ลัทธิมีมางสา (Mīmāṃsā; ภาษาสันสกฤต: मीमांसा) เป็นปรัชญาในศาสนาฮินดู คำว่ามีมางสาหมายถึงการสอบสวนซึ่งปรัชญานี้มาจากการสอบสวนเกี่ยวกับพระเวทโดยเน้นส่วนที่เป็นมันตระและพราหมณะของพระเวท ลัทธินี้เริ่มต้นโดยไชมิณิ ซึ่งเป็นผู้แต่งคัมภีร์มีมางสาสูตร ต่อมา ประภากระและกุมาริละ ภัฏฏะ ได้นำมาพัฒนาต่อจนแตกเป็นสองสำนัก

ปรัชญามีมางสาเป็นพหุสัจจนิยม ถือว่าความจริงแท้มีทากมาย คัมภีร์พระเวทเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ จึงเป็นสิ่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด สิ่งที่พระเวทบอกว่าควรถือเป็นธรรม สิ่งที่พระเวทบอกว่าไม่ควร ถือเป็นอธรรม ธรรมจะนำมาซึ่งความสุข มี 4 ระดับคือ เกิดจากทรัพย์สิน เกิดจากการบำรุงกามคุณทั้งห้า ความสงบใจ และการหลุดพ้นไปจากอำนาจของกิเลส ปรัชญานี้ถือว่าชีวาตมันหรืออัตตาเป็นอมตะ และมีจำนวนมากเป็นอนันตะ หรือนับไม่ถ้วน ร่างกายเป็นพาหนะของชีวาตมัน โลกและสิ่งต่างๆในโลกเกิดจากปัจจัยตามธรรมชาติไม่ใช่การสร้างของพระเจ้า โลกจะดำรงอยู่ตลอดไป โดยไม่มีพระเจ้ามาทำลายได้

อ้างอิง แก้

  • ฟื้น ดอกบัว.ปวงปรัชญาอินเดีย. กทม. ศยาม. 2555 หน้า 74 - 81