มูลนิธิชีวิตสดใส

มูลนิธิชีวิตสดใส ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงตั้งพระทัยแน่วแน่ที่จะพระราชทานความช่วยเหลือในการบรรเทาความเดือดร้อนทุกข์ยากดังกล่าว จึงทรงพระกรุณาพระราชทานกำเนิด มูลนิธิชีวิตสดใส ให้เป็นองค์การสาธารณกุศล โดยมีวัตถุประสงค์ คือ

  • ส่งเสริมการสังคมสงเคราะห์ การศึกษา การกีฬา สุขภาพอนามัย และการศาสนา
  • ส่งเสริมสนับสนุนและร่วมมือกับรัฐบาล เอกชน และองค์การการกุศลอื่น ๆ ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนของประชาชน
  • ดำเนินกิจกรรมในการช่วยเหลือเด็ก เยาวชน และประชาชนในด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถช่วยตัวเองและพึ่งตัวเองได้
  • ดำเนินกิจกรรมในการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ความเดือดร้อนและความยากจนของประชาชน
  • ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์หรือร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
  • ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

มูลนิธิชีวิตสดใสก่อกำเนิดเป็นองค์การสาธารณกุศลลำดับที่ 574 ตามประกาศกระทรวงการคลังฯ โดยได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548 เลขที่ กท 1415 ภายหลังสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เริ่มต้นขึ้นได้ประมาณ 1 ปีเศษโดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี องค์ผู้ประทานกำเนิดมูลนิธิ ได้ทรงอัญเชิญกระแสพระราชดำรัส “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” “รู้รักสามัคคี” และปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางดำเนินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อเสริมสร้างสันติสุขใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549

การพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน แก้

เด็กก่อนวัยเรียน เป็นวัยที่พัฒนาการทุกด้านกำลังเจริญเติบโต การส่งเสริมเพื่อให้ เด็กสามารถเติบโตและเรียนรู้เพื่อการดำเนินชีวิตต่อไปนั้น ควรปลูกฝังให้เด็กมีเจตคติ ที่ดีต่อการรับรู้ เกิดการเรียนรู้และมีความสามารถในการแสวงหาความรู้เพื่อเลือกและนำมาใช้ตามสถานการณ์ที่ตนต้องการได้อย่างเหมาะสม ดังนั้นจึงควรจัดการเรียน การสอนที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางสังคมของเด็ก ควบคู่กับคุณธรรม จริยธรรม

การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมแก่เด็กและเยาวชน แก้

เด็กและเยาวชน เป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศชาติ การพัฒนาเด็กและเยาวชนเพื่อให้เป็นคนดี มีคุณค่า และมีอนาคตนั้น จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้เด็กได้รับการศึกษาอย่างเต็มตามศักยภาพควบคู่ไปกับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข โดยได้จัดกิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนในพื้นที่โครงการ

การพัฒนาการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนา แก้

เนื่องจากการจัดการศึกษาในโรงเรียนสอนศาสนา ซึ่งได้แก่ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สถาบันศึกษาปอเนาะและโรงเรียนพระปริยัติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาแบบครบวงจรตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและที่สอดคล้องเหมาะสมกับวิถีชีวิตเฉพาะท้องถิ่น

การเสริมสร้างชุมชน “รู้รักสามัคคี อยู่ดีมีสุข” แก้

ดำเนินการจัดตั้ง “ศูนย์การเรียนรู้ชีวิตสดใส” ขึ้นในชุมชนเพื่อเสริมสร้างสังคมให้เกิดความปรองดอง ความเป็นปึกแผ่นของประชาชนในท้องถิ่นและการยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตท้องถิ่น โดยอัญเชิญกระแสพระราชดำรัส “รู้รักสามัคคี” มาเป็นแนวทางควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการใช้ชีวิตร่วมกันตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโดยในระยะเริ่มต้นโครงการได้ใช้สถานที่ซึ่งมีความพร้อมและทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมในการกระจายความช่วยเหลือไปยังหมู่บ้าน วัด มัสยิด และโรงเรียน

อ้างอิง แก้