มิคาอิลที่ 7 ดูคาส

จักรพรรดิแห่งไบแซนไทน์

มิคาอิลที่ 7 ดูคัส (กรีก: Μιχαήλ Ζ΄ Δούκας, Mikhaēl VII Doukas ) พระนามรอง พาราไพนากิส ( กรีก: Παραπινάκης, แปลว่า "ลบเศษหนึ่งส่วนสี่" โดยอ้างอิงถึงการลดค่าสกุลเงินไบแซนไทน์ภายใต้การปกครองของพระองค์) พระองค์ทรงอยู่ในราชสมบัติด้วยพระฐานะจักรพรรดิไบแซนไทน์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1071 ถึง 1078

มิคาอิลที่ 7 ดูคาส
สมเด็จพระจักรพรรดิและองค์อธิปัตย์แห่งชนโรมัน
สมเด็จพระจักรพรรดิ แห่ง จักรวรรดิไบแซนไทน์
ครองราชย์22 พฤษภาคม ค.ศ.1071 – 24 มีนาคม ค.ศ.1078
ก่อนหน้าโรมานอสที่ 4 ไดโอจีนิส
ถัดไปนีกิโฟรอสที่ 3
ร่วมราชสมบัติอันโดรนิคอส ดูคัส (ร่วมราชสมบัติ) (ทศวรรษ 1070s)
คอนสแตนติออส ดูคัส (1071–1078)
คอนสแตนติน ดูคัส (1074–1078)
ประสูติป. ราว ๆ ค.ศ.1050
สวรรคตค.ศ.1090 (สิริพระชนมายุ 40 พรรษา)
คู่อภิเษกมาเรียแห่งอลาเนีย
พระราชบุตรคอนสแตนติน ดูคัส (ร่วมราชสมบัติ)
ราชวงศ์ดูคัส
พระราชบิดาคอนสแตนตินที่ 10
พระราชมารดายูโดกีอา แมแครมโบลิทิซซา

ช่วงชีวิต แก้

มิคาอิลที่ 7 เสด็จพระราชสมภพในช่วงระหว่างประมาณ ค.ศ. 1050 ในกรุงคอนสแตนติโนเปิล ทรงเป็นบุตรชายคนโตของ คอนสแตนตินที่ 10 ดูคัส พระราชบิดาและอดีตจักรพรรดิไบแซนไทน์ และ ยูโดเกีย มักเรมโบลิทิซซา พระราชมารดา[1] พระองค์ทรงร่วมช่วยงานราชกิจพระราชบิดาในช่วงปลายปี 1059 ร่วมกันกับ คอนสแตนติออส ดูคัส พระอนุชาของพระองค์ [2] เมื่อพระราชบิดาเสียชีวิตในปี 1067 ซึ่งในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ 17 ปี พระองค์แสดงความสนพระทัยในการเมืองไม่มากเท่าที่ควร แต่ในขณะนั้นสมเด็จพระราชมารดาและพระปิตุลาของพระองค์ ไคซาร์แห่งไบแซนไทน์ จอห์น ดูคัส ได้ทำหน้าที่ผู้สำเร็จราชการในนามพระจักรพรรดิในระหว่างที่พระองค์ยังไม่สามารถในเรื่องการบริหารราชกิจ[3]

