsible Giving and Efficiencies". The Breast Cancer Research Foundation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-01. สืบค้นเมื่อ 2021-11-26.
  8. "Top Rated Charities". CharityWatch.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้