มุญาฮิด อิบน์ ญับร์
อะบูลฮัจญาจญ์ มุญาฮิด อิบน์ ญับร์ อัลกอรี (อาหรับ: مُجَاهِدُ بْنُ جَبْرٍ) (ฮ.ศ. 642–722) เป็นตาบิอีน และเป็นหนึ่งใน นักวิชาการอิสลามยุคแรกที่สำคัญ[1] ตัฟซีร อัลกุรอานของท่าน เชื่อกันว่าเป็นแหล่งอรรถกถาแบบเป็นลายลักษณ์อักษรที่เก่าแกุ่สุดที่มีอยู่ แม้ว่าจะมีเพียงเศษเสี้ยวเท่านั้นที่เข้ามาถึงยุคของเรา ตั้งแต่สมัยอุมัยยะฮ์
มุญาฮิด อิบน์ ญับร์ | |
---|---|
مجاهد بن جبر | |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 642 ฮ.ศ. 21 |
ศาสนา | อิสลาม |
นิกาย | ซุนนี |
ลัทธิ | อะษะรียะฮ์ |
ผลงานโดดเด่น | ตัฟซีร มุญาฮิด อิบน์ ญับร์ |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ได้รับอิทธิจาก | |
มีอิทธิพลต่อ |
ชีวประวัติ
แก้นามเต็มๆ ของท่านเรียกว่า "มุญาฮิด อิบน์ ญับร์, เมาลา อัสซาอิบ อิบน์ อะบี อัสซาอิบ อัลมัคซูมี อัลกุร็อยชี" นิสบะฮ์ (การอิงตนเป็น) อัลมัคซูมี เป็นเพราะท่ารเป็นทาสรับใช้ของใครบางคนจากชนเผ่าบะนูมัคซูม[2]
ท่านมูญาฮิดเป็นหนึ่งในนักตัฟซีร อัลกุรอานชั้นนำ และนักอธิบายรุ่นต่อจากนะบีมุฮัมมัด และเศาะฮาบะฮ์ของท่าน ท่านเป็นคนแรกที่รวบรวมคำอธิบายอัลกุรอานเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งท่านกล่าวว่า "ไม่อนุญาตให้ผู้ที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันพิพากษาพูดอัลกุรอานโดยไม่ต้องเรียนภาษาอาหรับมาตราฐาน"[ต้องการอ้างอิง] กล่าวกันว่าท่านได้ศึกษาภายใต้ท่านอะมีรุลมุอ์มินีน อะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ จนกระทั่งท่านเสียชีวิต เมื่อถึงจุดนั้น ท่านเริ่มศึกษากับอิบน์ อับบาส เศาะฮาบะฮ์ของท่านนะบีซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม บิดาแห่งการอธิบายคัมภีร์ มุญาฮิด อิบน์ ญับร์ เป็นที่รู้กันว่าเต็มใจที่จะค้นหาความหมายที่แท้จริงของโองการในอัลกุรอาน และได้รับการพิจารณาให้เป็นชายผู้ชอบเดินทาง อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานว่าท่านเคยเดินทางออกนอกคาบสมุทรอาหรับ
ผลงาน
แก้อิบน์ ซะอ์ด บันทึกในเฏาบะกอต (6:9) และที่อื่นๆ ว่าท่านอ่านคำอธิบายอัลกุรอานร่วมกับอิบน์ อับบาสถึงสามสิบครั้ง[1]
กล่าวกันว่าท่านมุญาฮิด อิบน์ ญับร์ เป็นที่พึ่งในแง่ของ ตัฟซีร ตามคำกล่าวของซุฟยาน อัษเษารี ซึ่งกล่าวว่า: "หากท่านได้รับการตัฟซีรของมุญาฮิด ก็เพียงพอแล้วสำหรับท่าน"
อรรถกถาโดยทั่วไปเป็นไปตามหลักการ 4 ประการ ดังนี้:
- อัลกุรอานสามารถอธิบายได้จากส่วนอื่นๆ ของอัลกุรอาน ตัวอย่างเช่น ในการอถรรกถากุรอาน 29:13 ท่านใช้ความหมายจากกุรอาน 16:25
- การอธิบายด้วยหะดีษ
- เหตุผล
- ความคิดเห็นทางภาษา
ญามิอ์ อัลบะยาน โดย อัฏเฏาะบะรี ระบุถึงเนื้อหาเชิงอรรถกถาจำนวนมากว่าเป็นของมุญาฮิด[จำเป็นต้องอ้างอิง]
สิ่งที่ทิ้งไว้
แก้มุมมองของบรรดานักวิชาการอิสลาม
แก้ท่านถูกจัดอยู่ในประเภทผู้รายงานหะดีษที่ ษิเกาะฮ์ (กล่าวคือน่าเชื่อถือมาก)[1]
อัลอะอ์มัช กล่าวว่า:
- “มุญาฮิดเปรียบเสมือนชายที่มีสมบัติ เมื่อใดก็ตามที่ท่านพูด ไข่มุกจะออกมาจากปากของท่าน”[1]
หลังจากยกย่องท่านด้วยคำพูดที่คล้ายกัน อัษษะฮะบี ได้กล่าวว่า: “ประชาชาติอุมมะฮ์มีมติเป็นเอกฉันท์ว่ามุญาฮิดเป็นอิหม่ามผู้คู่ควรในอิจญ์ติฮาด”[ จำเป็นต้องอ้างอิง ]
ดูเพิ่ม
แก้ลิงค์ภายในอก
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "Mujahid". www.livingislam.org.
- ↑ Ayoub, Mahmoud (1984). The Qur'an and Its Interpreters. Vol. 1. SUNY Press. ISBN 978-0-87395-727-4.