ณ วันที่ 1 มกราคม 1068 พระราชมารดาของพระองค์ได้อภิเษกกับนายทัพและขุนนางอย่าง โรมานอส ไดโอจีนิส ด้วยในพระปรมาภิไธย "โรมานอสที่ 4 ไดโอจีนิส" โดยพระองค์สืบราชสมบัติในฐานะของสมเด็จพระจักรพรรดิอาวุโสและผู้อารักขาสามพระราชบุตรของอดีตจักรพรรดิ[4] ต่อมาโรมานอสที่ 4 ทรงพ่ายแพ้ต่อสุลต่านอัลป์ อาซลัน สุลต่านแห่งจักรวรรดิเซลจุคเติร์ก ในยุทธการที่มันซิเคิร์ท ช่วงเดือนสิงหาคม 1071 และถูกจับกุมตัว[5] ตัวมิคาอิลเองยังคงทรงงานพระราชกิจอย่างเงียบ ๆ อยู่เบื้องหลังในเงาของจักรพรรดิผู้อารักขาพระองค์ ในขณะพระปิตุลาพระองค์ จอห์น ดูคัส [6] ได้มีความคิดที่พยายามจะลดทอนพระราชอำนาจของโรมานอส ไดโอจีนิส ในฐานะที่ทรงเป็นพระปิตุลาและไกซาร์แห่งราชสำนักไบแซนไทน์ และพระอาจารย์ของพระองค์เองอย่างมิคาอิล เซโลสก็มีความคิดเห็นที่ตรงกัน จึงได้ใช้พระอำนาจภายหลังที่โรมานอสถูกจับในยุทธการที่มันซิเคิร์ท เพิ่มพระราชอำนาจของจักรพรรดินียูโดกีอาให้บริหารราชกิจร่วมกับพระราชบุตรอย่างเต็มที่ จากนั้นได้บังคับให้พระนางออกบวชเป็นแม่ชี ทำให้ตำแหน่งจักรพรรดิว่างลง มิคาอิล ดูคัส จึงได้ขึ้นสู่ราชสมบัติในพระปรมาภิไธย "มิคาอิลที่ 7 ดูคัส" ภายใต้การบริหารราชกิจของพระปิตุลาของพระองค์เอง

ในขณะที่สองผู้มีพระคุณยังคงถือพระราชอำนาจบริหารราชกิจในจักรวรรดิในนามพระองค์ ตัวพระองค์เองเริ่มหันเหไปยังสมุหกองพระคลังอย่างนีกิโฟริทซิส ซึ่งเคยเป็นขุนนางที่ดำรงตำแหน่งสมุหพระเลขานุการส่วนพระองค์ในรัชกาลพระจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 10 โมโนมาโคสและปลัดบัญชาการมณฑลทหารเฮลลาสและหมู่เกาะเพโลโปนิเซียนในรัชกาลของโรมานอสที่ 4 ไดโอจีนิส ก่อนจะถูกเรียกกลับมารับราชการภายในราชสำนักในภายหลัง[7] พระองค์ทรงมีการอนุญาตให้นีกิโฟริทซิสเพิ่มอัตราพิกัดภาษีและค่าใช้จ่ายของฟุ่มเฟือยใหม่อีกครั้งให้มากขึ้นกว่าเดิมในขณะที่กองทัพไม่ได้รับการปรับปรุงในทางที่ควร และในฐานะจักรพรรดิแล้ว พระองค์ขาดซึ่งความสามารถในการบริหารราชกิจ อีกทั้งถูกห้อมล้อมไปด้วยข้าราชการที่แสวงหาแต่อำนาจและบดบังสายพระเนตรของพระองค์จากทัศนวิสัยในการบริหารราชกิจ ทำให้ฐานของจักรวรรดิค่อย ๆ พังทลายลง เมื่อในสถานการณ์คับขันจวนตัว เหล่าข้าราชการของจักรวรรดิจะใช้วิธีการยึดทรัพย์สินและแม้กระทั่งการเวนคืนทรัพย์สมบัติบางส่วนของคริสตจักร กองทัพที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนอย่างที่สมควรก็มีแนวโน้มที่จะทำการกบฏต่อราชสำนัก อีกทั้งไบแซนไทน์เสียเมืองบารี ซึ่งเป็นเมืองหลวงและปราการสุดท้ายของรัฐคาเตปันแห่งอิตาลี หัวเมืองในการปกครองของไบแซนไทน์ อีกทั้งยังเป็นเมืองท่าค้าทาสสลาฟที่สำคัญแห่งหนึ่งของไบแซนไทน์ในอิตาลี ให้กับโรเบิร์ต กิสการท์ ชาวนอร์มันที่เข้ามารุกรานคาบสมุทรอิตาลีและบอลข่านในการศึกรุกรานของชาวนอร์มันในปี 1071 [8] อีกทั้งยังต้องรับมือกับกบฏในภูมิภาคบัลแกเรียน ซึ่งเป็นกบฏที่พยายามจะสถาปนาจักรวรรดิบัลแกเรียอีกครั้ง [7] แม้ว่าจอมทัพอย่างนีกิโฟรอส ไบรเอนนีออสจะสามารถปราบกบฏได้สำเร็จ [7]แต่จักรวรรดิไบแซนไทน์ก็ไม่สามารถกู้คืนความสูญเสียในเขตเอเชียไมเนอร์ที่เกิดขึ้นได้อีกเลย

