มูซาชิ[1] เป็นนวนิยายญี่ปุ่น ที่ประพันธ์โดยเอจิ โยะชิกะวะ

หนังสือเรื่องมูซาชิ เล่าว่า มูซาชิเป็นบุตรของนักรบที่เกิดในเขต ฮาริมา มีชื่อเดิมว่า ทาเกโซ เกิดในตระกูล ชินเม็ง เหตุการณ์การต่อสู้ในท้องทุ่งพิฆาต เซกิงาฮารา กลับกลายและเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขา ชื่อที่เป็นที่รู้จักของเขาคือ มิยาโมโต้ มูซาชิ (宮元武蔵)[2] เขาเป็นนักดาบที่มีชื่อเสียง ถึงกระทั่งบั้นปลายของชีวิตก็บรรลุผลสูงสุด ด้วยการเป็นครูทางจิตใจ มูซาชิ เป็นนักต่อสู้ธรรมดา ที่ต่อสู้เพื่อชนะ แต่ชีวิตของเขาเป็นทั้งเรื่องจริง ทั้งเป็นนิยายอย่างยิ่ง ที่ระดับวรรณกรรม และระดับโลก มูซาชิผ่านการต่อสู้ด้วยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันมากกว่า 60 ครั้ง เขามีความสามารถที่จะรบชนะ และมีความสูงสุดในวิชาการต่อสู้มากกว่าความเชี่ยวชาญในวิชาคัมภีร์ดาบแบบเก่า นิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องมูซาชิ ในภาษาไทย ประชาชนให้ความรู้จักและเรียกชื่อว่า หนังสือ มูซาชิ ฉบับท่าพระจันทร์ ซึ่งเป็นหนังสือที่แปลโดยนักเขียนที่ชำนาญวิชาการต่อสู้และภาษาญี่ปุ่น[3] จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์คบไฟ ตามประวัติในหนังสือ เชื่อว่ามูซาชิมีช่วงชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ.1584-1645 และบันทึกคัมภีร์ห้าห่วงก็เช่นกัน ได้ถูกเขียนขึ้น ในปีเดียวกันกับปีที่เขาเสียชีวิต เรื่องราวของมูซาชิในหนังสืออมตะนิยายเป็นเป็นสิ่งที่สร้างความประทับใจ เร้าใจ และเป็นที่นิยมกันอย่างล้นหลาม หนังสือมูซาชิฉบับอมตะนิยาย ของ โยชิคาว่า เอญิ ได้รับการแปลอย่างมาก ในเรื่องการต่อสู้ของสำนักโยชิโอกะ และการต่อสู้แบบซามูไรกับ ซาซากิ โคยิโร่ เพราะความนิยมจิตใจแบบซามูไร กระทั้งคำประพันธ์ ในหนังสือก็ได้รับการยกย่องและได้รับการยอมรับว่างดงามดุจดอกซากุระที่มีจิตวิญญาณทางอุดมคติที่แข็งแกร่ง[4] และวิถีบูชิโดของนักรบ[4]เอง ก็ได้รับความนับถือมาจาก เรื่องมูซาชิ ซึ่งมีทั้งเรื่องจริง และที่ออกมาเป็นนิยายแบบวรรณกรรม

สารบัญนิยายอิงประวัติศาสตร์เรื่องมูซาชิ[5] แก้

 
หนังสือมูซาชิฉบับท่าพระจันทร์
  • ภาคดิน
  • ภาคน้ำ
  • ภาคไฟ
  • ภาคลม
  • ภาคสุญญตา
  • ภาครู้แจ้ง
  • ภาคผนวก ว่าด้วยมูซาชิ

รายการอ้างอิง แก้

  1. The Samurai Archives Samurai Wiki
  2. มิยาโมโต้ มูซาชิ
  3. นาย สุวินัย ภรณวลัย[ลิงก์เสีย]
  4. 4.0 4.1 "Teruo Machida ภาควิชาภาษาต่างประเทศ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-04-06. สืบค้นเมื่อ 2014-06-05.
  5. Kobfai Publishing Project is a part the Foundation for Democracy and Development Studies (FDDS)