มุฮัมมะดิยะฮ์ (อาหรับ: محمدية, อักษรโรมัน: Muḥammadiyyah, แปลตรงตัว'ผู้ติดตามมุฮัมหมัด'); ชื่อทางการ สมาคมมุฮัมมะดิยะฮ์ (อินโดนีเซีย: Persyarikatan Muhammadiyah) เป็นองค์กรศาสนาอิสลามในประเทศอินโดนีเซีย [2] องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1912 โดยอะห์มัด ดะห์ลัน ในเมืองยกยาการ์ตา ในฐานะขบวนการปฏิรูปทางสังคมและศาสนา โดยสนับสนุนอิจญ์ติฮาด หรือการตีความคัมภีร์อัลกุรอาน และซุนนะห์แบบรายบุคคล ตรงข้ามกับ ตักลีด หรือความสอดคล้องกับการตีความแบบดั้งเดิมที่เสนอโดยอุละมะ [3] ตั้งแต่ก่อตั้ง มุฮัมมะดิยะฮ์ได้นำเอาแนวทางปฏิรูปที่ผสมผสานการศึกษาด้านศาสนาและฆราวาสมาใช้ [4] หลัก ๆ แล้วเป็นหนทางส่งเสริมให้ชาวมุสลิมก้าวหน้าขึ้นสู่ชุมชน "ทันสมัย" และเพื่อชำระล้างศาสนาอิสลามในอินโดนีเซียจากการปฏิบัติที่ผสมผสานกันในท้องถิ่น [4] กลุ่มยังคงสนับสนุนวัฒนธรรมท้องถิ่นและส่งเสริมการยอมรับทางศาสนาในอินโดนีเซีย ในขณะที่สถาบันการศึกษาระดับสูงบางแห่งมีผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมเข้าเรียนเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในจังหวัดนูซาเติงการาตะวันออกและจังหวัดปาปัว กลุ่มนี้ยังบริหารโรงพยาบาลการกุศลขนาดใหญ่หลายแห่งอีกด้วย [2] และดำเนินกิจการในมหาวิทยาลัย 128 แห่งในปลายทศวรรษ 1990 [5]

สมาคมมุฮัมมะดิยะฮ์
Persyarikatan Muhammadiyah
ก่อตั้ง18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1912
ประเภทองค์กรทางศาสนาอิสลาม
วัตถุประสงค์สังคมศาสนา เศรษฐศาสตร์ การศึกษา และสุขภาพ
สํานักงานใหญ่ยกยาการ์ตา และ จาการ์ตา, อินโดนีเซีย
ภูมิภาคที่รับผิดชอบ
Southeast Asia
สมาชิก
60 ล้านคน
ประธาน
ฮาเอดาร์ นาชีร์
เลขานุการ
อับดุล มุติร์
สังกัดIslamic modernism (นิกายซุนนี)[1]
เว็บไซต์en.muhammadiyah.or.id

เมื่ออะห์มัด ดะห์ลันเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1923 องค์กรนี้มีสมาชิกเป็นชาย 2,622 คนและเป็นหญิง 724 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวเมืองยกยาการ์ตา [6] จำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมี 10,000 คนในปี ค.ศ. 1928, 17,000 คนในปี ค.ศ. 1929 และ 24,000 คนในปี ค.ศ. 1931 [7] นอกจากนี้ ในช่วงทศวรรษปี ค.ศ. 1930 ยังได้เริ่มขยายสาขาออกไปนอกเกาะชวาซึ่งเป็นศูนย์กลางประชากรหลัก และกระจายไปทั่วอินโดนีเซีย และปัจจุบันถือเป็นองค์กรอิสลามที่ใหญ่เป็นอันดับสองในอินโดนีเซีย (รองจากนะฮ์ฎะตุล อุละมะ) โดยมีสมาชิก 29 ล้านคนในปี ค.ศ. 2008 [8] สมาชิกส่วนใหญ่เป็นคนเมืองและชนชั้นกลาง [3] แม้ว่าผู้นำและสมาชิกมุฮัมมะดิยะฮ์จะมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดทิศทางการเมืองในอินโดนีเซีย แต่มุฮัมมะดิยะฮ์ไม่ใช่พรรคการเมือง และได้อุทิศภารกิจเพื่อกิจกรรมทางสังคมและการศึกษา

แหล่งอ้างอิง

แก้
  1. Nashir M. Si, Dr. H Haidar (2015). MUHAMMADIYAH: A REFORM MOVEMENT. Jl. A Yani Pabelan Tromol Pos 1 Kartasura Surakarta 57102 Jawa Tengah – Indonesia: Muhammadiyah University Press. p. 94. ISBN 978-602-361-013-6. From aqidah standpoints, Muhammadiyah may adhere Salafi , as stated by Tarjih in Himpinan Putusan Tarjih (wy: 11), that Muhammadiyah promotes the belief principles referring to the Salaf (al-fi rqat al-najat min al-Salaf).{{cite book}}: CS1 maint: location (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 A. Jalil Hamid, Tackle the rising cost of living longer . New Straits Times, 30 October 2016. Accessed 1 November 2016.
  3. 3.0 3.1 "Muhammadiyah". Div. of Religion and Philosophy, St. Martin College, UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-14. สืบค้นเมื่อ 2008-08-28.
  4. 4.0 4.1 Abu Zayd, Nasr (2006). Reformation of Islamic Thought. Amsterdam University Press. ISBN 9789053568286. สืบค้นเมื่อ 20 April 2016.
  5. Pieternella van Doorn-Harder, WOMEN SHAPING ISLAM: Reading the Qu'ran in Indonesia, pg .95. Champaign: University of Illinois Press, 2010. ISBN 9780252092718
  6. Peacock 1978, 45
  7. Israeli 1982, 191
  8. Europa Publications Limited

อ่านเพิ่มเติม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้