 
Miliaresion ของจักรพรรดิมิคาอิลที่ 7 ดูคัส
 
พระบรมสาทิสลักษณ์ของพระองค์เบืองหลังมงกุฎศักดิ์สิทธิ์แห่งฮังการี

หลังจากสิ้นสุดยุทธการที่มันซิเคิร์ท ส่วนราชการได้ส่งกองทัพใหม่ไปจัดการชาวเซลจุคเติร์กอีกครั้งโดยการนำทัพของจอมทัพ (strategos autokrator) และปลัดสำนักบัญชาการตะวันออกอิคซัค คอมนีโนส หรือไอแซค คอมนีโนส สมเด็จพระเชษฐาธิราชของอนาคตพระจักรพรรดิอเล็กซิออสที่ 1 กอมนีโนส และพ่ายแพ้กลับมา อีกทั้งตัวไอแซคเองก็ถูกจับในปี 1073 [9] ปัญหาทางการทหารและสถานการณ์ของจักรวรรดิดังกล่าวร้ายแรงขึ้นเมื่อทหารรับจ้างชาวนอร์มันในการดูแลของเออร์เซลิออส หรือ ฟรังโกโปลอส ก่อกบฏต่อราชสำนักและจอห์น ดูคัสพ่ายแพ้ต่อกบฏ และถูกสถาปนาเป็นจักรพรรดิซ้อนโดยชาวนอร์มัน[9]

การยุทธต่อต้านเซลจุคดังกล่าวที่ราชสำนักพ่ายแพ้ อีกทั้งทหารรับจ้างตะวันตกที่ได้รับชัยชนะในครั้งนี้ทำให้จอห์น ดูคัส มีสถานะที่ได้รับการยอมรับให้เป็นผู้สืบราชสมบัติในกาลต่อมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

รัฐบาลของมิคาอิลที่ 7 ดูคัสถูกบังคับให้ยอมรับการพิชิตเอเชียไมเนอร์ของจักรวรรดิเซลจุคในปี 1074 และราชสำนักก็ได้ขอเจรจาเรื่องทางการทหารกับเซลจุคเติร์ก และกองทัพใหม่ภายใต้การนำพาของอเล็กซิออส กอมนีโนสร่วมกับชาวเซลจุคโดยการสนับสนุนของสุลต่านมาลิค ชาห์ที่ 1 สามารถพิชิตกองลาตินิกอนและจับกุมสมเด็จพระปิตุลา จอห์น ดูคัสกลับมาได้ในปี 1074 [10]

เรื่องราวร้าย ๆ ที่เกิดขึ้นในตลอดรัชสมัยของพระองค์ ก็เท่าทวีคูณเมื่อพระองค์ประกาศลดค่าเงินลง จนเกิดพระนามรองของพระองค์นาม "พาราไพนากิส" หรือ "ลบเศษหนึ่งส่วนสี่"

ต่อมาในปี ค.ศ. 1078 จอมทัพ นีกิโฟรอส ไบรเอนนีออส และ นีกิโฟรอส โบทานีอาตีส ได้ก่อหวอดกบฏทั้งในบอลข่านและอนาโตเลียโดยพร้อมเพรียงกัน [11] โบทานีอาตีสได้รับการสนับสนุนจากเซลจุค และสามารถเข้าถึงนครคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จ ตัวพระองค์เองถูกบังคับให้สละราชสมบัติในวันที่ 31 เดือนมีนาคม 1078 และเกษียณพระองค์ไปยังโบสถ์หลวงแห่งสโตดิออส [12] ต่อมาพระองค์ได้ดำรงตำแหน่งอุปมนตรีของเมืองในอาณัติศาสนจักรเอเฟซัสและเสียชีวิตในคอนสแตนติโนเปิลในปี 1090 [13]

[14] จาก เหวินเซี่ยนทงเข่า ที่บันทึกโดยนักประวัติศาสตร์ชาวจีนอย่าง หม่าต้วนหลิน (1245–1322) และ ซ่งฉื่อ โดยรู้กันในพระปรมาภิไธยจักรพรรดิไบแซนไทน์ "มิคาอิลที่ 7 พาราไพนากิส ไคเซอร์แห่งฝูหลิน" (เมี่ยลี่ชาหลิงไกซา 滅力沙靈改撒 โดยพระอิสริยยศไกเซอร์ที่จีนกล่าวถึงนี้ เป็นอิสริยยศที่ทับมาจากตำแหน่งที่เรียกขานในเอกสารก่อนหน้านี้ โดยถือว่าพระยศไคเซอร์ในมุมมองของจีนเป็นบาซิลิอุสแห่งไบแซนไทน์ และเมี่ยลี่ชาหลิงคือพระนามของพระองค์ ส่วนคำว่าฝูหลิน 拂菻 มาจากคำว่า Hrom หรือ From ในภาษาซอกเดียนซึ่งหมายถึงไบแซนเทียม) ได้ส่งทูตไปยังราชวงศ์ซ่ง ของจีนซึ่งมาถึงในเดือนพฤศจิกายน 1081 ในรัชสมัยของจักรพรรดิเสินจงแห่งซ่ง (ร. 1067–1085) [15][16]

ดูสิ่งนี้ด้วย แก้

อ้างอิง แก้

  • Dumbarton Oaks (1973), Catalogue of the Byzantine Coins in the Dumbarton Oaks Collection and in the Whittemore Collection: Leo III to Nicephorus Iii, 717–1081 see also Dumbarton Oaks, "Michael VII Doukas (1071–1078)", God's Regents on Earth: A Thousand Years of Byzantine Imperial Seals, สืบค้นเมื่อ 1 May 2016
  • Finlay, George (1854), History of the Byzantine and Greek Empires from 1057–1453, vol. 2, William Blackwood & Sons
  • Kazhdan, Alexander, บ.ก. (1991). The Oxford Dictionary of Byzantium. Oxford and New York: Oxford University Press. ISBN 0-19-504652-8.
  • Norwich, John Julius (1993), Byzantium: The Apogee, Penguin, ISBN 0-14-011448-3
  • แม่แบบ:A History of the Byzantine State and Society

แสดงที่มา:

  บทความนี้ ประกอบด้วยข้อความจากสิ่งพิมพ์ซึ่งปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติChisholm, Hugh, บ.ก. (1911). "Michael § Michael VII Ducas" . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911. Vol. 18 (11 ed.). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์. p. 359.

อ่านเพิ่มเติม แก้


  1. noahm. "Eudokia Makrembolitissa (1067 and 1071)". Dumbarton Oaks (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-02-02.
  2. Dumbarton Oaks 1973, p. 779
  3. Dumbarton Oaks 1973, p. 780
  4. Dumbarton Oaks 1973, p. 785
  5. Norwich 1993, p. 353
  6. Norwich 1993, p. 355
  7. 7.0 7.1 7.2 Norwich 1993, p. 359
  8. Norwich 1993, p. 355
  9. 9.0 9.1 Finlay 1854, p. 52
  10. Norwich 1993, p. 360
  11. Norwich 1993, p. 360
  12. Norwich 1993, p. 361
  13. Kazhdan 1991, p. 1366
  14. Paul Halsall (2000) [1998]. Jerome S. Arkenberg (บ.ก.). "East Asian History Sourcebook: Chinese Accounts of Rome, Byzantium and the Middle East, c. 91 B.C.E. - 1643 C.E." Fordham.edu. Fordham University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-10. สืบค้นเมื่อ 2016-09-10.
  15. Fuat Sezgin; Carl Ehrig-Eggert; Amawi Mazen; E. Neubauer (1996). نصوص ودراسات من مصادر صينية حول البلدان الاسلامية. Frankfurt am Main: Institut für Geschichte der Arabisch-Islamischen Wissenschaften (Institute for the History of Arabic-Islamic Science at the Johann Wolfgang Goethe University). p. 25.
  16. Paul Halsall (2000) [1998]. Jerome S. Arkenberg (บ.ก.). "East Asian History Sourcebook: Chinese Accounts of Rome, Byzantium and the Middle East, c. 91 B.C.E. - 1643 C.E." Fordham.edu. Fordham University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-10. สืบค้นเมื่อ 2016-09-10.